รู้หรือไม่?! กรดน้ำส้ม มีประโยชน์มากกว่าที่คิด
กรดน้ำส้ม หรือ กรดอะซีติก ที่รู้จักกันดีในการนำมาผลิตน้ำส้มสายชู ซึ่งใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยวและช่วยในการถนอมอาหาร เป็นกรดอินทรีย์ มีลักษณะใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนที่เป็นเอกลักษณ์นั้น
นอกจากนำมาผลิตน้ำส้มสายชูแล้วยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
– กำจัดคราบเหงื่อไคล คราบฝังลึก ตามเสื้อผ้า โดยการนำผ้าไปชุบกรดน้ำส้มเจือจางแล้วถูบริเวณรอยเปื้อนโดยตรง จากนั้นก็นำเสื้อไปซักตามปกติได้เลยค่ะ นอกจากนี้ยังช่วยลดกลิ่นอับ ขจัดความหมอง เพิ่มความสดใส ให้กับเสื้อผ้า สามารถใช้ได้ทั้งผ้าสีและผ้าขาวเลยนะคะ
ไม่เพียงเท่านี้ยัง – ใช้ทำความสะอาดกระจกด้วยการผสมกับน้ำเปล่า และน้ำยาล้างจานเพียงเล็กน้อย เท่านี้กระจกก็จะใสปิ๊งเหมือนใหม่แล้วค่ะ
อีกทั้งยัง – ขจัดคราบในชักโครก โดยการฉีดพ่นกรดน้ำส้มเจือจางที่ด้านในโถชักโครก ทิ้งไว้สักพักก่อนจะใช้แปรงขัดออกค่ะ
กรดน้ำส้มยังสามารถ – ยืดอายุดอกไม้ให้บานสะพรั่ง โดยนำ กรดน้ำส้มเจือจาง น้ำตาล และน้ำ ผสมให้เข้ากัน มาเป็นน้ำเพื่อใส่ในแจกัน เพียงเท่านี้ก็ทำให้ดอกไม้ในแจกันบานสวยได้นานขึ้นค่ะ
และยัง – ป้องกันราที่อยู่ตามห้องน้ำ โดยใช้กรดน้ำส้มเจือจางฉีดลงบริเวณม่านกั้นอาบน้ำและกำแพงห้องน้ำ
ประโยชน์ของกรดน้ำส้มไม่ได้มีเพียงแค่ที่กล่าวมานะคะยังสามารถนำมา แช่เท้าเพื่อลดการเกิดของแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของกลิ่นไม่พึงประสงค์ และนอกจากจะช่วยให้สุขภาพเท้าดีขึ้นแล้วก็ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และลดอาการเมื่อยล้าได้อีกด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้นการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ควรใช้ความเข้มข้นของกรดในปริมาณที่เหมาะสมนะคะ
กรดอะซิติก (Acetic acid) หรือ กรดน้ำส้ม เป็นกรดอินทรีย์ (Organic acid) มีสูตรทางเคมี คือ CH3COOH เป็นของเหลวใสไม่มีสี มีกลิ่นฉุน แสบจมูก ระเหยได้ จัดเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตน้ำส้มสายชู รวมถึงนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร และทางการแพทย์
ประโยชน์ของกรดน้ำส้ม
เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชู เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกรดอะซิติกมาเจือจางให้มีความเข้มข้นประมาณ 4-18% โดยปริมาตร แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1.น้ำส้มสายชูหมัก
น้ำส้มสายชูหมัก หรือ น้ำส้มสายชูแท้ เป็นน้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักเพียงอย่างเดียว โดยใช้วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง แป้งจากข้าว หรือแป้งจากเมล็ดธัญพืชอื่นๆ รวมถึงกากน้ำตาล และผลไม้ชนิดต่างๆ ประกอบด้วยขั้นตอนการหมัก 2 ขั้นตอน คือ
– การหมักน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ (alcoholic fermentation)
– การหมักแอลกอฮอล์ให้เป็นกรดอะซิกติก (acetic acid fermentation)ทั้งนี้ น้ำส้มสายชูหมักที่ได้มาตรฐาน จะต้องมีลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอนหรืออาจมีตะกอนได้บ้าง แต่ต้องเป็นตะกอนที่เกิดขึ้นจากการหมักตามธรรมชาติ มีกลิ่นหอมตามกลิ่นวัตถุดิบที่ใช้หมัก มีความหวานของน้ำตาลเล็กน้อย โดยต้องมีความเข้มข้นของกรดอะซิติก (acetic acid) ไม่น้อยกว่า 4%
2.น้ำส้มสายชูกลั่น
น้ำส้มสายชูกลั่น สามารถผลิตได้หลายวิธี ได้แก่
– ใช้เอทธิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ที่มีความเจือจางมาหมักร่วมกับเชื้อน้ำส้มสายชู แล้วนำไปกลั่น
– ใช้น้ำส้มสายชูหมักมากลั่น แล้วทำให้เจือจาง สารมารถใช้ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวทั่วไป หรือ ใช้เช็ดอุปกรณ์ที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค ทั้งนี้ น้ำส้มสายชูกลั่นที่ได้มาตรฐานจะต้องมีลักษณะใส ไม่มีความขุ่นหรือมีตะกอน โดยต้องมีความเข้มข้นของกรดอะซิติกไม่น้อยกว่า 4% และน้ำส้มสายชูที่ขายตามท้องตลาด ส่วนมากเป็นน้ำส้มสายชูกลั่น
3.น้ำส้มสายชูเทียม
เป็นน้ำส้มสายชูเทียม ที่ใช้กรดอะซิติกสังเคราะห์ (Acetic acid) ความเข้มข้นประมาณ 95% มาเจือจางจนให้เหลือความเข้มข้นประมาณ 4-7% เป็นน้ำส้มสายชูที่มีลักษณะใส ไม่มีสี ทั้งนี้ การผลิตจำเป็นต้องใช้กรดอะซิติกสังเคราะห์ที่มีความบริสุทธิ์สูงจึงจะเหมาะสำหรับนำไปใช้ในอาหารได้
สนใจสั่งซื้อสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางต่างๆ ของทางร้านได้เลยนะคะ