ซอร์บิทอล (Sorbitol)เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์หรือสารให้ความหวาน ซึ่งให้แคลอรีน้อยกว่าชูโครสหรือน้ำตาลทั่วไปถึง 1 ใน 3 พบในสาหร่ายทะเล สกัดได้จากแอปเปิ้ล สาลี่ องุ่น แต่ปัจจุบันสกัดได้จากอ้อย และมันสำปะหลัง ใช้กับเครื่องดื่มจะลดความขมของน้ำตาลลักษณะทั่วไป เป็นเกล็ดเมล็ด ไม่มีกลิ่น ความหวานกลมกล่อม ความหวานเป็น 60% ของน้ำตาลทราย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ซอร์บิทอล เหลว หรือ น้ำมีสีขาวใสๆ ไม่ขุ่น จะเหนียวหนืดพอสมควร บรรจุมาในถัง 200 ลิตร และ ซอร์บิทอล ผง เป็นผงผลึกขาว เป็นเกล็ดเล็กมาก
กรรมวิธีการผลิต
วัตถุดิบที่ใช้เพื่อการผลิตซอร์บิทอล คือ ผลิตผลทางการเกษตรที่มีสตาร์ซ (Starch) เป็นส่วนประกอบ เช่น พืชหัว ได้แก่ มันสำปะหลัง มันฝรั่ง และเมล็ดธัญพืชได้แก่ ข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลีกระบวนการผลิตชอร์บิทอล เริ่มต้นจากการย่อยโมเลกุลของสตาร์ซ ให้เป็นโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส เรียกว่า starch hydrolysis ได้สารตั้งต้น คือ น้ำเชื่อมกลูโคส glucose syrup แล้วจึงทำปฏิกิริยาไฮโดรเจเนชั่น (hydrogenation) ด้วยการเติมไฮโดรเจนให้กับโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส (glucose) มีนิเกิล เป็นแคตะลิส (catalyst) หรือตัวเร่งปฏิกริยา
ประโยชน์ของซอร์บิทอล
1. มีรสชาติหวาน และเมื่อละลายจะให้ความรู้สึก เย็น ซ่า ( cooling effect) เนื่องจากระหว่างพลังงานจะดูดพลังงานความร้อนเพื่อใช้เป็นความร้อนแฝงของการละลาย
2. ให้พลังงาน 2.6 แคลอรี่ต่อกรัม (เทียบกับน้ำตาลทรายซึ่งให้ 4 แคลอรี่ต่อกรัม)
3. มีค่า glycemic index ต่ำ ร่างกายจะย่อยและดูดซึมได้ช้ากว่าน้ำตาล จึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในลือดสูง
4. เป็นยาระบายอ่อนๆ (laxative effet) เนื่องจากดูดซึมได้ช้า และตกค้างมาเป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่
5. ทนต่อกรดและความร้อนได้ดีดีกว่าน้ำตาลทราย และเกิดปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ (non enzymatic browning reaction) ได้ยากกว่า
6.เป็นสารที่แบที่เรียไม่สามารถย่อยสลายให้เกิดสภาวะกรดในช่องปากได้ จึงไม่ทำให้ฟันผุ
การใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา
1.ใช้เป็นสารแทนน้ำตาล (sugar substitute ในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก (diet food) อาหารให้พลังงานต่ำ (low-calorie) หรือไม่มีน้ำตาล (sugar-free) และใช้ในอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น เบเกอรี่ (bakery) แยม (jam) หมากฝรั่ง ลูกกวาด ลูกอม และผสมเครื่องดื่ม (beverage)
2. รักษาความชุ่มชื้น (humectant) ในผลิตภัณฑ์
3. ป้องกันการตกผลึกของน้ำตาล ในการผลิตช็อกโกแลต ลูกกวาด ลูกอม
4. ป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็ง (cryoprotectant โดยไปทำให้จุดเยือกแข็ง (freezing point) ของอาหารลดลง น้ำในอาหารอยู่ในรูปของเหลวที่อุณหภูมิต่ำมาก จึงไม่เกิดผลึกน้ำแข็งที่ไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อใช้ในอาหารแช่เยือกแข็ง เช่น ชูริมิ (surimi) ไอศกรีม (ice cream)