ทำความรู้จัก “กำมะถัน” ให้มากขึ้นกัน
กำมะถัน
คือ ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนในพืช และสัตว์ เราจะได้กำมะถันจากการสลายตัวของสารอินทรีย์ที่ทับถมอยู่ในดิน จากการระเบิดของภูเขาไฟ และในบรรยากาศ
สารซัลเฟอร์ หรือกำมะถัน เป็นสารเคมีที่อยู่ในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ตัวอักษรย่อว่า “ S” มีจำนวนเลขอะตอมเท่ากับ 16 เป็นธาตุอโลหะ (อนินทรีย์) ภาษาอังกฤษใช้ทั้งคำว่า “sulfur” หรือ “sulphur”
ปกติจะเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึกในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปของธาตุซัลเฟอร์เอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต สารซัลเฟอร์มีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า ในกรณีของหนองน้ำ หรือท่อระบายน้ำที่มีการหมักหมมจะมีแบคทีเรียย่อยสลายซัลเฟอร์ในสภาวะขาดออกซิเจน จะเกิดแก๊สไข่เน่า หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ซึ่งมีความเป็นพิษ
ในแก๊สธรรมชาติ หรือน้ำมันปิโตรเลียมมักจะมีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ ดังนั้นในขั้นตอนการผลิตอาจจะได้สารที่เป็นผลพลอยได้ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ เช่น กรดซัลฟิวริก (H2SO4)หรือกรดกำมะถัน ที่ทั่วโลกผลิตรวมกันประมาณ 165 ล้านตัน มูลค่าสูงถึง 320,000 ล้านบาท
กรดกำมะถันมีประโยชน์มากมาย
เช่น การผลิตปุ๋ยเคมี การสังเคราะห์สารเคมี กระบวนการกลั่นน้ำมัน หรือสารละลายอิเล็กทรอไลต์ในแบตเตอรี่ นอกจากนี้สารซัลเฟอร์ยังเป็นองค์ประกอบของสารอนินทรีย์อื่นๆอีกหลายชนิด เช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์ คาร์บอนิลซัลไฟด์ ไทโอนิลคลอไรด์ ไทโอนิลโบรไมด์ ไทโอไซยาโนเจน เป็นต้น
ในกรณีของพืช ซัลเฟอร์ เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช ซึ่งจะมีผลทั้งคุณภาพและปริมาณผลผลิต จัดอยู่ในกลุ่มธาตุอาหารรอง รองลงมาจากธาตุอาหารหลักคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ทำหน้าที่ให้พืชเจริญเติบโต หากดินขาดซัลเฟอร์ ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น กรณีที่มีการปลูกพืชต่อเนื่อง หรือมีการใช้ปุ๋ยแต่ปุ๋ยนั้นไม่มีซัลเฟอร์ หรือมีการสลายตัวของซัลเฟอร์ไปตามขบวนการทางเคมีไปเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ถ้าพืชขาดซัลเฟอร์ จะเกิดอาการเหลืองที่ใบอ่อนก่อนแล้วจะกระจายไปทั่วทั้งต้น อาการจะคล้ายกับการขาดไนโตรเจน แต่จะเกิดกับส่วนที่เป็นใบใหม่ก่อน
สำหรับมนุษย์และสัตว์ ซัลเฟอร์มีความจำเป็นโดยเป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด เช่น ซิสตีน (cysteine) ซิสเทอีน (cysteine) เมไทโอนีน (methionine) หรือในวิตามินจำพวก ไบโอติน (biotin) ไทอะมีน (thiamine) นอกจากนี้ยังเป็นโคแฟคเตอร์ (Co-factor) ที่พบในผิวหนัง ผม ขน เล็บ เช่น กลูตาไทโอน (glutathione) ไทโอเรดอกซิน (thioredoxin) ไอรอนซัลเฟอร์ (iron sulfur) ดังนั้นซัลเฟอร์จึงเป็นสารเคมีที่มีความจำเป็นที่ทำหน้าที่ในขบวนการชีวเคมี และเป็นส่วนประกอบของสารอาหารหลักของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช มนุษย์และสัตว์
ผลกระทบต่อสุขภาพของคน
ซัลเฟอร์ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มของสารก่อมะเร็ง ไม่มีผลทำให้เกิดการกลายพันธุ์ ไม่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ไม่รบกวนต่อมไร้ท่อ แต่อาจเกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ ระคายเคืองต่อผิวหนัง และต่อตา
ซัลเฟอร์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร ?
ย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 ยังไม่มีใครทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ของซัลเฟอร์ เชื่อกันแต่เพียงว่ามีคุณสมบัติสัมผัสหรือถูกตัวตาย ปัจจุบันก็ยังมีหลายทฤษฎี เช่น
-หลังจากพ่นไปแล้วจะค่อยๆสลายตัวเป็นไอระเหยทำให้ไปยับยั้งสปอร์ของเชื้อราไม่เจริญ
-หลังจากพ่นไปแล้วจะปลดปล่อยให้แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (hydrogen sulfide หรือ hydrogen sulphide)หรือ แก๊สไข่เน่า เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีเป็น H2S ไม่มีสี, เป็นพิษ และเป็นแก๊สไวไฟ มีกลิ่นเน่าเหม็นคล้ายไข่เน่า
-หลังจากพ่นไปแล้วจะปลดปล่อยให้แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีเป็น SO2 เป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ระคายเคือง สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำมีฤทธิ์เป็นกรด ไอของสารมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง เป็นสารที่ใช้ดับไฟได้ เมื่อผสมกับน้ำหรือไอน้ำในอากาศจะเกิดกรดซัลฟิวริก (สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์นำมาใช้ประโยชน์นำมาใช้รมลำไยสดไม่ให้เน่าเสียเร็ว ใช้รมผลิตภัณฑ์เนื้อเป็ด ไก่ และสัตว์ป่าแปรรูปบางชนิด ไส้กรอก เป็นต้น (ต้องมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในผลิตภัณฑ์น้อยกว่า 500 มก./กก.)
ข้อควรระวังสำหรับซัลเฟอร์
การใช้ซัลเฟอร์ อาจเกิดความเป็นพิษต่อพืช (phytotoxicity) ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศขณะใช้ ไม่ควรใช้ในช่วงที่มีแดดจัด และอุณหภูมิสูง โดยเฉพาะการปลูกพืชในโรงเรือนจะมีความเสี่ยงสูงมากกว่าสภาพเปิด
> ควรลองใช้ในอัตราต่ำสุดของคำแนะนำ หากไม่พบอาการเกิดพิษค่อยเพิ่มอัตราการใช้ หากจำเป็น
> ไม่ควรผสมสารจับใบ สารแผ่กระจาย สารลดแรงตึงผิวในส่วนผสมกับซัลเฟอร์ เพราะอาจเกิดพิษต่อพืช และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ถ้าอุณหภูมิสูง
> ไม่ควรพ่นซัลเฟอร์ในพืชที่ไม่แนะนำ หรือพืชที่ไม่เคยใช้มาก่อน จนกว่าจะมีการทดลองแล้วว่าพ่นแล้วปลอดภัยต่อพืชนั้นๆ
> ไม่ควรพ่นซัลเฟอร์ก่อนและหลังการพ่นสารประเภทน้ำมัน (เช่น ออยล์ ปิโตรเลียมออยล์ ไวท์ออยล์) อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะอาจเกิดพิษต่อพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลส้มควรเว้นประมาณ 3 สัปดาห์
> ห้ามผสมสารซัลเฟอร์กับสารประเภทน้ำมัน หรือสูตรน้ำมัน (สูตรอีซี อีดับบลิว โอดี)
> ห้ามผสมสารซัลเฟอร์กับสารกำจัดเชื้อราแคปแทน บอร์โดมิกเจอร์ และสารคลอร์ไพริฟอส
ราคานี้เฉพาะสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
-
(0)
กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (Sulphur)
85 ฿ – 1,055 ฿
- ชื่อสินค้า : กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur)
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sulfur หรือ Sulphur
- สูตรเคมี : S
- Packing : ถุง และ กระสอบ (Bag and Sack)
- COA และ MSDS : ติดต่อขอรับได้ที่ sales_worldchemical@hotmail.com
- Product Catalog : เคมีทั่วไป เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์
-
(0)
กำมะถัน (Sulfur) ขนาด 25 กิโลกรัม
1,055 ฿
- ชื่อสินค้า : กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur)
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sulfur หรือ Sulphur
- สูตรเคมี : S
- Packing : ถุง และ กระสอบ (Bag and Sack)
- COA และ MSDS : ติดต่อขอรับได้ที่ sales_worldchemical@hotmail.com
- Product Catalog : เคมีทั่วไป เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์
โค้ดลับ! เฉพาะคุณ
- ใส่โค้ด SALEWFC10 รับส่วนลด 10% ช้อปครบ 100.- ขึ้นไป
- ใส่โค้ด SALEWFC15 รับส่วนลด 15% ช้อปครบ 1,000.- ขึ้นไป
- ใส่โค้ด SALEWFC20 รับส่วนลด 20% ช้อปครบ 2,000.- ขึ้นไป
เงื่อนไขโปรโมชั่น
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
- รับส่วนลดเพียงกรอกโค้ดส่วนลดในช่องรหัสส่วนลด เพื่อรับส่วนลดพิเศษ
- โค้ดส่วนลด 1 user สามารถใช้ได้ 1 สิทธิ์เท่านั้น
- ส่วนลดที่ได้รับจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละรายการ
- โปรโมชั่นนี้ สามารถใช้ได้ที่เว็บไซต์ www.worldchemical.co.th ภายในวันนี้ – 31 ส.ค. 2567 เท่านั้น
- โค้ดส่วนลดสามารถใช้ร่วมกับสินค้าที่ร่วมรายการเท่านั้น
- รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย
บริษัท เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ จำกัด (จังหวัดเชียงใหม่)
261/3-6 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทร. 053-204 446-7 / 053-204 465 sales_worldchemical@hotmail.com