มาทำความรู้จัก “โซดาไฟ” ให้มากขึ้นกันเถอะ

 

“โซดาไฟ” เป็นสารเคมีในชีวิตประจำวันที่หลายคนอาจคุ้นเคยกันดี แต่ยังไม่รู้ถึงคุณสมบัติ ลักษณะ และการนำไปใช้งานว่าจริง ๆ แล้วโซดาไฟใช้งานอย่างไร นอกจากนี้แวดวงอุตสาหกรรรมไทยนำโซดาไฟไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง เรามีคำตอบพร้อมแนวทางการใช้งานโซดาไฟที่ถูกวิธีรวมถึงข้อควรระวังในการใช้งานโซดาไฟมาฝาก

ทำความรู้จักกับโซดาไฟ

โซดาไฟ หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide – NaOH) เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นเบสแก่ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว อาจมีรูปลักษณ์เป็นเกล็ด เม็ด หรือแผ่นก็ได้ โซดาไฟไม่มีกลิ่นแต่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง หากสัมผัสผิวหนังอาจทำให้รู้สึกแสบร้อนและเกิดการไหม้รุนแรง นอกจากนี้ยังเป็นสารที่สามารถดูดความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดความร้อนเมื่อถูกละลายด้วยน้ำ

ในชีวิตประจำวันพ่อบ้านแม่บ้านบางคนอาจเลือกใช้งาน โซดาไฟ เพื่อล้างท่อ ทำความสะอาดท่อระบายน้ำในบ้านเพื่อแก้อาการท่อตัน แต่นอกจากการใช้งานในชีวิตประจำวันแล้ว สารเคมีชนิดนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลากหลายเพราะคุณสมบัติเฉพาะของโซดาไฟคือเป็นสารเคมีที่มีความเป็นด่างสูงมาก ทำให้มันมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งในการผลิตสบู่ ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบ อุตสาหกรรมกระดาษ กระดาษแก้ว เส้นใย อลูมิเนียม ปิโตรเลียม แม้แต่อุตสาหกรรมอาหารก็สามารถใช้โซดาไฟได้เช่นกัน

โซดาไฟแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  • โซดาไฟชนิดสารละลาย เป็นสารเคมีที่อยู่ในรูปแบบของเหลว มีความเข้มข้นประมาณ 32% หรือ 50%
  • โซดาไฟชนิดแข็ง เป็นสารเคมีที่อยู่ในรูปแบบเม็ด เกล็ด หรือผง มีความเข้มข้นประมาณ 98%-99%

โซดาไฟ ผลิตอย่างไร

การผลิตโซดาไฟสามารถทำได้โดยนำเกลือโซเดียมคลอไรด์ไปละลายน้ำโดยให้มีความเข้มข้นประมาณ 300 กรัมต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร จากนั้นจึงทิ้งไว้ให้ตกตะกอนหรือนำไปกรองจนได้น้ำเกลือความบริสุทธิ์สูง เมื่อได้น้ำเกลือมาแล้วจึงนำไปแยกเกลือออกจากน้ำด้วยไฟฟ้ากระแสตรง กระแสไฟฟ้าจะทำให้น้ำเกลือที่ผสมไว้แตกตัวจนกลายเป็นแก๊สคลอรีนและโซเดียมไอออน เมื่อโซเดียมไอออนผสมกับน้ำในเซลล์ก็จะควบแน่นกลายเป็นโซดาไฟ

นอกจากวิธีการผลิตข้างต้นแล้ว ยังสามารถผลิตโซดาไฟได้โดยการนำปูนขาวมาละลาย เมื่อละลายโซดาในปูนขาวที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียสก็จะได้โซดาไฟและสารแคลเซียมคาร์บอเนต ที่นอกจากจะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรมต่าง ๆ แล้วยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารประกอบอื่นได้ด้วย

โซดาไฟที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น มีกี่ประเภท?

1. โซดาไฟเกล็ด

มีลักษณะเป็นเกล็ด ๆ แท่ง ๆ คล้ายกับสารส้มที่ถูกขูดเป็นเกล็ด มีสีขาว แข็ง และลายน้ำได้ สีคล้ายกับเกลือ โซดาไฟเกล็ดจะมีความเข้มข้น ตั้งแต่ 40-50% จนถึง 99% ปกติการบรรจุโซดาไฟชนิดนี้ จะบรรจุในกระสอบ กระสอบละประมาณ 50 กิโลกรัม

2. โซดาไฟน้ำ

เป็นโซดาไฟที่ถูกนำมาละลายน้ำและเหลือความเข้มข้น ครึ่งหนึ่งเพียง 50% โซดาไฟน้ำจะบรรจุในแกลลอน

โซดาไฟน้ำ

3. โซดาไฟไข่มุก

เป็นโซดาไฟเกล็ดที่เป็นก้อนกลม ๆ เล็กขนาดเท่า ๆ กันจนคล้ายกับก้อนไข่มุก ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากไต้หวัน เกรดประมาณ 99% การบรรจุส่วนใหญ่จะบรรจุในกระสอบ

โซดาไฟไข่มุก 1 kg.

โซดาไฟมีประโยชน์อย่างไรในอุตสาหกรรมไทย

อย่างที่รู้กันว่าบ้านใครเกิดปัญหาท่อตันก็ใช้โซดาไฟในการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำได้ แต่สำหรับในภาคอุตสาหกรรม โซดาไฟมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะโซดาไฟสามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตได้หลากหลาย ทั้งในการผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ซักล้างต่าง ๆ การผลิตกระดาษ เยื่อกระดาษ กระดาษแก้ว การผลิตเส้นใย สิ่งทอ หรือใช้ในอุตสาหกรรมการฟอกและย้อมสีเพื่อบ้างสีเส้นไหม นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมอัญมณีได้ เพราะสามารถนำไปใช้ล้างพลอยหลังผ่านการเจียระไนมาแล้วนั่นเอง

ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เรามักใช้โซดาไฟเพื่อปรับสภาพเส้นใยของสิ่งทอต่าง ๆ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการนำไปใช้คือ 15 – 25 องศาเซลเซียส และแช่เส้นใยในโซดาไฟความเข้มข้น 20 – 25% นานประมาณ 25 – 40 นาที เพื่อให้เซลลูโลสในเส้นใยคลายตัว เพิ่มคุณสมบัติดูดซับสีย้อม ทำให้เส้นใยมันวาว อ่อนนุ่ม และสามารถถักทอได้ง่ายขึ้น

ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษนั้นโซดาไฟสามารถใช้ฟอกขาวเยื่อกระดาษได้ดีโดยใช้งานร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งการใช้สารดังกล่าวจะทำให้เส้นใยกระดาษขาวสะอาดโดยที่ไม่ทำลายสภาพของเยื่อกระดาษ

ส่วนในอุตสาหกรรมอาหารนั้นสามารถใช้โซดาไฟได้หลากหลายมากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นใช้ล้างทำความสะอาดขวด ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประเภทแป้งเพื่อให้ย่อยสลายกลายเป็นน้ำตาล รวมถึงใช้ในการผลิตโมโนโซเดียมกลูตาเมต

นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมสบู่ ผงซักฟอก และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ที่ใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟเป็นประจำเพื่อช่วยปรับสภาพกรดไขมันที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์เหล่านี้ให้มีสภาพเป็นกลาง

จะเห็นได้ว่าโซดาไฟสามารถใช้งานได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่นำไปใช้ ทั้งงานในชีวิตประจำวันและในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ หากเลือกใช้อย่างเหมาะสมโซดาไฟก็จะก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาล และยังสามารถทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปได้อย่างราบรื่น ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสามารถนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวันได้ต่อไป

ประโยชน์โซดาไฟ

โซดาไฟสามารถใช้ในรูปของโซดาไฟก้อน และโซดาไฟเหลว ในด้านต่าง ๆ คือ เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโซดาไฟเหลว ดังนี้

  • ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ด้วยการทำปฏิกิริยากับไขมันเปลี่ยนเป็นสบู่
  • ใช้สำหรับขจัดคราบสกปรก และสิ่งอุดตันในท่อระบายน้ำ ด้วยก้อนหรือละลายน้ำเทราดบริเวณที่มีการอุดตันของท่อ
  • ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำให้เป็นด่าง โดยเฉพาะในระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องปรับความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
  • ใช้สำหรับการตกตะกอนของแร่ธาตุหรือโลหะหนักในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
  • ใช้ฟื้นสภาพของเรซินของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ
  • ใช้ในกระบวนการฟอกย้อมไหม โดยเฉพาะขั้นตอนการลอกกาวไหมที่ต้องต้มละลายกาวไหมด้วยโซดาไฟ สำหรับการฟอกไหมในระดับครัวเรือน ชาวบ้านเรียกโซดาไฟว่า ผงมัน ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายเคมีฟอกไหม

ข้อควรระวังในการใช้โซดาไฟ

แม้จะมีประโยชน์มากมายทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันและการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อควรระวังในการใช้งานโซดาไฟอยู่บ้าง เพราะการรับสารโซดาไฟเข้าสู่ร่างกายอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนทุกช่วงวัยโดยเฉพาะในเด็ก หากสูดดมฝุ่นควันของโซดาไฟเข้าไปอาจทำให้เกิดแผลในจมูก หากสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดอาการไหม้ แสบร้อน ยิ่งหากใครกินเข้าไปก็จะทำให้กระเพาะทะลุหรือส่งผลต่อพัฒนาการในเด็กได้

การเก็บรักษาโซดาไฟให้ถูกต้องและปลอดภัย พร้อมใช้งาน

ควรเก็บโซดาไฟไว้ในภาชนะพลากติกที่มีความหนา เซรามิก หรือแก้วพร้อมฝาที่ปิดสนิท โดยไม่ควรเก็บโซดาไฟไว้ในจุดที่มีความชื้น เพื่อป้องกันโซดาไฟไม่ให้ทำปฏิกิริยากับความชื้น นอกจากนั้นยังต้องระวังไม่ให้โซดาไฟสัมผัสถูกกรดหรือสารที่ติดไฟอีกด้วยซึ่งผลกระทบทางร่างกาย เมื่อโดนโซดาไฟ มีดังนี้

► ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ

  • หายใจลำบาก
  • ระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณจมูก คอ ระบบทางเดินหายใจ ลำคอ หรือกล่องเสียงบวมซึ่งอาจนำไปสู่การอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนหรือภาวะขาดอากาศหายใจได้

► ผลกระทบต่อผิวหนัง

  • แสบร้อนที่ผิวหนัง
  • ผิวหนังระคายเคือง
  • ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงจนเกิดเป็นแผลลึก

► ผลกระทบต่อหู ตา คอ และจมูก

  • ระคายเคืองตา
  • มีแผลที่กระจกตา หรือกระจกตาถูกทำลาย
  • เจ็บคออย่างรุนแรง
  • แสบร้อนในจมูก ตา หู ริมฝีปาก หรือลิ้น

► ผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร

  • อาเจียน โดยอาจมีเลือดปนออกมาได้
  • กลืนลำบากและมีน้ำลายไหล
  • ปาก คอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหารถูกกัดกร่อนอย่างรุนแรง

การปฐมพยาบาลหากร่างกายสัมผัสกับโซดาไฟ

  • หากร่างกายสัมผัสกับโซดาไฟจนมีอาการบาดเจ็บ ควรจะมีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงก่อนเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
  • หากโซดาไฟเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดซ้ำหลาย ๆ ครั้งทันที
  • หากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงก็ควรใช้สบู่และน้ำทำความสะอาดอย่างเร่งด่วน และใช้ยาแก้แผลไฟไหม้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและผิวหนังไหม้จากการถูกโซดาไฟกัด
  • หรือหากเข้าปาก แนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างท้องทันที

 

เวิลด์เคมีคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line ID : @worldchemical
Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
โทร : 053 204 446-7