ความแตกต่างของ น้ำตาลทางด่วน และ กรดอะมิโน

น้ำตาลทางด่วน และ กรดอะมิโน มีลักษณะในการใช้งานต่างกันอย่างไร ?

น้ำตาลทางด่วน และ กรดอะมิโน ต่างกันอย่างไร ? เกษตรกรหลายๆ ท่านคงจะรู้จักน้ำตาลทางด่วนและกรดอะมิโน กันเป็นอย่างดี แต่วันนี้เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีส จะมาอธิบายถึงความแตกต่างในด้านการใช้งาน และการนำไปใช้ประโยชน์กับพืชระหว่างน้ำตาลทางด่วน และ กรดอะมิโนกัน 

น้ำตาลทางด่วน หรือ Dextrose Monohydrate คืออะไร

น้ำตาลทางด่วน หรือ Dextrose Monohydrate เป็นสารให้ความหวานธรรมชาติ (Natural Sweetener) เป็นรูปแบบผลึกของน้ำตาลกลูโคส มีสีขาว ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ให้ความหวานใกล้เคียงกับน้ำตาลทราย ซึ่งสามารถใช้เป็นสารตั้งต้นผลิตวิตามินซีได้ ใช้ผสมทำน้ำเชื่อมชนิดต่างๆ เช่น Sorbitol ใช้แทนน้ำตาล ผสมในเครื่องดื่ม ขนมหวาน เบเกอรี่ หรือ ไอศกรีม โดยให้แคลอรี่ต่ำกว่าน้ำตาลนิดหน่อย มีโครงสร้างเป็นประเภท Monosaccharide ซึ่งในทางการเกษตรน้ำตาลทางด่วน หรือ Dextrose Monohydrate เป็นสารที่จะช่วยให้พลังงานพืชทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง เปรียบเทียบให้เราเห็นภาพกันง่ายๆ ก็คือ น้ำตาลทางด่วนเหมือนกับเครื่องดื่มชูกำลัง ในเวลาที่ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอน เมื่อดื่มเครื่องดื่มชูกำลังจะเป็นการให้พลังงานโดยตรงแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเป่าขึ้น เช่นเดียวกันกับพืช  โดยน้ำตาลทางด่วนจะถูกนำใช้เมื่อต้นพืชโทรม หรือ สภาพอากาศไม่ปกติ ฟ้าปิด ทำให้พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เมื่อใช้น้ำตาลทางด่วน หรือ Dextrose Monohydrate จะทำให้พืชมีความเครียดสูง การให้น้ำตาลทางด่วนเข้าไปก็เหมือนเป็นการทำให้พืชกระปรี้กระเป่าขึ้น และฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

4 ทริคดีๆ เกี่ยวกับการใช้น้ำตาลทางด่วน

  1. น้ำตาลทางด่วนจะให้พลังงานพืชทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง เพิ่มคุณภาพและความหวานให้กับผัก ผลไม้
  2. เมื่อฉีดน้ำตาลทางด่วนให้กับพืชแล้ว พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หลังจากฉีดพ่นตามทรงพุ่มแล้ว ประมาณ 2-3 ชั่วโมง
  3. น้ำตาลทางด่วนเหมาะสำหรับใช้กับพืชในช่วงที่ต้องการใช้พลังงานมากกว่าปกติ เช่น ช่วงที่พืชฟื้นต้น ช่วงที่เร่งความหวานให้กับผลไม้
  4. น้ำตาลทางด่วนช่วยลดปัญหาการหลุดร่วงของผล เนื่องจากการแบ่งอาหารสะสมของใบอ่อนที่แตกในระยะติดผลอ่อนหรือเนื่องจากอาหารสะสมในต้นไม่เพียงพอ โดยจะไปช่วยเสริมเป็นแหล่งอาหารทำให้พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันท่วงทีก่อนที่จะมีปัญหาผลร่วง

การนำน้ำตาลทางด่วนไปใช้กับดารเกษตรรูปแบบต่างๆ 

น้ำตาลทางด่วน เหมาะสำหรับใช้ในกรณีวิกฤติ หรือพืชต้นที่โทรม รวมถึงช่วงที่ต้องการสร้างความหวาน เช่น พืชมีอาการถ่ายใบ พืชสลัดดอกจากอากาศเปลียนแปลง เป็นต้น

 

กรดอะมิโน หรือ Amino Acid คืออะไร ?

กรดอะมิโนหรือ Amino Acid คือ ชีวโมเลกุลที่มีหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยเฉพาะ กรดอะมิโนสำหรับพืช ที่เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนและเอนไซม์ที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อการเจริญเติบโต การให้ กรดอะมิโนกับพืช จะทำให้พืชสามารถนำสารอาหารต่าง ๆ ไปช่วยในการเจริญเติบโต การสร้างผลผลิต และเสริมสร้างความแข็งแรง ได้ไวยิ่งขึ้น รวมถึงกรดอะมิโนเมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้ว ยังสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็น N ที่เป็นธาตุอาหารสำคัญของพืชได้อีกด้วย โดยกรดอะมิโนสำหรับพืช ที่สำคัญมีด้วยกันทั้งหมด 18 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. กรดกลูตามิก (Glutamic acid, glutamate : Glu) เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการ Metabolism มีบทบาทในกระบวนการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ โดยจะไปเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบพืช ทำให้ใบมีสีเขียวเพิ่มขึ้น สังเคราะห์แสงได้มากขึ้น และเสริมภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัส นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวคีเลทส่งเสริมการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารภายในต้นพืชช่วยในการดูดซับไนโตรเจน เพิ่มรสชาติ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และราก พบมากในโปรตีนของเมล็ดพืช
  2. โปรลีน (Proline : Pro) ช่วยในการงอกของตา การผสมเกสร และการออกผลทำให้ผลใหญ่ เพิ่มความหวาน เพิ่มรสชาติ ช่วยพืชจากภาวะความเครียด เช่น สภาวะน้ำท่วม จากความร้อน และจากสภาวะดินเค็ม รวมถึงการสูญเสียของเซลล์และการควบคุมการเจริญเติบโต
  3. ซีสเทอีน (Cystein : Cys) มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในไซโทรพลาซึมของเซลล์ ทำให้โครงสร้างของโปรตีนมีเสถียรภาพ เป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างทุติยภูมิ ทำให้เอนไซม์ทำหน้าที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการสังเคราะห์โปรตีนที่ยอดอ่อน ผล ปลายราก และช่วยควบคุมการดูดซัลเฟตของราก
  4. ไอโซลิวซีน (Isoleucine : Iso) มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นกลไกการป้องกันโรคของพืช
  5. กรดแอสปาติก (Aspartic acid : Asp) จะทำให้เกิดการจับ CO2 โดยเกิดในส่วนของใบซึ่ง CO2 ถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน จะมีบทบาทในการกระตุ้นการแตกรากและเพิ่มจำนวนราก
  6. อิสทิดีน (Histidine : His) เป็นปัจจัยร่วมพบส่วนมากที่ในเนื้อเยื่อ basophils และ CSF ช่วยเพิ่มความเปรี้ยวและทำหน้าที่เป็น chelators ขนส่งไอออนโลหะของพืช
  7. อะลานีน (Alanine : Ala) กรดอะมิโนอะลานีนจะช่วย เพิ่มรสชาติ และเพิ่มความหวานให้แก่พืชผักผลไม้
  8. กรดทรีโอนีน (Threonine : Thr) ช่วยในการออกผล เพิ่มความหวาน กรดอะมิโน ทรีโอนีนสามารถนำมาสร้างกรดอะมิโนไกลซีนได้โดยอาศัยเอนไซม์
  9. ไทโรซีน (Tyrosine : Tyr) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ส่งสัญญาณ ของเซลล์พืช ควบคุมการเคลื่อนไหวของปากใบโดยกลไกของ Guard cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ข้างๆ โดยทั่วไปปากใบจะรวมไปถึงรูใบและเซลล์รอบ ๆ ช่วยให้เซลล์แก่ช้า
  10. ทริพโตเฟน (Trytophane : Try) พืชใช้ในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ กระตุ้นการแบ่งเซลล์สามารถควบคุมการซึมผ่านของเยื่อหุ้มเซลล์ เร่งการขยายเซลล์ ควบคุมการแตกราก ยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง ป้องกันการร่วงของใบ กิ่งและผล
  11. อาร์จินีน (Arginine : Arg) มีบทบาทเป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโต ควบคุมการสร้างเพกตินในผนังเซลล์ ช่วยทำให้เนื้อเยื่อแน่น ส่งเสริมการพัฒนาของราก เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมน ส่งเสริมเอธีลีน ช่วยชะลอการแก่ตัวชองใบ ส่งเสริมโพลิอามีนหลายชนิด โพลิอามีนเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชต่อความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ภาวะเครียดจากดินเค็ม การขาดน้ำ และความเครียดจากภาวะเป็นกรด
  12. ไกลซีน (Glycine : Gly) ช่วยเพิ่มความหวาน เป็นสารตั้งต้นกระบวนการ Metabolism ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับการสร้าง พัฒนาเนื้อเยื่อพืช กระบวนการสังเคราะห์คลอโรฟิลด์ ทำให้พืชมีใบเขียวขึ้น เกิดการสังเคราะห์แสงมากขึ้น และทำหน้าที่เป็น Bacteriostatic Action ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิดได้ โดยจะเข้าไปทำลายการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวคีเลต ส่งเสริมการดูดซับปริมาณธาตุอาหารมากขึ้น และช่วยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารภายในต้นพืช
  13. วาลีน (Valine : Val) เป็นกรดอะมิโนประเภทกลูโคจินิค (glucogenic) จะถูกทำ transamination และdecarboxylation (การกำจัดหมู่คาร์บอกซิล) ในกระบวนการเมแทบอลิซึม หลังจากนั้นจะเป็นอนุกรมของปฏิกิริยาออกซิเดชันเพื่อเปลี่ยน 4 คาร์บอนไปเป็น propionyl-CoA ซึ่งจะเพิ่มรสชาติ และความสดของพืช
  14. ไลซีน (Lysine :Lys) ถูกนำไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึม ช่วยเพิ่มความสดของสีสันในพืช
  15. ลิวซีน (Leucine : Leu) ช่วยในปฏิกิริยาหลายขั้นตอนของกระบวนการเมแทบอลิซึม ซึ่งจะควบคุมกระบวนการพัฒนา การเพิ่มจำนวนเซลล์การบำรุงรักษาเซลล์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และราก
  16. ซีรีน (Serine : Ser) เป็นตัวกลางในกระบวนการ Metabolism ทำให้ช่วยเพิ่มความหวาน
  17. ฟินิลอะลานีน (Phenylalanine : Phe) มีบทบาทในการกระตุ้นการแตกราก เพิ่มจำนวนราก และป้องกันโรคพืช
  18. เมทไทโอนีน (Methionine : Met) เป็นกรดอะมิโนที่สำคัญในการให้หมู่เมทธิล(-CH3) เร่งการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์ของพืชมีบทบาทเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมน ต่อมา จะถูกเปลี่ยนเป็น 1-aminocyclopropane-1-carboxylic (ACC) จะถูกเปลี่ยนไปเป็นเอทธิลีนจะช่วยในการออกผล การสุกของผล เพิ่มความหวาน ส่งเสริมไซโตไคนินและเอธีลีนจะช่วยในการเคลื่อนย้ายออกซิน ส่งเสริมการพัฒนาราก

ประโยชน์ของกรดอะมิโนที่ส่งผลต่อพืชโดยตรง

  1. กรดอะมิโนเร่งการเจริญเติบโตในทุกระยะของพืชได้ทุกชนิด ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ ขยายโครงสร้างและผลผลิตของพืช เพิ่มน้ำหนักผล เร่งใบเขียว เร่งราก แตกยอด ขยายกอ เร่งสีดอก ผล
  2. กรดอะมิโนเร่งให้พืชสร้างฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการซ่อมแซมโครงสร้างพืชและการต้านทานต่อโรค แมลง หรือภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมการผสมละอองเกสรและการติดผล
  3. กรดอะมิโนอุดมด้วยสารอาหารช่วยปรับปรุงคุณภาพดินให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดินให้มีการขยายตัวดี พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว
  4. กรดอะมิโนช่วยในการสังเคราะห์แสงของต้นพืชและบังคับการ ปิด-เปิด ปากใบของพืชเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในต้นพืช ช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนพืช

กรดอะมิโนสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง ?

กรดอะมิโน เหมาะจะใช้ในช่วง สะสมอาหาร ติดผลอ่อน ขึ้นลูก ผลร่วง, ดอกร่วงเนื่องจากอาหารไม่พอเลี้ยง เป็นต้น

บริษัท เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ จำกัด (จังหวัดเชียงใหม่)
261/3-6 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
053-204 446-7
053-204 465
sales_worldchemical@hotmail.com