ข้อควรรู้เกี่ยวกับ แคลเซียมโบรอน

แคลเซียมโบรอน เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ แคลเซียมโบรอน (Ca)  จัดเป็นธาตุอาหารรองในกลุ่มเดียวกับแมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) ที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยในการเจริญเติบโต  และไม่มีปัญหาขาดแคลนในดินทั่วไปเหมือนธาตุอาหารหลักซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)  อย่างไรก็ตามแคลเซียมเป็นธาตุสำคัญที่เป็นองค์ประกอบหลักช่วยในการแบ่งเซลล์และใช้กระบวนการภายในเซลล์ในระหว่างการเจริญเติบโต  อาการขาดธาตุแคลเซียมในพืชบางอย่างอาจดูคล้ายอาการของพืชเป็นโรค ดังนั้นการวินิจฉัยอาการผิดปกติของพืชจึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวัง

พืชที่ขาดแคลเซียมมักจะแสดงอาการที่ยอดและผล คือ ตายอดไม่เจริญ  ยอดอ่อนตาย ใบอ่อนบิดเบี้ยว ขอบใบม้วนลงไม่เรียบและแห้ง ใบมีจุดประขาวอยู่บนใบส่วนยอด ดูคล้ายอาการยอดด่าง   ส่วนผลแสดงอาการขั้วผลไม่แข็งแรงหลุดร่วงง่ายและมีจุดดำที่ก้นของผล  พืชที่ขาดแคลเซียมนานและรุนแรงมีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย การเจริญเติบโตชะงักงัน

คุณสมบัติของแคลเซียมโบรอน 

แคลเซียมกับโบรอน คือ โบรอน คือ ธาตุที่มีความสำคัญต่อพืชและผลไม้เป็นอย่างมาก ที่จะช่วยในการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ แคลเซียมก็มีส่วนช่วยทำให้พืชและผลไม้มีความแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งก็คือ ตัวช่วยให้พืชนั้นมีความเจริญเติบโตแข็งแรงได้อย่างมีคุณภาพ

ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการดูแลรักษาพืชให้มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ที่สุด โดยการนำเอาวัตถุใกล้ตัว อย่าง น้ำตาลทรายแดง หรืออ้อย พร้อมกับเศษพืชต่างๆ มาผสมรวมกันและตามด้วยน้ำหมัก ทิ้งไว้ก็จะได้น้ำหมักโบรอนที่มีคุณภาพไว้ใช้ในแปลงการเกษตรของตัวเอง ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

แคลเซียมโบรอน ก็คือ ตัวช่วยที่ทำให้พืชนั้นเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็มีการทำแคลเซียมโบรอนในรูปแบบต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตัวธาตุอาหารเสริมสำหรับพืชแบบชนิดผงที่ใช้ในการผสมน้ำ รวมไปถึงการทำเป็นน้ำหมักชีวภาพโบรอนเพื่อใช้เองก็สามารถทำได้เช่นกัน

ส่วนประกอบในการทำแคลเซียมโบรอน

1.แคลเซียมไนเตรท 800 g

2.บอริก 400 g

3.น้ำตาลทางด่วน 100 g

วิธีการทำแคลเซียมโบรอน

นำส่วนผสมทั้งหมด (แคลเซียมไนเตรท, บอริก, น้ำตาลทางด่วน) มาละลายในน้ำ 2 ลิตร  คนให้ส่วนผสมทั้งหมดเป็นเนื้อเดียวกัน จะได้หัวเชื้อทั้งหมดในปริมาณ 2 ลิตร การนำไปใช้ให้แบ่งหัวเชื้อปริมาณ 200 มิลลิลิตร ผสมในน้ำปริมาณ 200 ลิตร จะได้จำนวนทั้งหมด 10 ถัง

ความสำคัญและประโยชน์ของแคลเซียมโบรอน

1.พืชใช้แคลเซียมในการแบ่งเซลล์ที่ส่วนของยอดและปลายรากทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี เมื่อส่วนปลายรากแข็งแรงสามารถดูดน้ำและอาหารได้เต็มที่

2.แคลเซียมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ และทำหน้าที่เชื่อมให้ผนังเซลล์ข้างเคียงประสานกัน ผนังเซลล์จึงมีความแข็งแรง เซลล์จำนวนมากเชื่อมติดกันกลายเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะของพืช ทำให้ลำต้นพืชแข็งแรงและช่วยรักษาโครงสร้างของผนังเซลล์

3.แคลเซียมมีบทบาทควบคุมให้รากพืชเจริญเติบโตมีทิศทางลงสู่ดินตอบสนองต่อความถ่วง (gravity) ของโลก และส่งเสริมการทำหน้าที่ของออกซินด้านการเจริญเติบโตของเซลล์

4.แคลเซียมควบคุมการดูดน้ำของเซลล์พืช โดยเอื้อต่อการดูดน้ำเข้ามาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้แคลเซียมยังมีบทบาททางอ้อมในการควบคุมการเปิดและปิดปากใบ

5.แคลเซียมไอออนเป็นตัวนำข่าวสารให้ระบบส่วนกลางทราบภาวะของสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น อุณหภูมิ แสง ความแห้งแล้ง ความเค็มและการเข้าทำลายของเชื้อโรค รวมทั้งกระตุ้นให้พืชป้องกันอันตรายจากสิ่งเหล่านั้นอย่างเหมาะสม นอกจากนั้นแคลเซียมยังช่วยเพิ่มความต้านโรคพืชและซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้น

6.แคลเซียมมีบทบาทต่อการเกิดดอกและผล แคลเซียมส่งเสริมให้มีการปฏิสนธิในดอกหลังจากการถ่ายเรณูโดยเหนี่ยวนำให้หลอดเรณูยืดตัว เพื่อส่งเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ไปจนถึงรังไข่ ทำให้เกิดการปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ จึงมีการพัฒนาผลและเมล็ด

7.แคลเซียมช่วยเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และน้ำตาล มาสะสมที่ผล ระหว่างการเจริญเติบโตของผล ทำให้ผลเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และลดปัญหาการหลุดร่วงของผลได้

8.แคลเซียมกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสในเมล็ดซึ่งทำหน้าที่ย่อยแป้งอันเป็นอาหารสะสมในเอนโดสเปิร์มให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก เพื่อนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานในการงอกของเมล็ดและเป็นโครงคาร์บอนสำหรับสังเคราะห์สารอินทรีย์ต่างๆ

อาการและผลกระทบของพืชขาดแคลเซียม

1.อาการขาดธาตุแคลเซียมของพืชจะแสดงอาการที่ใบอ่อนจะเหลืองซีดและใบเล็ก

2.อาการขาดแคลเซียมสามารถเห็นได้ชัดในเนื้อเยื่อส่วนปลาย ซึ่งจะทำให้ส่วนเหล่านี้แห้งตาย หยุดการเจริญเติบโต ไม่ออกดอก และผล

3.การเจริญเติบโตของรากพืชลดลงทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุอาหารต่าง ๆ ในดินลดลง โครงสร้างของลําต้นอ่อนแอลง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตช้า แคระแกร็น

4.ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับผล เช่น ผลจะเกิดการแตก เกิดรอยแผลปริแตกจากก้นผล

5.บางกรณีการขาดแคลเซียมอาจส่งผลให้พืชออกดอกเร็วเกินไป ใบที่อยู่ชั้นในสุดจะรวมตัวติดกันแน่นเป็นกระจุก โรคและแมลงเข้าอาศัยและทำลายพืชได้ง่าย เกิดความเสียหายต่อคุณภาพของผลผลิตของพืชปลูก

6.การเจริญเติบโตและผลผลิตรวมถึงคุณภาพของผลผลิตพืชลดลง

วิธีใช้แคลเซียมโบรอน

1.หากฝนตกชุก ไม่ควรใส่แคลเซียมโบรอนเพราะจะทำให้สูญเสียได้ง่าย แต่ควรใส่หลังฝนตก เมื่อดินยังมีความชื้น

2.สภาพอากาศแห้งแล้ง หากใส่แคลเซียมโบรอนจะทำให้พืชไม่ดูดกิน เนื่องจากพืชดูดโบรอนผ่านทางการคายน้ำ หากอากาศร้อนจัดพืชหยุดคายน้ำ แคลเซียมโบรอนก็จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่รากพืช ควรรดน้ำพืชผักผลไม้ก่อนใส่ปุ๋ยโบรอน

3.การฉีดพ่นแคลเซียมโบรอนทางใบ ควรฉีดช่วงเช้าหรือเย็น ที่มีแดดอ่อน ๆ และเติมสารจับใบหรือสารแทรกซึมเพื่อให้แคลเซียมโบรอนเคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์พืชได้อย่างรวดเร็ว

4.ไม่ใส่แคลเซียมโบรอนหลังใส่ปูนทุกชนิด เพราะความเป็นด่างของปูนจะทำให้โบรอนไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ควรทิ้งช่วงห่างประมาณ 30 วันขึ้นไป

5.ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ

 

ราคานี้เฉพาะสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น

 

 

 

เคมีภัณฑ์,สารเคมีภัณฑ์,เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม,เคมีภัณฑ์เชียงใหม่,ร้านเคมีใกล้ฉัน

โค้ดลับ! เฉพาะคุณ

  • ใส่โค้ด SALEWFC10 รับส่วนลด 10% ช้อปครบ 100.- ขึ้นไป
  • ใส่โค้ด SALEWFC15 รับส่วนลด 15% ช้อปครบ 1,000.- ขึ้นไป
  • ใส่โค้ด SALEWFC20 รับส่วนลด 20% ช้อปครบ 2,000.- ขึ้นไป

เงื่อนไขโปรโมชั่น

  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
  • รับส่วนลดเพียง​​​กรอกโค้ดส่วนลดในช่องรหัสส่วนลด เพื่อรับส่วนลดพิเศษ
  • โค้ดส่วนลด 1 user สามารถใช้ได้ 1 สิทธิ์เท่านั้น ​​​
  • ส่วนลดที่ได้รับจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละรายการ​​​
  • โปรโมชั่นนี้ สามารถใช้ได้ที่เว็บไซต์ www.worldchemical.co.th ภายในวันนี้ – 31 ส.ค. 2567 เท่านั้น
  • โค้ดส่วนลดสามารถใช้ร่วมกับสินค้าที่ร่วมรายการเท่านั้น
  • รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย