World Chemical Group

เคมีภัณฑ์อาหาร

เคมีภัณฑ์อาหาร (Food Chemical)

เคมีภัณฑ์,สารเคมีภัณฑ์,เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม,เคมีภัณฑ์เชียงใหม่,ร้านเคมีใกล้ฉัน

เคมีภัณฑ์อาหาร ( Food Chemicals )

หลายๆคนจะสงสัยว่า อาหารที่เราทานทุกวันนี้ มีเคมีตัวไหนบ้าง ที่ปลอดภัย และ สามารถรับประทานได้ วันนี้ WorldChemical จะมาอธิบายเกี่ยวกับ ” เคมีภัณฑ์อาหาร มีอะไรบ้าง

เคมีภัณฑ์ในอาหารมีหลายประเภท เช่น

1. วิตามินและแร่ธาตุ: เช่น วิตามิน A, B, C, D, E, และ K, แร่ธาตุเช่น เหล็ก, แคลเซียม, แมกนีเซียม

2. วัตถุประสงค์พิเศษ: เช่น วัตถุประสงค์ในการลดน้ำหนัก, สารสำหรับป้องกันอนุมูลอิสระ, และสารสำหรับกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ

3. สารควบคุมความเปลี่ยนแปลงของสี เช่น สารที่ใช้ในการเพิ่มหรือลดความเข้มของสี, สารที่ใช้ในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงสีของอาหาร

4. สารควบคุมรสชาติ เช่น สารหวานที่ใช้ในการเพิ่มรสหวาน, สารเค็มที่ใช้ในการปรับรสเค็ม การใช้เคมีภัณฑ์ในอาหารมีเป็นไปได้เนื่องจากการใช้สารเคมีเหล่านี้

สามารถช่วยให้อาหารมีคุณภาพดีขึ้น และยังช่วยในการเพิ่มความปลอดภัยและคงความสดใหม่ของอาหารได้ด้วย

 

วิตามินเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

แต่หลายคนไม่ทราบว่าแหล่งอาหารที่มีวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายนั้นอยู่ในอาหารประเภทใดบ้าง ทำให้ต้องไปพึ่งพาวิตามินรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ให้ความสะดวกสบายและทานง่าย แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงที่จะตามมาได้

กลุ่มที่ละลายในน้ำ

วิตามิน B – พบมาในธัญพืช เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง และผลไม้
วิตามิน C – พบมากในผัก เช่น พริกหวาน ผักคะน้า บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ ถั่วลันเตา มะรุม มะระ ผักหวาน ยอดสะเดา ใบปอ มะเขือเทศ มันฝรั่ง
พบมากในผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม ส้ม กีวี สตรอว์เบอร์รี และมะละกอ

กลุ่มที่ละลายในไขมัน

วิตามิน A – พบมากในไข่แดง ตับ นม และพืชกลุ่มที่มีสารแคโรทีนอยด์ ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม ผัก และผลไม้สีเหลือง สีส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แค่รอท ฟักทอง มันเทศ และมะละกอสุก
วิตามิน D – พบมากในปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาตะเพียน ปลานิล เห็ดหอม และไข่แดง
วิตามิน E – พบมากในน้ำมันพืช เมล็ดพืช และถั่วที่มีน้ำมัน เช่น เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง
วิตามิน K – พบมากในผักใบเขียว น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันคาโนลา

สารควบคุมความเปลี่ยนแปลงของสี เช่น สารที่ใช้ในการเพิ่มหรือลดความเข้มของสีในอาหาร

สีผสมอาหาร (Food coloring

เคมีภัณฑ์อาหาร เป็นสีย้อม สารสีหรือสารใด ๆ ที่ให้สีเมื่อเพิ่มในอาหารหรือเครื่องดื่ม มีหลายรูปแบบทั้งของเหลว ผง เจลและสีป้าย สีผสมอาหารใช้ทั้งในการผลิตอาหารเชิงพาณิชย์และในการประกอบอาหารในบ้าน เนื่องจากความปลอดภัยและหาได้ทั่วไป สีผสมอาหารยังใช้ประโยชน์นอกเหนือจากอาหารได้หลายอย่าง รวมถึงเครื่องสำอาง ยา โครงการงานทำมือและอุปกรณ์การแพทย์

ความสำคัญของสีผสมอาหาร

  1. ช่วยแก้ไขสีของอาหารที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีตามธรรมชาติ หรือ การเปลี่ยนแปลงขณะแปรรูปหรือเก็บรักษาอาหาร
  2. ช่วยเพิ่มหรือเน้นหรือรักษาความเป็นเอกลักษณ์สีของอาหาร
  3. ช่วยสีสันของอาหารทำให้ดึงดูดความสนใจ ที่น่ารับประทานแก่ผู้บริโภค

การใช้ประโยชน์สีผสมอาหาร

  1. การใช้สำหรับแต่งอาหารทั่วไปที่ไม่มีสีเพื่อให้มีสีเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น เครื่องดื่ม หรือ เครื่องดื่มผง ลูกกวาด ไอศกรีม  เยลลี่ เป็นต้น
  2. การใช้แต่งอาหารที่มีสูญเสีย หรือ เปลี่ยนแปลงสีระหว่างกระบวนการผลิต และการเก็บรักษา เช่น การผสมสีผสมอาหารในเบียร์ น้ำเชื่อม และอาหารอบ เป็นต้น
  3. การใช้แต่งอาหารที่มีสีเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล และ สภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้แต่งสีน้ำนมวัวที่ผลิตได้ในฤดูหนาว ให้มีสีเข้มขึ้น เพราะน้ำนมวัวในฤดูหนาวจะมีสีอ่อน เนื่องจากได้รับสารเบต้าแคโรทีนจากหญ้าในปริมาณน้อยขณะที่น้ำนมวัวในฤดูร้อนมักมีสีเหลืองเข้ม เนื่องจากได้รับบีตาแคโรทีนในหญ้า ที่มีมากกว่าหญ้าในฤดูหนาว

ประเภทของสีผสมอาหาร

สีผสมอาหารแบ่งเป็น 2 ประเภท

สารควบคุมรสชาติ เช่น สารหวานที่ใช้ในการเพิ่มรสหวาน, สารเค็มที่ใช้ในการปรับรสเค็ม การใช้เคมีภัณฑ์ในอาหาร

1.ผงชูรส เป็นสารปรุงแต่งรสอาหารที่นิยมใช้ ซึ่งผงชูรส เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งมีชื่อว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodiumglutamate) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวแท่งยาว คอดตรงกลาง หัวท้ายเรียบคล้ายกระดูก กระบวนการผลิตในปัจจุบันเริ่มจาก ใช้ขบวนการย่อยสลายแป้งมันสำปะหลังทางเคมี โดยใช้กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริกที่อุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส จนได้สารละลายน้ำตาลกลูโคส จากนั้นผ่านกระบวนการหมักโดยใช้ยูเรียและเชื้อจุลินทรีย์ จนได้แอมโมเนียกลูตาเมต ส่งผ่านกระบวนการทางเคมีต่อโดยใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก จนได้เป็นกรดกลูตามิก และผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ จะได้สารละลายผงชูรสหยาบ นำไปผ่านขบวนการฟอกสีโดยใช้สารฟอกสี จนเป็นสารละลายผงชูรสใส แล้วผ่านขั้นตอนสุดท้ายด้วยการทำให้ตกผลึกจนกลายเป็นผลึกผงชูรส เมื่อเรารับประทานผงชูรสจะกระตุ้นประสาทในปากและลำคอทำ ให้รู้สึกว่ามีรสอร่อยขึ้น

2.สารกันบูด คือสารเคมีหรือของผสมของสารเคมีที่ใช้ในการถนอมอาหาร โดยอาจจะใส่ลงในอาหาร พ่น-ฉาบรอบๆ ผิวของอาหารหรือภาชนะ บรรจุสารดังกล่าวจะทำหน้าที่ยับยั้ง หรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหาร เน่าเสียโดยอาจจะไปออกฤทธิ์ต่อ ผนังเซลล์รบกวนการทำงานของ เอนไซม์หรือกลไกทางพันธุกรรม (genetic mechanism) ในเซลล์ ยังผลให้จุลินทรีย์ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้หรือตายในที่สุด ช่วยในการถนอมอาหารได้ เพราะช่วยชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร ตัวที่นิยมกันมากคือ พวกกรดอ่อนต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอท เพราะมีราคาถูกและไม่ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยนมักเติมลงในเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ ซอส ผักดอง แยม เยลลี่ ผลไม้แช่อิ่ม และเครื่อแกงสำเร็จรูป สำหรับกรดโปรปิโอนิก และเกลือโปรปิโอเนตเหมาะสำหรับใช้ป้องกันการเจริญของเชื้อรา และเกิดเมือกหรือยางเหนียวในโด (dough) หรือแป้งขนมปังที่ผ่านการนวดแล้ว จึงเหมาะที่จะใช้ในอาหารประเภทขนมปัง เค้ก และเนยแข็งชนิดต่างๆ

 

ส่วนกรดซิตริกเป็นส่วนประกอบของผลไม้สามารถป้องกันแบคทีเรียและยีสต์ได้ดี เหมาะสำหรับใส่ในเครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม เยลลี่ แยม เป็นต้น โดยสารกันบูดสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ


•1.กรดและเกลือของกรดบางชนิด เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโปรปิโอนิก สารกันบูดชนิดนี้ควรจะเป็นอาหารที่มีความเป็นกรด ประมาณ 4-6 ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของกรด เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม แยม ผักดองชนิดต่างๆ ขนมปัง ฯลฯ สารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะให้ผลยับยั้งราและ ยีสต์มากกว่าแบคทีเรีย ข้อดีของสารกลุ่มนี้คือมีความเป็นพิษต่ำ เพราะ ร่างกายคนสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสารอื่นที่ไม่มีพิษและขับถ่ายออกจาก ร่างกายได้


•2.พาราเบนส์ (parabens) เป็นสารกันบูดที่มีประสิทธิภาพยับยั้ง หรือทำลายราและยีสต์ได้ดีกว่าแบคทีเรีย และจะมีประสิทธิภาพสูงในช่วง ความเป็นกรดด่าง (pH) กว้างกว่าสารกลุ่มแรกคือประมาณ 2-9 อาหาร ที่นิยมใส่พาราเบนส์ ได้แก่ น้ำหวานผลไม้ น้ำผลไม้ แยม ขนมหวานต่างๆ สารปรุงแต่งกลิ่นรส ร่างกายคนจะมีกระบวนการขจัดพิษของพาราเบนส์ ได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรลีซิส (hydrolysis)


•3.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ กลไกในการทำลายเชื้อของ สารกันบูดชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูง ในอาหารที่มีความเป็นกรดด่างปริมาณน้อยกว่า 4 ลงมา จึงนิยมใส่ในไวน์ น้ำผลไม้ต่างๆ ผักและผลไม้แห้ง หากร่างกายได้รับสารนี้ มากเกินไป สารดังกล่าวจะไปลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกายได้ นอกจากนี้สารกันบูดกลุ่มนี้ยังทำลายไธอามีน (thiamine) หรือวิตามิน B1 ในอาหารด้วย


•4.สารปฏิชีวนะ การใช้วัตถุกันเสียในการถนอมอาหารตามสัดส่วนที่ อย.ระบุว่าปลอดภัยแม้ว่าจะไม่มีอันตราย แต่การหลีกเลี่ยงบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุกันเสีย น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อสุขภาพร่างกายของเรา

 

เวิลด์เคมีคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line ID : @worldchemical
Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
โทร : 053 204 446-7

Exit mobile version