สารกันบูด อันตรายจริงหรือ ?
สารกันบูด คือ วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ถนอมอาหารและยืดอายุในการเก็บรักษา ซึ่งหากรับประทานอาหารที่เจือปนสารกันบูดในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย หรือหมดสติได้ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหารแปรรูปมากเป็นพิเศษ เพราะอาจมีสารกันบูดเจือปนอยู่ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
สารกันบูด (Sodium Benzoate) เป็นสารที่เติมลงในน้ำอัดลม อาหารสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางชนิด เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารขึ้นรา จึงได้รับความนิยมมากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์คงอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น ซึ่งองค์การอาหารและยาได้อนุญาตให้ใช้สารกันบูดที่มีความเข้มข้นเล็กน้อยในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ก็ยังมีหลายคนสงสัยว่าสารกันบูดนั้นอันตรายหรือไม่ และต้องใช้อย่างไรถึงจะปลอดภัย บทความนี้ RHK Group จะอธิบายถึงภาพรวมโดยละเอียด รวมถึงการใช้งานอย่างปลอดภัย
สารกันบูด คืออะไร ?
สารกันบูด หรือโซเดียมเบนโซเอต เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะสารถนอมอาหารที่ใช้ในอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา โดยมีลักษณะเป็นผงผลึกไร้กลิ่นที่เกิดจากการผสมกรดเบนโซอิกและโซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดเบนโซอิกเป็นสารกันบูดที่ดีในตัวเอง และการผสมกรดเบนโซอิกเข้ากับโซเดียมไฮดรอกไซด์จะช่วยให้ละลายในผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งโซเดียมเบนโซเอตไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่กรดเบนโซอิกพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น อบเชย กานพลู มะเขือเทศ เบอร์รี่ พลัม แอปเปิล และแครนเบอร์รี่ นอกจากนี้ แบคทีเรียบางชนิดยังผลิตกรดเบนโซอิกเมื่อหมักผลิตภัณฑ์นมด้วย เช่น โยเกิร์ต ซึ่งสารกันบูดมีทั้งในรูปแบบผงและแบบเม็ดทรงกลม
สารกันบูด ใช้ในอุตสาหกรรมอะไรบ้าง ?
อาหารและเครื่องดื่ม
สารกันบูดที่ใช้ในอาหารเป็นสารปรุงแต่งอาหารที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และถูกใช้เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รา และจุลินทรีย์อื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายในอาหาร เพราะมีคุณสมบัติสามารถช่วยยับยั้งการเน่าเสียจากแบคทีเรีย ยีสต์ และราที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารที่เป็นกรดได้ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความสดของอาหารโดยช่วยชะลอหรือป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสี กลิ่น รส ค่า pH และเนื้อสัมผัส อาหารที่มักใช้สารกันบูด เช่น น้ำสลัด ผักดอง น้ำมะนาวบรรจุขวด ซอส ซีอิ๊ว เครื่องปรุงรสอื่น ๆ น้ำผลไม้ ไวน์ และน้ำอัดลม
เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว
เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอางรวมถึงของใช้ส่วนตัวบางประเภทก็ต้องการสารกันบูดเช่นกัน เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เพราะผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ปราศจากสารกันบูดไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยมักใช้สารกันบูดในเครื่องสำอาง เช่น ครีมกันแดด มอยเจอร์ไรเซอร์ เซรั่ม และในของใช้ส่วนตัว เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม ทิชชู่เปียกสำหรับเด็ก ยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก
ยา
เนื่องจากสารกันบูดมีคุณสมบัติต้านจุลชีพ จึงใช้ในผลิตภัณฑ์ยาด้วยเช่นกัน ทั้งยาที่ขายตามร้านขายยาและยาตามใบสั่งแพทย์บางชนิด โดยเฉพาะในยาที่เป็นของเหลว เช่น ยาแก้ไอ นอกจากนี้ยังใช้ในสูตรยาเม็ด แคปซูล ฯลฯ เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารหล่อลื่นในการผลิตยาเม็ด และทำให้ยาเม็ดมีความโปร่งใสและเรียบเนียน ทั้งยังช่วยให้เม็ดยาแตกตัวอย่างรวดเร็วหลังจากที่กลืนเข้าไปอีกด้วย
อุตสาหกรรมอื่น ๆ หนึ่งในการใช้งานสารกันบูดที่นิยมคือ ใช้เพื่อการยับยั้งการกัดกร่อน เช่น ในสารหล่อเย็นสำหรับเครื่องยนต์ รวมถึงใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของพลาสติกบางชนิด
สารกันบูด ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
สารกันบูดได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัยและสามารถใช้เป็นสารแต่งกลิ่นและสารต้านจุลชีพในอาหารได้สูงสุด 0.1% ตามที่องค์การอาหารและยาอนุญาต โดยทั่วไปจึงถือว่าปลอดภัยและใช้เป็นสารถนอมอาหารได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย และหากใช้จะต้องรวมอยู่ในฉลากส่วนผสมด้วย ส่วนระดับน้ำดื่มสูงสุดที่องค์การอาหารและยาอนุญาตคือ 5ppb ซึ่งภายใต้ระดับนี้จัดว่าไม่อันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น เครื่องดื่มเกือบทั้งหมดจึงผลิตภายใต้ข้อจำกัดนี้ ในขณะที่ในผลิตภัณฑ์ความงามและเครื่องสำอาง คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม (EWG) ได้จัดอันดับสารกันบูดที่ระดับความเป็นอันตรายระดับ 3 จากระดับ 0-10 ซึ่งหมายความว่าความเสี่ยงโดยรวมของการใช้สารกันบูดในเครื่องสำอางนั้นค่อนข้างต่ำ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
นอกจากนี้องค์การอาหารและยายังได้กำหนดระดับการบริโภคประจำวัน (ADI) สำหรับสารกันบูดที่ยอมรับได้คือ 0-5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ซึ่งร่างกายของเราจะไม่สะสม เพราะสามารถเผาผลาญและขับออกทางปัสสาวะภายใน 24 ชั่วโมงได้ การใส่สารกันบูดตามที่องค์การอาหารและยากำหนดนั้น สามารถมั่นใจได้ในความปลอดภัย ยกเว้นในบางคนอาจมีอาการแพ้ได้ โดยอาจพบอาการแพ้ เช่น คันและบวม รวมถึงในสตรีมีครรภ์แม้ว่าโดยปกติจะถือว่าปลอดภัยในการบริโภคในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินอาหารที่ใส่สารกันบูดจะดีที่สุด
โซเดียมเบนโซเอตเป็นสารเคมีอเนกประสงค์ที่มีคุณสมบัติเป็นสารกันบูด ที่นิยมใช้ในยารักษาโรค อาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง ตลอดจนผลิตภัณฑ์ส่วนตัว และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา สารกันบูดไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้น จึงต้องมีการทำในห้องปฏิบัติการ และใส่ลงในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตามที่องค์การอาหารกำหนด ก็จะทำให้การใช้นั้นปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งสารกันบูดมีประโยชน์อย่างมากในหลาย ๆ อุตสาหกรรม
ตัวอย่างสารกันบูดที่ถูกนำมาใช้
ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดการใช้สารกันบูดในอาหารอย่างเคร่งครัด โดยสารกันบูดที่อนุญาตให้ใช้ ได้แก่
กลุ่มกรดอ่อนและเกลือของกรดอ่อน
นิยมใช้กันมากในสินค้าอุตสาหกรรม เพราะมีความเป็นพิษน้อย มีประสิทธิภาพ และละลายน้ำได้ดี ได้รับอนุญาตให้ใส่ในอาหารหลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง น้ำหวาน และน้ำอัดลม เป็นต้น โดยสารกันบูดกลุ่มกรดอ่อนและเกลือของกรดอ่อนมีข้อดี คือ มีความเป็นพิษต่ำ เมื่อบริโภคเข้าไปจะเปลี่ยนแปลงเป็นสารชนิดอื่นที่ไม่มีพิษและถูกขับถ่ายออกจากร่างกายได้
กลุ่มซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์
มีประสิทธิภาพสูงคล้ายสารกันบูดกลุ่มแรก อนุญาตให้ใช้ในไวน์ เครื่องดื่ม น้ำตาลทราย วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ชนิดแห้งและแช่อิ่ม ซึ่งสารกันบูดกลุ่มซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีข้อดี คือ สามารถถูกขับออกจากร่างกายได้ แต่หากได้รับสารเหล่านี้ในปริมาณมาก สารกลุ่มนี้จะลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย และทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น สารไธอามีน และวิตามินบี 1 เป็นต้น
กลุ่มไนเตรตและไนไตรท์
เป็นสารตรึงสี หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อดินประสิว อนุญาตให้ใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมักที่ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋อง และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น แฮม ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง และเบคอน เป็นต้น ซึ่งหากได้รับสารกันบูดกลุ่มไนเตรตและไนไตรท์ในปริมาณที่ไม่เกินค่าที่กำหนด อาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ กับผู้ใหญ่และเด็กที่ร่างกายสามารถขับสารออกมาได้ตามปกติ แต่อาจเป็นอันตรายกับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะร่างกายของทารกอาจไม่สามารถขับสารเหล่านี้ออกจากร่างกายได้
กลุ่มอื่น ๆ เช่น สารพาราเบนส์
ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งหรือทำลายเชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรีย หรือสารปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ยังกล่าวด้วยว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดทั้งชนิดสด แห้ง หรือบรรจุกระป๋อง อาจผ่านกระบวนการป้องกันหรือชะลอการเน่าเสียมาแล้วทั้งสิ้น โดยอาหารที่มักใส่สารกันบูดเพื่อยืดอายุการบริโภค ได้แก่ ผักผลไม้ดอง พริกแกง เครื่องดื่มบางชนิด ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่บางชนิด ผลิตภัณฑ์จากแป้งอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน หรือวุ้นเส้น และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อย่างลูกชิ้น หมูยอ หรือไส้กรอก เป็นต้น ดังนั้น ผู้บริโภคควรเลือกซื้อและบริโภคอาหารแต่ละชนิดด้วยความระมัดระวัง
สารกันบูดอันตรายหรือไม่ ?
แม้ผู้บริโภคอาจมั่นใจได้ว่าสารกันบูดแต่ละชนิดที่อนุญาตให้ใช้ในประเทศไทยมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง เพราะสารเหล่านั้นได้ผ่านการทดสอบทางพิษวิทยา และผ่านการประเมินความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามาเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตอาหารแปรรูปบางรายอาจใส่สารกันบูดในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมกับชนิดอาหารตามข้อกำหนด จนอาจส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารกันบูดได้ เพราะแม้ร่างกายจะมีกลไกขับสารกันบูดออกทางปัสสาวะได้เอง แต่การบริโภคอาหารที่มีสารกันบูดติดต่อกันเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับสารเหล่านั้นออกมาไม่ทัน จนกลายเป็นสารพิษตกค้างสะสมที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมาได้
สนใจติดต่อ เวิลด์เคมีคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line ID : @worldchemical
Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
โทร : 053 204 446-7