คุณรู้จัก อะซิโตน หรือไม่??

คุณสมบัติและประโยชน์ของ Acetone คืออะไร

อะซิโตน หรือที่ใครหลายๆ คนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อาซีโทน เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปแบบของเหลว มักถูกนำมาใช้สำหรับการเป็นตัวทำละลายหรือใช้เป็นสารตั้งต้นในขั้นตอนของการเตรียมสารเคมีชนิดต่างๆ เพราะด้วยคุณสมบัติเด่นของอะซิโตน ที่เป็นของเหลวระเหยง่าย ไม่มีสี และละลายได้เป็นอย่างดีในสารประกอบชนิดอื่นๆ อาทิเช่น น้ำ อีเทอร์ หรือเอทานอล เป็นต้น ถึงแม้อะซิโตน จะมีคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่นหลายอย่างแต่อะซิโตน สามารถติดไฟได้ง่ายและที่สำคัญสามารถติดไฟได้เองหากได้รับความร้อนที่ 465 องศาเซลเซียส ดังนั้นเราควรจะเก็บอะซิโตน ไว้ให้ห่างจากความร้อนหรือห่างจากเปลวไฟเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการลุกไหม้ของไฟได้และเพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุดังกล่าวเราควรหาพื้นที่ในการจัดเก็บรักษาอะซิโตน อย่างถูกวิธีเราขอแนะนำให้เก็บอะซิโตน ไว้ในบริเวณที่มีอากาศเย็นและแห้ง, เก็บอะซิโตน ไว้ในภาชนะที่สามารถปิดได้อย่างมิดชิดและควรเก็บอะซิโตน ไว้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แห้ง และไม่ชื้น

คุณสมบัติและประโยชน์ของ Acetone

คุณสมบัติที่เด่นชัดของ อะซิโตน คือของเหลวที่มีลักษณะระเหยได้ง่าย, ละลายในสารประกอบอื่นได้ดี, ไม่มีสี, ติดไฟได้ง่ายและยังเป็นตัวทำละลายที่มักถูกนิยมนำไปใช้ในน้ำยาล้างเล็บหรือที่เรียกว่า น้ำยาล้างเล็บ, น้ำยาล้างกาว และน้ำยาเช็ดล้างเครื่องมือช่างต่างๆ หรือที่ น้ำยาเช็ดล้างเครื่องมือช่าง อาทิเช่น น้ำยาล้างแปรงทาสี, น้ำยาล้างพู่กัน, น้ำยาล้างลูกกลิ้งทาสี หรือใช้เป็นน้ำยาล้างสีออกจากมือ เป็นต้น ด้วยคุณสมบัติของอะซิโตน ที่กล่าวมาส่งผลให้อะซิโตน ถูกนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยา, อุตสาหกรรมไฟเบอร์, อุตสาหกรรมสารเคมีชนิดต่างๆ และอุตสาหกรรมช่างต่างๆ เป็นต้น

วันนี้เราจะขอพูดถึงประโยชน์ของ Acetone ที่ทำให้คนหันมานิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จะมีประโยชน์อย่างไรบ้างไปอ่านพร้อมๆ กันเลย

  • มีประโยชน์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ จะนิยมอะซิโตน เพื่อเป็นตัวทำละลายในขั้นตอนของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเพราะด้วยคุณสมบัติเด่นที่สามารถละลายในสารประกอบอื่นๆ ได้ดีส่งผลให้อะซิโตน เป็นที่ต้องการและเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก อาทิเช่น อุตสาหกรรมกาว, อุตสาหกรรมน้ำมันขัดเงา, อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง, อุตสาหกรรมแลคเกอร์, อุตสาหกรรมสี, อุตสาหกรรมหมึกพิมพ์, อุตสาหกรรมยา หรืออุตสาหกรรมถุงพลาสติกหรือพลาสติกชนิดอื่นๆ เป็นต้น
  • อีกหนึ่งประโยชน์ของอะซิโตน คือการที่เป็นตัวทำละลายในขั้นตอนการเตรียมสารเคมี
  • อะซิโตน ยังสามารถเป็นสารในการทำละลายหากเราต้องการสกัดสารอินทรีย์จากสัตว์หรือพืชอะซิโตน จะช่วยทำละลายได้เป็นอย่างดี
  • เรื่องการล้างทำความสะอาดอะซิโตน ถือว่าทำได้ดี เช่น การผสมสารในน้ำยาล้างเล็บ, การผสมสารในน้ำยาล้างกาว, การผสมสารในน้ำยาล้างสี หรือการผสมสารในน้ำยาล้างแปรงพู่กันช่าง เป็นต้น

อันตรายจาก Acetone หากใช้อย่างไม่ระวัง

เราก็ได้ทราบถึงคุณสมบัติและประโยชน์ของอะซิโตน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างที่เห็นได้ชัดว่าอะซิโตน เป็นสารที่อยู่รอบตัวเราตลอดเวลา และเราก็เชื่อว่าหลายคนก็คงเคยมีประสบการณ์ที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอะซิโตน อยู่ในผลิตภัณฑ์ที่เราก็คิดว่าไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายนัก เช่น น้ำยาล้างเล็บ, น้ำยาล้างกาว หรือ น้ำยาล้างเครื่องมือช่าง เป็นต้น แต่ใครจะรู้ว่าหากเราอะซิโตน อย่างผิดวิธี หรือขาดความระมัดระวังอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้

ความเป็นอันตราย

► อะซิโตนจัดเป็น สารอันตรายประเภทที่ 3 ตามประกาศ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย ปี 2535
► ค่า LC50 เท่ากับ 50100 มก./ลบ.ม. (ในหนูที่ 8 ซม.)
► ค่า OSHA-PEL เท่ากับ 2400 มก./ลบ.ม.

การเกิดปฏิกิริยา

► อะซิโตนมีความเสถียรภายใต้สภาวะปกติ
► สารที่เข้ากันไม่ได้ ได้แก่ กรดไนตริกเข้มข้น กรดซัลฟูริก คลอโรฟอร์ม สารประกอบคลอรีน สารออกซิไดซ์ ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ พลาสติก เป็นต้น
► การเกิดปฏิกิริยา และ การสลายตัวจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์

การเกิดอัคคีภัย

อะซิโตน จัดเป็นสารไวไฟ มีจุดวาบไฟที่น้อยมากที่ -2 °C และ ลุกติดไฟได้เองที่ 465 °C ดังนั้น จึงมีโอกาสเกิดการติดไฟ และระเบิดได้ง่ายหากสัมผัสกับความร้อน และเปลวไฟ และเกิดระเบิดได้เอง หากส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศอยู่ภายใต้ขีดจำกัดความไวไฟที่ได้รับความร้อนมากเพียงพอ

อันตรายต่อสุขภาพ

 ระบบหายใจ การสูดดม หรือ หายใจอาจจะเอาอะซิโตนเข้าสู่ระบบหายใจ จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ของเยื่อบุทางเดินหายใจ มีอาการไอ แน่นหน้าอก เวียนศรีษะ ปวดหัว
 ทางผิวหนัง เมื่อมีการสัมผัสทางผิวหนัง จะทำให้ชั้นไขมันผิวหนังถูกทำลาย ผิวหนังแดง อักเสบ มีอาการปวดแสบปวดร้อน
 สัมผัสกับตา เมื่อมีการสัมผัสกับตา จะทำให้ตาระคายเคือง น้ำตาไหล มีอาการตาแดง และปวดตา
 การกลืนกิน การกลืนกินเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศรีษะ ปวดหัว
 ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงขณะปฏิบัติงาน ควรสวมถุงมือยาง รองเท้าบูท ผ้าปิดจมูก แว่นตาป้องกันสารเคมี และสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดทุกครั้ง

วิธีการเก็บรักษา

ควร เก็บในภาชนะที่ปิดบรรจุมิดชิด จัดเก็บในบริเวณที่แห้ง เย็น มีการระบายอากาศที่ดี
ควร เก็บในภาชนะที่ทำจากกแก้ว หลีกเลี่ยงการเก็บในภาชนะที่ทำด้วยโลหะ ใยสังเคราะห์ และพลาสติก
ควร เก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อน แสงแดด เปลวไฟ และสารที่เข้ากันไม่ได้
 อุณหภูมิสถานที่เก็บไม่ควรเกิน 30 °C
✓ สถานที่เก็บ ควรถูกต้องตามกฎหมาย ที่กรมโรงงานกำหนดในเรื่องการจัดเก็บวัตถุอันตราย มีป้ายเตือนอันตราย ป้ายเตือนให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ระยะห่างจากแหล่งความร้อน แหล่งเชื้อเพลิง อาคารสามารถป้องกันประกายไฟ เป็นต้น

❝อะซิโตน ละลายได้ดีใน น้ำ เอทานอล อีเทอร์ ฯลฯ และเป็นตัวทำละลายที่สำคัญมาก การใช้งานอะซิโตนที่คุ้นเคยกันมากที่สุดคือใช้ในน้ำยาล้างเล็บ และยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม พลาสติก ไฟเบอร์ ยา และ สารเคมีอื่น ๆ ❞

 

สนใจติดต่อ เวิลด์เคมีคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line ID : @worldchemical
Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
โทร : 053 204 446-7