โซเดียมเบนโซเอท (Sodium benzoate) หรือที่เรียกกันว่า วัตถุกันเสีย

ชื่อสารเคมี : โซเดียมเบนโซเอต

ชื่อภาษาอังกฤษ : Sodium Benzoate

สูตรโครงสร้าง : C6H5COONa

ประโยชน์ : เป็นสารกันบูด เป็นสารเคมีใช้ทั่วไป ใช้เป็นสารถนอมอาหาร , ใช้ในการผลิตกระดาษ , ใช้ในการโพโตกราฟี และใช้ในการผลิตสารชนิดอื่นและสารนี้ละลายน้ำได้

คุณสมบัติทางเคมี : เป็นผงสีขาวกลิ่นฉุน

จุดเดือด : 146 °C , จุดหลอมเหลว : 150 °C

“โซเดียมเบนโซเอท” เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยทั่วไปแล้วจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ นอกจากนี้การ ใช้ในปริมาณที่สูงจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร พิษกึ่งเฉียบพลันคือจะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อต่างๆเลือดออกในร่างกาย ตับ ไตใหญ่ขึ้น เป็นอัมพาตและตายในที่สุด ถ้าได้รับสารนี้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์  และทารกในครรภ์มีรูปวิปริต
SODIUM BENZOATE WUHAN - prosmartchemical
ดังนั้นผู้ผลิตอาหารที่ใช้สารกันบูดผสมลงในอาหารต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ ผู้บริโภค เลือกใช้สารกันบูดให้เหมาะสมกับชนิดของอาหารแต่ละประเภทในปริมาณที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้ใช้เท่านั้น ทั้งนี้ผู้ผลิตอาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งข้อแนะนำในการเลือกซื้ออาหาร
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีในอาหาร ดังนี้ เวลาซื้ออาหารสำเร็จรูปที่บรรจุในกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ควรดูสลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูด ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ไม่มีการระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ผนึกขายในถุงพลาสติก หรือกล่องพลาสติกที่ไม่ได้ขายหมดวันต่อวัน หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ เนื้อเค็ม เนื้อแห้ง กุนเชียง และน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

คุณสมบัติ

– ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยจะยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์และรา ได้ดีกว่าแบคทีเรีย หากใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มี pH 2.5– 4.0 จะให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์สูงสุดโดยจะมีผลต่อผนังเซลล์ในส่วนของการแทรกซึมอาหารและยับยั้งการสร้างเอนไซม์ของจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ละลายได้ดีในน้ำ โดยสามารถละลายได้ถึง 61.2 กรัม ต่อน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

ปริมาณการใช้งาน

– ในอาหารอื่น ๆ ใช้ไม่เกิน 0.1 % หรือ 1 กรัม ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม
– ในเครื่องดื่ม ใช้ไม่เกิน 0.02 % หรือ 0.2 กรัม ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม
– ในขนมหวานที่ทำจากนม เช่น ไอศกรีม พุดดิ้ง โยเกิร์ต ใช้ไม่เกิน 0.05 %หรือ 0.5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
ชนิดประเภทของขนมปัง ข้อผิดพลาดและวิธีแก้ไขในการทำขนมปัง - คิดถึงอุปกรณ์เบเกอรี่ คิดถึงเรานะคะ Maker Cake House : Inspired by LnwShop.com

ปริมาณของกรดเบนโซอิก และเกลือโซเดียมเบนโซเอตที่อนุญาติให้ใช้ได้ในอาหาร

อาหาร ปริมาณที่อนุญาติให้ใช้

(ppm, มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

คำนวณเป็นกรดเบนโซอิก)

ขนมหวานที่ทำจากนม เช่น ไอศกรีม พุดดิ้ง โยเกิร์ตปรุงแต่ง หรือผสมผลไม้ เป็นต้น 300
เนยเทียม (magarine) 1,000
ผลิตภัณฑ์น้ำผสมน้ำมัน (emulsion) ที่มีปริมาณน้ำมันต่ำกว่าร้อยละ 80 เช่น มินารีน 1,000
ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน (emulsion) อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์อิมัลชั่น ที่ใช้แต่งหน้าขนม เป็นต้น 1,000
ขนมหวานที่ทำจากไขมันอื่นที่มิใช่ไขมันนม เช่น ไอศกรีมดัดแปลง เป็นต้น 1,000
ผลไม้ในน้ำส้มสายชู น้ำมัน หรือน้ำเกลือ 1,000
แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด 1,000
ผลิตภัณฑ์ป้ายขนมที่ทำจากผลไม้ ยกเว้นแยม เยลลี่ และมาร์มาเลด 1,000
ผลไม้กวน 1,000
ผลิตภัณฑ์ผลไม้บด ผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่ใช้ราดหน้า และรวมทั้งกะทิ 1,000
ขนมหวานที่ทำจากผลไม้ เช่น ขนมเยลลี่ เป็นต้น และรวมทั้งขนมหวานชนิดน้ำที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบ เช่น ผลไม้ลอยแก้ว เป็นต้น 1,000
ผลไม้ดอง 1,000
ผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่ใช้ทำไส้ขนม 1,000
ผลไม้ปรุงสุกหรือผลไม้ทอด 1,000
ผลิตภัณฑ์ผักหรือสาหร่ายในน้ำส้มสายชู น้ำเกลือ หรือซีอิ๊ว (soy sauce) 2,000
ผลิตภัณฑ์ป้ายขนมที่ทำจากผัก หรือถั่วหรือเมล็ดพืชอื่น ๆ เช่น เนยถั่ว 1,000
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผักบด ถั่วบด หรือเมล็ดพืชบด เช่น ซอสผัก ผักกวน
หรือแช่อิ่ม เป็นต้น แต่ไม่รวมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้ายขนม เช่น เนยถั่ว เป็นต้น
3,000
ผักดอง 1,000
ผักหรือสาหร่ายปรุงสุกและผักหรือสาหร่ายทอด 1,000
ซุปและซุปใส 500
เครื่องดื่ม 200

การจัดเก็บ

– เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด
– เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง
– เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ
– เก็บห่างจากความร้อน, แหล่งจุดติดไฟ, สารที่เข้ากันไม่ได้ เช่น สารออกซิไดซ์, กรด, เบส, ความชื้น
– ภาชนะที่ว่างปล่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ให้ไว้ในตู้ดูดควันสารเคมี

ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยาเคมี :

– ความคงตัวทางเคมี : สารนี้มีความเสถียร
– สารที่เข้ากันไม่ได้ : ทำปฏิกิริยารุนแรงกับความชื้น, สารออกซิไดซ์, กรด, เบส
– สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน, เปลวไฟ, แหล่งจุดติดไฟ, สารที่เข้ากันไม่ได้
– สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : หลีกเลี่ยงสารละลายโซเดียมไนไตรล์, ผงอะลูมิเนียม, เมื่อสารสลายตัวในอากาศเกิดก๊าซของกรดซัลฟูริก การสัมผัสความชื้น เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เป็นพิษ

ข้อมูลทั่วไป

– โซเดียม เบนโซเอท เป็นสารกันเสียที่เป็นเกลือ จะให้ผลสูงสุดในช่วงค่า pH เป็น 2.5 – 4.0 มีความว่องไวต่อต้านยีสต์ แบคทีเรีย ใช้ในอาหารที่เป็นกรด เช่น น้ำผลไม้ แยม และเครื่องดื่ม
น้ำผลไม้สกัดเย็น คืออะไร ?​ ดื่มแล้วมีประโยชน์อย่างไร - Shopper's Cafe
อย่างไรก็ตามการใช้วัตถุกันเสียในการถนอมอาหารตามสัดส่วนที่ อย.ระบุว่าปลอดภัยแม้ว่าจะไม่มีอันตราย แต่การหลีกเลี่ยงบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุกันเสีย เช่นน้ำผลไม้ ,ซอสฯ ,ฯลฯ ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อสุขภาพร่างกายของเรา ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆนอกจากจะดู วันผลิต วันหมดอายุแล้ว ควรอ่านฉลากอาหารว่ามีวัตถุกันเสียหรือไม่ มากน้อยเพียงใด การรับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติและให้ครบ 5 หมู่ ก็จะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีได้
                                                                                   

สนใจติดต่อ เวิลด์เคมีคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @worldchemical
Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
โทร : 053 204 446-7