เอทีลแอลกอฮอล์ หรือ เอทานอล คืออะไร?

เอทิลแอลกอฮอล์ หรือ เอทานอล (EthyIAlcohol หรือ Ethanol) นั้นเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% ใช้สำหรับทำความสะอาดฆ่าเชื้อโดยไม่เป็นพิษต่อร่างกาย สามารถนำมา เช็ด ถู หรือฉีด บนร่างกายได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังใช้ในการผลิตเครื่องสำอางได้อีกด้วย

“เอทิลแอลกอฮอล์” หรือ “เอทานอล” มีสูตรเคมีคือ C2H50H เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ ไวไฟสูง สามารถละลายน้ำได้ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด แอลกอฮอล์ชนิดนี้กินได้ นิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า ไวน์ และเบียร์ ยาสำหรับเช็ดทำความสะอาดแผล ใช้ในการผลิต เครื่องสำอาง ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

ความเป็นพิษต่อร่างกาย คือ โรคษสุรารื้อรังและตับอักเสบ เป็นอาการพิมของผู้เสพสุราเป็นระยะเวลานาน นั่นคือ อาการพิษเรื้อรังที่เกิดจากเอทานอล แต่พิษเฉียบพลันที่เกิด จากการกินเข้าไปมาก ๆ ในครั้งเดียวก็คืออาการเมานั่นเอง แต่ทั้งนี้แม้ว่าเอทนอลจะกินได้ ก็ใช่ว่าจะนำเอทานอลในน้ำยาล้างแผลมาดื่มแทนเหล้าได้ เพราะในน้ำยาล้างแผลจะมีการใส่สีไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน

สำหรับแอลกอฮอล์ที่มีการใช้ในปัจจุบัน จะเป็นเอทิลแอลกอฮอล์

แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า “ฟาร์มา เกรด” (Pharma Grade) หรือ ฟู้ดเกรด เป็นแอลกอฮอล์กว่า 95% สามารถกินได้
  2. เป็นแอลกอฮอล์กรดรองลงมา เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ 95% ใช้ในการผลิตเบียร์ เครื่องสำอาง หรือสเปรย์ต่างๆ ที่ฉีดพ่น
  3. เป็นแอลกอฮอล์ล้างแผล หรือไอโซโพรลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol หรือ IPA) เป็นแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เป็นยาใช้ภายนอก จะมีกลิ่นฉุน มีการใส่สารแปลงอย่างพวกสารที่ทำให้เป็นสีฟ้า เพื่อให้แยกออกจากแอลกอฮอล์ที่เป็นฟาร์มาเกรดโดยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อสามารถใช้กับผิวหนังได้แต่เมื่อใช้แล้วต้องระวังอย่าไปหยิบจับสิ่งของกิน เพราะเป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่ได้ผลิตเพื่อวัตถุประสงค์เหมือน 2 ชนิดแรกข้างต้น

“เอทิล แอลกอฮอล์” หรือสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เอทานอล คือแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารับประทานได้ เป็นของเหลวที่ระเหยและละลายน้ำได้ง่าย ไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน เป็นวัตถุวไฟชนิดหนึ่ง เอทิลหรือเอทานอลนี้ สามารถผลิตขึ้นเองได้ด้วยกระบวนการตามธรรมชาติ คือการหมักน้ำตาลโดยยีนส์ หรือผ่านกระบวนการปิโตรเคมี เช่น เอทิลีนไฮเดรต (EthyleneHydrate) ที่นิยมนำมาใช้งานทางการแพทย์เพื่อเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ บางครั้งEthyI AIcohol ก็ถูกนำมาใช้เป็นตัวทำละลาย, ใช้ในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ และยังสามารถนำไปทำให้แห้งสำหรับผลิต เอทิลีน เพื่อใช้เป็นก๊าซทางการเกษตรในการบ่มผักผลไม้ให้สุก

คำว่าเอทิลแอลกอฮอล์ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2435 จากการรวมกันของคำว่า “อีเทน” และ “แอลกอฮอล์” ในช่วงที่โรคโควิดระบาดเราได้ทำความรู้จักเอทิลแอลกอฮอล์กันมขึ้น เนื่องจากเราต้องใช้แอลกอฮอล์ในการฉีดพ่นทำความสะอาดมือเพื่อป้องกันเชื้อโรคแต่อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่าแอลอฮอล์สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ แอลกอฮอล์ที่สามารถกินได้ ที่เรียกว่า เอทิล

แอลกอฮอล์ EthyI Alcohol และแอลกอฮอล์ที่กินไม่ได้ ก็คือ เมทิลแอลกอฮอล์ (MethyI Alcohol) ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานกับผู้บริโภคที่ต้องใช้ฉีดพ่นทำความสะอาด หากเลือกแอลกอฮอล์แบบที่ไม่ใช่ Food Grade นำมาใช้ สารเคมีจากแอลกอฮอล์ก็อาจจะปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้นั่นเอง

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า EthyI Alcohol (เอทิล แอลกอฮอล์) คือแอลกอฮอล์ที่เป็น Food Grade สามารถรับประทานได้เพราะสามารถผลิตได้จากธรรมชาติ คือ คาร์โบไฮเดตทุกชนิดที่ได้จากพืชที่ให้แป้ง เช่น มันสำปะหลัง, มันเทศ, ข้าวโพด หรือข้าวบาร์เลย์ และพืชอีกชนิดที่ให้น้ำตาลได้อย่าง อ้อย นั่นเอง โดยการผลิตเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์จากพืชที่ให้แป้งนั้นจะต้อง

ใช้เอ็นไซม์ที่เรียกว่า Amylase 2 ชนิดที่เรียกว่า แอลฟาอะไมเลสและ กลูโคอะไมเส เพื่อมาย่อยแป้งให้มีโมเลกุลที่เล็กลง แล้วเข้าสู่กระบวนการหมักโดยใช้ยีนส์ จากนั้นจึงนำมากลั่นเป็นเอทานอล บริสุทธิ์ แล้วก็สามารถนำมาหมักต่อเพื่อให้เกิดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ได้ตั้งแต่ 4%-40% อาทิ ไวน์, เบียร์, บรั่นดีหรือวิสกี้ ฯลฯ

การนำ EthyI Alcohol ไปใช้กับเครื่องดื่มต่างๆ ที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดนั้น มักนิยมใช้เอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 40% หรือน้อยกว่า ผสมกับส่วนอื่นๆ ของเครื่องดื่มในปริมาณที่ต้องการ เช่น ผสมกับน้ำผลไม้ต่างๆ

EthyI AIcohol สามารถแบ่งได้ตามปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแอลกอฮอล์ได้ดังนี้คือ

ㆍเอทิลแอลกอฮอล์ 99% : คือเอทานอลแบบแห้งที่ผ่านกระบวนการทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99% ขึ้นไป สามารถเติมสารแปรสภาพลงได้ เช่นใส่สารขม (Britex) เพื่อนำไปใส่ในน้ำมันเชื้อเพลิงหรือล้างแผล ซึ่งเอทิลแอลกอฮอล์ชนิดนี้จะไม่สามารถรับประทานได้ เรียกว่า Denatured Anhydrous Ethanol ส่วน Ethyl Alcohol อีกชนิดหนึ่งที่มีความบริสุทธิ์มากแบบไม่มีสารเจอปนเลย คือไม่ใส่สารขม (Britex) เรียกว่า Indentured Anhydrous Ethanol คือแอลกอฮอล์ระดับ Food Grade

สามารถรับประทานได้ มีความปลอดภัยสูง จึงนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ

ㆍเอทิลแอลกอฮอล์ 95% : คือเอทานอลที่ผ่านการหมักและกลั่น โดยมีน้ำผสมอยู่ประมาณ 5% ถือเป็นแอลกอฮอล์ Commercial Grade จึงไม่สามารถรับประทานได้ มักใช้เป็นส่วนผสมหรือวัตถุดิบในการสกัดสารจากพืช, หรือใช้สำหรับเช็ดทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแแพทย์, เครื่องมือหรือเครื่องจักร รวมถึงใช้เช็ดทำความสะอาดร่างกายของผู้ปฏิบัตงานในโรงงานหรือภาคอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนั้นยังนำไปเป็นสารตั้งต้นของยาบางชนิดในทางการแพทย์, ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค และเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง, สบู่และน้ำหอมต่างๆ

ㆍเอทิลแอลกอฮอล์ 70% : โดยแอลกอฮอล์ชนิดนี้เป็นที่คุ้นเคยและสัมผัสกันทุกวัน เพราะนิยมนำมาใช้ในการทำสเปรย์ฉีดพ่นทำความสะอาด เจลล้างมือ เพราะ Ethyl Alcohol มีคุณสมบัติเป็น Antimicrobial agent คือเป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์จึงสามารถฆ่าเชื้อแบคที่เรีย รา และไวรัส รวมถึงยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้แบบไม่จำเพาะเจาะจง จึงมักใช้เอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ในการยับยั้งและ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคบนผิวภายนอกของร่างกายมนุษย์และพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ฉะนั้นจึงไม่สามารถรับประทานได้

 

การใช้ “Ethyl Alcohol” แบบ Food Grade

คำว่า “เอทานอล” “เอทิลแอลกอฮอล์” และ “แอลกอฮอล์เมล็ดพืช” มักใช้แทนกันได้ และมีความหมายเดียวกัน นั่นคือ แอลกอฮอล์ที่ปลอดภัยสำหรับเป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม ซึ่งเอทานอลแบบฟู้ดกรดนั้นเป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่มีการแปลงสภาพ มักจะมีข้อปฏิบัติและข้อบังคับการผลิตที่เข้มงวดมากกว่า (รวมถึงเสียค่าภาษีมากกว่า) แอลกอฮอล์ประเภทที่ไม่สามารถรับประทานได้เพราะนำมาผลิตอาหารและเครื่องดื่มให้มนุษย์สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ปราศจากสารเติมแต่งใดๆ โดยการใช้งานของเอทานอลแบบฟู้ดเกรดนั้น มีประโยชน์ในการใช้งานได้หลากหลาย อาทิ

ㆍเป็นฐานสำหรับการกลั่นสุรา เช่น วอดก้า, จินหรือเหล้า ฯลฯ

ㆍ เป็นตัวทำละลายสำหรับแต่งกลิ่นและรสชาติในอาหาร เช่น วานิลลา และ ส้ม

ㆍใช้เคลือบขนมหรือตกแต่งเค้ก

ㆍใช้ผลิตเจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อแบบ Food Grade

ㆍใช้ผสมในเครื่องสำอางหรือน้ำหอม

ㆍใช้ผสมเป็นยาแก้ไอ

 

การใช้ “Ethyl Alcohol” สำหรับฆ่าเชื้อ

อีกคุณสมบัติสำคัญของเอลแอลกอฮอล์ ที่โดดเด่นไม่แพ้กับการเป็นแลกอฮอล์กินได้แล้ว ก็คือการเป็นแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อได้ เช่น นำไปใช้ล้างแผลเพื่อฆ่าชื้อโรคและแบคที่เรียต่างๆรวมถึงเชื้อราและไวรัส ซึ่งกลไกลในการฆ่าเชื้อของเอทิลแอลกอฮอล์ก็คือ เอทานอลจะขับน้ำออกจากเซลล์จุลินทรีย์ จากนั่นเซลล์จะดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าไปละลายไขมันที่เยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เกิดความเสียหายและทำลายโปรตีนให้เสียสภาพไปอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้ระบบเมตาบอลิซึมและทำให้จุลินทรีย์ถูกทำลายไปในที่สุด

โดย EthyI Alcohol ที่นิยมใช้สำหรับการฆ่าเชื้อจุสินทรีย์ คือแอลกอฮอล์ 70% เพราะไม่ระเหยเร็วเกินไปและมีปริมาณน้ำเพียงพอที่จุลินทรีย์จะดูดซึมเข้าไปเพื่อทำลายเซลล์ ส่วนแอลกอฮอล์ที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่า เช่น แอลกอฮอล์ 95% นั้นอาจจะระเหยเร็วเกินกว่าที่จะสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ นั่นเอง

 

การใช้ “Ethyl Alcohol” ในการสกัดน้ำมันกัญชา

ในปัจจุบันนี้มีศาสตร์แห่งสมุนไพรที่หลายคนกำลังให้ความสนใจอย่าง น้ำมันกัญชา เพราะสรรพคุณมากมาย อาทิ ลดอาการเจ็บปวดจากโรคมะเร็ง, ช่วยเรื่องการนอนหลับ ลดความเครียด เป็นต้น แต่รู้หรือไม่? ส่วนประกอบสำคัญในการสกัดน้ำมันกัญชาที่ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายก็คือ “Ethyl Alcohol”

เพราะน้ำมันกัญชานั้นสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ฉะนั้นในกระบวนการสกัดจึงเลือกใช้เอทิลแอลกอฮอล์หมักในกัญชาโดยระยะเวลาในการหมักจะขึ้นอยู่กับปริมาณของกัญชา จากนั้นจะทำให้แอลกอฮอล์เกิดการระเหยออกจนหมด ด้วย Evaporator จะคอยกลั่นไอของแอลกอฮอล์ให้เหลือเพียงน้ำมันกัญชาเข้มข้น

 

การใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของ Ethyl Alcohol ได้แก่

ㆍ ใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ต่างๆ เช่น รถยนต์หรือจรวด

ㆍ ใช้เป็นตัวทำละลายในเคมภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำวันมากมาย เช่น สี, เครื่องสำอางหรือน้ำหอม เป็นต้น

ㆍใช้เป็นของเหลวในเทอร์โมมิเตอร์

ㆍใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเอทีลีนไกลคอลและเมทานอล

ㆍใช้เป็นสารตั้งต้นของ เอทิลเอสเตอร์, กระดอะชิติก, เอทิลเฮไลด์, เอทิลเอมีน และไดเอทิลอีเทอร์

 

สามารถใช้สารเคมีภัณฑ์ชนิดอื่นๆ แทน Ethyl Alcohol ได้ไหม?

ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของเอทิลแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ประการคือ

1.นำผสมกับอาหารและเครื่องดื่มได้

  1. นำไปใช้สำหรับฆ่าเชื้อ

โรคได้ ซึ่งความจริงแล้วมีสารเคมีภัณฑ์อีกหลายชนิดที่มีคุณสมบัติคล้ายกันทั้งสองส่วน ดังนี้

ㆍเคมีภัณฑ์ที่นำไปผสมกับอาหารและเครื่องดื่มได้ เช่น Glycerine (ใช้เป็นสารเพิ่มความหวาน, ลูกอมและสุราสำหรับปรุงอาหาร), Methylene Chloride (ใช้ในการสกัดคาเฟอีนจากกาแฟ และใช้ผลิตสารปรุงแต่งกลิ่นหรือรส)

ㆍเคมีภัณฑ์ที่นำไปใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรค เช่น IsopropyI alcohol (IPA), Benzalkonium chloride, Sodiumhypochlorite, Povidone-iodine, Glutaraldehyde, Sodium chlorite และFormaldehyde เป็นต้น

 

Ethyl Alcohol เป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง?

เอทานอลเป็นสารคมีที่ออกฤทธิ์ทางประสาทส่วนกลาง สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้อย่างรวดเร็วทำให้เกิดอาการซึมหรือหมดสติได้ หากเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดอาการมึนมา แต่ถ้าร่างกายได้รับในปริมาณมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดการกดประสาทอย่างรุนแรง จนทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนั้นการบริโภคเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์ เช่น สุรา, โวน์หรือเบียร์ในระยะยาว จะทำให้เป็นพิษสุรารื้องรัง, มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้อาเจียน, กระเพะอาหารอักเสบ, มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงผลกระทบถึงตับ เช่น ตับอักเสบหรือตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

สำหรับหญิงมีครรภ์ แม้จะไม่มีรายงานหรือผลวิจัยว่าหากหญิงมีครรภ์บริโภคเอทานอลหรือเอลแอลกอฮอล์เข้าไปในระยะสั้นแล้ว จะส่งผลให้ทารกเกิดความการได้ แต่ถ้หากบริโภคในระยะยาวเป็นเวลานานจะส่งผลให้ทารกเกิดความพิการแต่กำเนิดได้แน่นอน แต่ถึงกระนั้นเอง Ethyl Alcohol หรือเอทานอลนั้นถูก FDA (องค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา) ว่าเป็นยาประเภท คือหากมีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่ได้รับพิษจากเอทีลีนไกลคอลหรือเมทานอล ก็สามารถใช้รักษาผู้ป่วยตั้งครรภ์ได้

ถึงแม้สารเคมีหรือเคมีภัณฑ์หลายชนิดจะมีความปลอดภัยสูง จนสามารถนำมารับประทานได้ แต่หากใช้ผิดวิธีหรือใช้ในปริมาณที่มากเกินกำหนดก็อาจจะส่งผลร้ายต่อชีวิตมนุษย์ได้เช่นกัน ฉะนั้น ก่อนที่คุณจะเลือกใช้สารเคมีใดๆ ก็ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีใช้ที่ถูกต้อง รวมถึงข้อดีข้อเสียที่จะส่งผลกับอุตสาหกรรมของคุณ รวมถึงผู้บริโภคของคุณด้วยเช่นกัน

 

บริษัท เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ จำกัด (จังหวัดเชียงใหม่)
261/3-6 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
053-204 446-7
053-204 465
sales_worldchemical@hotmail.com