สารเคมีที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย
ปัญหามลพิษทางน้ำในปัจุบันมีปริมาณสูงขึ้น การบำบัดน้ำเสียจากชุมชน และแหล่งอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพดีขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการแก้ไขปัญหาทางหนึ่งมลพิษทางน้ำ การปรับปรุงคุณภาพของน้ำมีด้วยกันหลายวิธี การใช้สารเคมีเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสะดวกและให้ผลดี การเติมสารเคมีลงในน้ำ มีจุดประสงค์ให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี เพื่อบำบัดน้ำที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
1. มีกรดหรือด่างสูงเกินไป (มีค่า pH ต่ำหรือสูงเกินไป)
2. มีโลหะหนัก เช่น สังกะสี ตะกั่ว เหล็ก โครเมียม
3. มีสารแขวนลอยขนาดเล็กที่ตกตะกอนได้ยาก
4. มีสารประกอบอนินทรีย์ละลายน้ำที่เป็นพิษ เช่น ซัลไฟด์
5. มีไขมันหรือน้ำมันละลายน้ำ
สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ที่นิยมใช้ เช่น
1 .สารปรับสภาพน้ำ
เป็นสารที่ใช้ในการปรับสภาพน้ำให้อยู่ในสภาพกรดหรือด่างที่เหมาะสม เช่น น้ำเสียที่เป็นกรดสามารถทำให้เป็นกลางได้ เช่นการเติมปูนขาว โซดาไฟ หรือโซดาแอซ ส่วนน้ำเสียที่เป็นด่าง สามารถทำให้เป็นกลางได้โดยการเติมกรดเช่น กรดกำมะถัน กรดเกลือ เป็นต้น นอกจากนี้โลหะหนักบางชนิด เช่น สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว แคดเมียม จะละลายน้ำได้ดีเมื่อมีค่า pH ต่ำ
ดังนั้นการแยกสารโลหะหนักในน้ำทำได้โดยการเติมสาร เช่น โซดาไฟ หรือปูนขาวลงไปในน้ำเสีย จนมีค่า pH ที่ เหมาะสมจะทำให้โลหะหนักตกตะกอน และสามารถแยกออกจากน้ำได้ สำหรับการใช้สารตกตะกอนบางชนิด ต้องมีการปรับสภาพน้ำให้เป็น กรดหรือด่างก่อนใส่สารลงไป เพื่อให้มีสภาวะที่เหมาะสมในการเกิด การตกตะกอน ทำให้เกิดการตกตะกอนสมบูรณ์ไม่กลับไปละลายในน้ำได้อีก
2. สารช่วยตกตะกอน
การตกตะกอนทางเคมีจัดเป็นขบวนการสำคัญในการปรับคุณภาพของน้ำ โดยสารช่วยตกตะกอนจะทำให้มีการเกาะกันเป็นกลุ่มทำให้อัตราเร็วในการตกตะกอนเร็วยิ่งขึ้น สารเคมีที่ใช้ได้แก่
2.1 Ammonium alum และ Potassium alum หรือ สารส้ม (alum) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
2.2. Poly Aluminium Chloride หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “PAC” ลักษณะทั่วไปของ PAC อาจอยู่ในรูปของสารละลายใส หรือขุ่นเล็กน้อย และอาจอยู่ในรูปของผงละเอียดสีขาว หรือสีเหลือง PAC ทำให้สารต่างๆ ที่แขวนลอยในน้ำจับตัวกันได้ จึงสามารถตกตะกอนได้อย่างรวดเร็ว
2.3 Ferric chloride ส่วนใหญ่นำมาใช้ในรูปของสารละลายเจือจาง โดยใช้เป็นสารช่วยจับตะกอน(flocculating agent) และสารตกตะกอน(precipitating agent) ในระบบบำบัดน้ำ โดยจะทำปฏิกิริยากับความเป็นด่างในน้ำเกิดเป็น Fe(OH)3ซึ่งจะทำหน้าที่ดูดซับของแข็งที่มีขนาดเล็กและอนุภาคของคอลลอยด์ FeCl3 มีประสิทธิภาพที่ดีโดยเฉพาะในการตกตะกอนสารโลหะหนัก และซัลไฟด์ นอกจากนี้ใน กรณีของน้ำมันและสาร โพลิเมอร์ที่ยากต่อการย่อยสลาย ก็สามารถถูกดูดซับบน Fe(OH)3) ได้
3. สารฆ่าเชื้อ
การใส่สารฆ่าเชื้อในการบำบัดน้ำเสีย ก็เพื่อทำลายเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในน้ำ นอกจากนี้ สารฆ่าเชื้อ บางตัวยังสามารถกำจัดกลิ่น ที่ไม่ต้องการออกไปได้ สารฆ่าเชื้อที่ใช้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น
3.1 คลอรีน โดยทั่วไปคลอรีนที่ใช้เพื่อการฆ่าเชื้อโรคได้แก่ ก๊าซคลอรีน(Cl2), แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ [Ca(OCl)2] ,โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) และคลอรีนไดออกไซด์ (ClO2) เนื่องจาก คลอรีนมีความสามารถในการออกซิไดส์สูง จึงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี เป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่มีน้ำเป็นสื่อ
3.2 โอโซน โอโซนเป็นสารออกซิไดซ์ที่รุนแรงสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้หลายชนิด รวมทั้งเชื้อไวรัสของโรคไข้หวัดใหญ่ (influenza) โรคโปลิโอ (poliomyeligis) และเชื้อบิด Endamoeba histolytica โอโซนสามารถสลายตัวได้ง่ายและเปลี่ยนเป็นออกซิเจน เมื่อสัมผัสกับสารรีดิวส์หรือใช้โลหะทรานซิชั่นเป็น
ปัจจัยที่ทำให้น้ำเน่าเสีย นอกจากนี้ยังสามารถออกซิไดซ์สารที่ทำให้เกิดกลิ่นในน้ำเสียและน้ำทิ้งเช่น แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไดเมทิลซัลไฟด์เป็นต้น
สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดน้ำทั้ง 3กลุ่ม โดยมากจะใช้ร่วมกัน โดยในขั้นตอนแรกจะเป็นการปรับสภาพน้ำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการตกตะกอน ต่อจากนั้นจึงเติมตัวตกตะกอนลงไปให้เกิดการตกตะกอน แล้วจึงกำจัดตะกอนที่ตกลงมาออกจากน้ำ ขั้นต่อไปเติมสารฆ่าเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อโรค จากนั้นเติมสารปรับสภาพน้ำอีกครั้งเพื่อปรับสภาพน้ำให้เป็นกลาง ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
บริษัท เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ จำกัด (จังหวัดเชียงใหม่)
261/3-6 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร. 053-204 446-7 / 053-204 465