โซเดียมเบนโซเอท (Sodium benzoate) หรือที่เรียกกันว่า วัตถุกันเสีย
ชื่อสารเคมี : โซเดียมเบนโซเอต
ชื่อภาษาอังกฤษ : Sodium Benzoate
สูตรโครงสร้าง : C6H5COONa
ประโยชน์ : เป็นสารกันบูด เป็นสารเคมีใช้ทั่วไป ใช้เป็นสารถนอมอาหาร , ใช้ในการผลิตกระดาษ , ใช้ในการโพโตกราฟี และใช้ในการผลิตสารชนิดอื่นและสารนี้ละลายน้ำได้
คุณสมบัติทางเคมี : เป็นผงสีขาวกลิ่นฉุน
จุดเดือด : 146 °C , จุดหลอมเหลว : 150 °C
“โซเดียมเบนโซเอท” เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยทั่วไปแล้วจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ นอกจากนี้การ ใช้ในปริมาณที่สูงจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร พิษกึ่งเฉียบพลันคือจะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อต่างๆเลือดออกในร่างกาย ตับ ไตใหญ่ขึ้น เป็นอัมพาตและตายในที่สุด ถ้าได้รับสารนี้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ และทารกในครรภ์มีรูปวิปริต

ดังนั้นผู้ผลิตอาหารที่ใช้สารกันบูดผสมลงในอาหารต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ ผู้บริโภค เลือกใช้สารกันบูดให้เหมาะสมกับชนิดของอาหารแต่ละประเภทในปริมาณที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้ใช้เท่านั้น ทั้งนี้ผู้ผลิตอาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งข้อแนะนำในการเลือกซื้ออาหาร
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีในอาหาร ดังนี้ เวลาซื้ออาหารสำเร็จรูปที่บรรจุในกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ควรดูสลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูด ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ไม่มีการระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ผนึกขายในถุงพลาสติก หรือกล่องพลาสติกที่ไม่ได้ขายหมดวันต่อวัน หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ เนื้อเค็ม เนื้อแห้ง กุนเชียง และน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
คุณสมบัติ
– ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยจะยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์และรา ได้ดีกว่าแบคทีเรีย หากใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มี pH 2.5– 4.0 จะให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์สูงสุดโดยจะมีผลต่อผนังเซลล์ในส่วนของการแทรกซึมอาหารและยับยั้งการสร้างเอนไซม์ของจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ละลายได้ดีในน้ำ โดยสามารถละลายได้ถึง 61.2 กรัม ต่อน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
ปริมาณการใช้งาน
– ในอาหารอื่น ๆ ใช้ไม่เกิน 0.1 % หรือ 1 กรัม ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม
– ในเครื่องดื่ม ใช้ไม่เกิน 0.02 % หรือ 0.2 กรัม ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม
– ในขนมหวานที่ทำจากนม เช่น ไอศกรีม พุดดิ้ง โยเกิร์ต ใช้ไม่เกิน 0.05 %หรือ 0.5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

ปริมาณของกรดเบนโซอิก และเกลือโซเดียมเบนโซเอตที่อนุญาติให้ใช้ได้ในอาหาร
อาหาร | ปริมาณที่อนุญาติให้ใช้
(ppm, มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม คำนวณเป็นกรดเบนโซอิก) |
ขนมหวานที่ทำจากนม เช่น ไอศกรีม พุดดิ้ง โยเกิร์ตปรุงแต่ง หรือผสมผลไม้ เป็นต้น | 300 |
เนยเทียม (magarine) | 1,000 |
ผลิตภัณฑ์น้ำผสมน้ำมัน (emulsion) ที่มีปริมาณน้ำมันต่ำกว่าร้อยละ 80 เช่น มินารีน | 1,000 |
ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน (emulsion) อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์อิมัลชั่น ที่ใช้แต่งหน้าขนม เป็นต้น | 1,000 |
ขนมหวานที่ทำจากไขมันอื่นที่มิใช่ไขมันนม เช่น ไอศกรีมดัดแปลง เป็นต้น | 1,000 |
ผลไม้ในน้ำส้มสายชู น้ำมัน หรือน้ำเกลือ | 1,000 |
แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด | 1,000 |
ผลิตภัณฑ์ป้ายขนมที่ทำจากผลไม้ ยกเว้นแยม เยลลี่ และมาร์มาเลด | 1,000 |
ผลไม้กวน | 1,000 |
ผลิตภัณฑ์ผลไม้บด ผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่ใช้ราดหน้า และรวมทั้งกะทิ | 1,000 |
ขนมหวานที่ทำจากผลไม้ เช่น ขนมเยลลี่ เป็นต้น และรวมทั้งขนมหวานชนิดน้ำที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบ เช่น ผลไม้ลอยแก้ว เป็นต้น | 1,000 |
ผลไม้ดอง | 1,000 |
ผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่ใช้ทำไส้ขนม | 1,000 |
ผลไม้ปรุงสุกหรือผลไม้ทอด | 1,000 |
ผลิตภัณฑ์ผักหรือสาหร่ายในน้ำส้มสายชู น้ำเกลือ หรือซีอิ๊ว (soy sauce) | 2,000 |
ผลิตภัณฑ์ป้ายขนมที่ทำจากผัก หรือถั่วหรือเมล็ดพืชอื่น ๆ เช่น เนยถั่ว | 1,000 |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผักบด ถั่วบด หรือเมล็ดพืชบด เช่น ซอสผัก ผักกวน หรือแช่อิ่ม เป็นต้น แต่ไม่รวมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้ายขนม เช่น เนยถั่ว เป็นต้น |
3,000 |
ผักดอง | 1,000 |
ผักหรือสาหร่ายปรุงสุกและผักหรือสาหร่ายทอด | 1,000 |
ซุปและซุปใส | 500 |
เครื่องดื่ม | 200 |
การจัดเก็บ
– เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด
– เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง
– เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ
– เก็บห่างจากความร้อน, แหล่งจุดติดไฟ, สารที่เข้ากันไม่ได้ เช่น สารออกซิไดซ์, กรด, เบส, ความชื้น
– ภาชนะที่ว่างปล่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ให้ไว้ในตู้ดูดควันสารเคมี
ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยาเคมี :
– ความคงตัวทางเคมี : สารนี้มีความเสถียร
– สารที่เข้ากันไม่ได้ : ทำปฏิกิริยารุนแรงกับความชื้น, สารออกซิไดซ์, กรด, เบส
– สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน, เปลวไฟ, แหล่งจุดติดไฟ, สารที่เข้ากันไม่ได้
– สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : หลีกเลี่ยงสารละลายโซเดียมไนไตรล์, ผงอะลูมิเนียม, เมื่อสารสลายตัวในอากาศเกิดก๊าซของกรดซัลฟูริก การสัมผัสความชื้น เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เป็นพิษ
ข้อมูลทั่วไป
– โซเดียม เบนโซเอท เป็นสารกันเสียที่เป็นเกลือ จะให้ผลสูงสุดในช่วงค่า pH เป็น 2.5 – 4.0 มีความว่องไวต่อต้านยีสต์ แบคทีเรีย ใช้ในอาหารที่เป็นกรด เช่น น้ำผลไม้ แยม และเครื่องดื่ม

อย่างไรก็ตามการใช้วัตถุกันเสียในการถนอมอาหารตามสัดส่วนที่ อย.ระบุว่าปลอดภัยแม้ว่าจะไม่มีอันตราย แต่การหลีกเลี่ยงบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุกันเสีย เช่นน้ำผลไม้ ,ซอสฯ ,ฯลฯ ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อสุขภาพร่างกายของเรา ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆนอกจากจะดู วันผลิต วันหมดอายุแล้ว ควรอ่านฉลากอาหารว่ามีวัตถุกันเสียหรือไม่ มากน้อยเพียงใด การรับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติและให้ครบ 5 หมู่ ก็จะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีได้
บริษัท เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ จำกัด (จังหวัดเชียงใหม่)
261/3-6 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทร. 053-204 446-7 / 053-204 465 sales_worldchemical@hotmail.com
261/3-6 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทร. 053-204 446-7 / 053-204 465 sales_worldchemical@hotmail.com