ความหลายของคอปเปอร์ซัลเฟต
จุนสี หรือ คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต (อังกฤษ : Copper (II) sulphate ) เป็นสารประกอบของทองแดงกำมะถันและออกซิเจน ที่มีสูตรทางเคมี CuSO4 เกลือจุนสีพบได้หลายรูปแบบตามจำนวนโมเลกุลน้ำที่ประกอบอยู่ในผลึก จุนสีสะตุหรือจุนสีที่ปราศจากน้ำ (anhydrous) เป็นผงสีเทาขาว ขณะที่จุนสี่ที่พบได้บ่อยมีน้ำ 5 โมเลกุล (pentahydrate) มีสีฟ้าสด สารเคมีนี้ใช้ประโยชน์เป็นสารปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลงรบกวนสารฆ่าเชื้อรา
จุนสี หรือ คอปเปอร์ซัลเฟต สูตรทางเคมี คือ CuSO4 มีชื่อเรียกต่างๆของ จุนสี เช่น หินเขียว ตำฮั่วงBluestone เป็นต้น จุนสีเป็นสารประกอบของทองแดง กำมะถัน และ ออกซิเจน เกลือจุนสี นั้นพบได้หลายรูปแบบมีสีฟ้าสด จุลสี พบได้ในธรรมชาติ พบในเหมืองทองแดง ผลึกจุนสี ใช้โลหะทองแดง หรือ สนิมทองแดง ทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน คนทั่วไปจึงมักเข้าใจผิดว่า จุนสี คือ สนิมทองแดง จุนสี เป็นของดี และ บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน จนสีขี้เปลี่ยนเป็นสีขาวจะเรียก จุนสีสะตู ในตำรายาบางครั้งเรียกจุนสีว่ากำมะถันเขียว แต่เดิมผลิตจากน้ำฉีดแร่ในเหมืองทองแดง นำมาต้มให้น้ำระเหย ใช้เป็นยาถอนพิษ กัดหูดและคุดทะราด ในภาษาไทยโบราณจะเรียกสีของจุนสีว่าสีเขียว
คอปเปอร์ซัลเฟต เป็นสารประกอบของทองแดงหรือคอปเปอร์ในภาษาอังกฤษ มีที่ใช้กว้างขวางมาก ชาวอียิปต์โบราณใช้ คอปเปอร์ซัลเฟต เป็นสีย้อม ปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่ และพบว่าสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตผสมปูนขาวกับน้ำ สามารถป้องกันโรคราน้ำค้างในไร่องุ่นได้ นับแต่นั้นมาก็มีการใช้น้ำยาสูตรนี้ที่มีชื่อว่า บอร์โด (Bordeaux) กระจายทั่วไปในการเกษตรกรรม เพราะนอกจากป้องกันเชื้อราได้แล้ว ยังป้องกันแบคที่เรียได้อีกหลายชนิดด้วย นอกจากนี้ ยังมีการใช้ในอุตสาหกรรมชุบ ใช้ป้องกันตะไคร่และสาหร่ายในแหล่งน้ำ หรือสระว่ายน้ำ โดยทั่วไป พิษภัยของสารประกอบคอปเปอร์ไม่รุนแรงเท่าสารประกอบของตะกั่วและปรอท อย่างไรก็ดี การใช้ก็ยังต้องระมัดระวังอย่าให้ถูกผิวหนัง หรือหายใจเอาฝุ่นที่ฟุ้งกระจายเข้าไป
คอปเปอร์ซัลเฟต: เกลือของกรดกำมะถันและทองแดง
คอปเปอร์ซัลเฟตเป็นเกลือของ กรดซัลฟิวริก และทองแดง เกิดขึ้นที่ระดับที่สองของการเกิดออกซิเดชันสารประกอบอนินทรีย์ นี้มีรูปแบบเป็นผงผลึกไม่มีกลิ่นที่ดูดซับน้ำได้ดีเยี่ยม ปราศจากน้ำคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตมีสีขาว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อรวมกับโมเลกุลของน้ำเท่านั้น สามารถละลายได้ใน เมทานอล ในรูปปราศจากน้ำจะไม่ละลายใน เอธานอล เนื่องจากมีคุณสมบัติกัดกร่อนสูงและดูดความชื้น คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต จึงจัดเป็นสารที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เป็นพิษ และไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ การใช้เกลือนี้ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ การรั่วไหลของสารละลาย CuSO 4 หรือการรั่วไหลของผงในสภาวะที่ไม่มีการควบคุมทำให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต: การใช้งาน
เนื่องจากคุณสมบัติในการดูดซับและย่อยสลายได้ คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรม เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่สารละลายของ CuSO4 เป็นที่รู้จักในฐานะสารฆ่าเชื้อราคุณภาพสูง ส่วนใหญ่ใช้เพื่อป้องกันไม้จากโรคที่เกิดจากเชื้อรา คุณสมบัติในการฆ่าเชื้อราของคอปเปอร์ซัลเฟตยังได้รับการชื่นชมจากสัตวแพทย์และช่างเทคนิคสัตว์อีกด้วย สูตรที่ประกอบด้วยเกลือของกรดซัลฟิวริกและทองแดงเป็นหนึ่งในสารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ใช้ในการป้องกันโรคเชื้อราของโคและม้า (การสลายตัวของกีบเท้า กีบ เขา ฯลฯ) ในอุตสาหกรรม CuSO4 ยังใช้สำหรับการชุบทองแดง (การอาบน้ำทองแดง) และการกลั่นทองแดง ในการทำสวน บางครั้งมันถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในสารฆ่าเชื้อราที่มีไว้สำหรับป้องกันเชื้อราของพืชที่เหมาะแก่การเพาะปลูก
ประโยชน์ด้านต่างๆ
คอปเปอร์ซัลเฟต (Cupper Sulfate) หรือ จุนสี มีสูตรทางเคมีเป็น CuS04 ใช้เป็นยากำจัดแมลงวัชพืช และเชื้อรา เช่น กำจัดเชื้อราในองุ่น เมล่อน และผลไม้ตระกูลเบอรี่ต่างๆ
การใช้ประโยชน์ : ใช้ในอุตสาหกรรม , เกษตร , ชุลโลหะ , เคมีฟอกย้อม
ชื่อสารเคมี : คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต
ชื่อภาษาอังกฤษ : Copper (II) Sulfate
สูตรโครงสร้าง : CuSO4.5H2O
ประโยชน์: ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคในทางการเกษตร, ใช้ในการหล่อโลหะผสมทองแดง, ใช้ใน Electroplating (ไม่ค่อยละลายน้ำ)
คุณสมบัติทางเคมี : เป็นเม็ดของแข็งสีขาว/น้ำตาลไม่มีกลิ่น
จุดเดือด : – ,จุดหลอมเหลว : 770 °C
ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยาเคมี :
– สารที่เข้ากันไม่ได้ : อะเซทิลีน ไดรอกซิลามีน สารรีดิวซ์
– สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : ควันออกไซด์ของซัลเฟอร์
การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด :
– สารนี้ไม่ไวไฟ
การจัดเก็บ :
– เก็บในภาชนะที่มิดชิด
– เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง
– เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ
** แหล่งข้อมูลมาจาก ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ
การกำจัดสาหร่ายและตะไคร่น้ำ
รายละเอียดผลิตภัณฑ์ : คอปเปอร์ซัลเฟตคือสารกำจัดตะไคร่น้ำ และสาหร่ายน้ำเขียวในสระว่ายน้ำและสระน้ำทั่วไป
โดยสารนี้ จะออกฤทธิ์ทางชีวเคมีในการทำลายและป้องกันการเจริญเติบโตของสาหร่าย/ตะไคร่น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยสารสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์ในการทำลายและควบคุม การขยายพันธุ์ในส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช เพื่อยับยั้งการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารของสาหร่าย/ตะไคร่น้ำ ทำให้พืชเหล่านี้ตายไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีฤทธิ์ที่จะช่วยในการปรับปรุงสีของน้ำรวมถึงสภาพน้ำให้ดีขึ้นอีกด้วย และสารนี้ยังมีส่วนในการช่วยควบคุมพีเอชของน้ำ (pH) และที่สำคัญ คอปเปอร์ซัลเฟต จะไม่ทำลายจุลินทร์ที่เป็นประโยชน์ในสระน้ำ และไม่ทำให้อ๊อกซิเจนในน้ำลดลงอีกด้วย
อัตราการใช้งาน :
– ใช้เพื่อการกำจัด : 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 คิว (หรือประมาณ 300 กรัม ต่อน้ำ 40 คิว)
– ใช้เพื่อการป้องกัน : 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 คิว (ทุกๆ 7วัน)
เวิลด์เคมีคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line ID : @worldchemical
Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
โทร : 053 204 446-7