คุณสมบัติของพิมเสน (Borneol Camphor)
พิม-เสน(Borneol Camphor) ลักษณะของพิม-เสนโดยทั่วไปแล้วพิม-เสนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ พิม-เสนที่ได้จากธรรมชาติ และพิม-เสนสังเคราะห์ ซึ่งพิม-เสนทั้งสองชนิดจะมีการระเหยและติดไฟได้ง่าย สามารถละลายได้ในแอลกอฮอล์ ปิโตรเลียมอีเธอร์ และคลอโรฟอร์ม แต่จะไม่ละลายหรือละลายได้ยากในน้ำ และมีจุดหลอมตัวของทางเคมีวิทยาอยู่ที่ 205-209 องศาเซลเซียส พิม-เสนจะมีกลิ่นหอมเย็น รสหอม ฉุน เย็นปากคอ ในสมัยก่อนจะใช้ใส่ในหมากพลูเคี้ยว
ชนิดของพิม-เสน(Borneol Camphor)
1. พิม-เสนธรรมชาติ หรือ พิม-เสนแท้
พิม-เสนที่ได้มาจากการระเหิดของยางจากต้นไม้ชนิดหนึ่งตามภาพด้านล่าง (ได้จากการกลั่นเนื้อไม้) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dryobalanops aromatica Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์ DIPTEROCARPACEAE (ภาษาจีนกลางเรียกว่า “หลงเหน่าเซียงสู้”) ลักษณะของไม้ชนิดนี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ถึง 70 เมตร มีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยว ใบจะอยู่ที่ตอนบนของต้น ส่วนใบที่อยู่ตอนล่างจะออกตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนเป็นสีแดง ดอกออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ส่วนผลเป็นผลแห้งมีปัก ภายในมีเมล็ด 1 โดยยางที่ได้จากการระเหิดจะมีลักษณะเป็นเกล็ดใส มีขนาดเล็ก เป็นรูปหกเหลี่ยม และเปราะแตกได้ง่าย พิม-เสนจะมีเนื้อแน่นกว่าการบูร ระเหิดได้ช้ากว่าการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก แต่ไม่มีขี้เถ้า
2. พิมเสนสังเคราะห์ หรือ พิม-เสนเทียม
พิม-เสนที่ได้จากสารสกัดจากต้นการบูร (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) Presl. จัดอยู่ในวงศ์ LAURACEAE), ต้นหนาด (หนาดหลวง หนาดใหญ่ หรือพิม-เสนหนาด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blumea balsamifera DC. จัดอยู่ในวงศ์ COMPOSITAE) หรือน้ำมันสนโดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิม-เสน
• สารที่พบ ได้แก่ d-Borneol, Humulene, Caryophyllene, Asiatic acid, Dryobalanon Erythrodiol, Dipterocarpol, Hydroxydammarenone2
• จากการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าพิม-เสนมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับการบูร
• พิม-เสนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เช่น เชื้อในลำไส้ใหญ่, เชื้อราบนผิวหนัง, Staphelo coccus, Steptro coccus และยังใช้ในการรักษาอาการปวดเส้นประสาทหรืออาการอักเสบ
ประโยชน์ของพิม-เสน
• ในสมัยก่อนพิม-เสนเป็นยาที่หายากและมีราคาแพง (จึงมีคำพูดที่ว่า “อย่าเอาพิม-เสนไปแลกกับเกลือ”) นิยมนำพิม-เสนมาใส่ในหมากพลู ใช้ผสมในลูกประคบเพื่อช่วยแต่งกลิ่น มีฤทธิ์เป็นยาแก้หวัด แก้พุพอง นอกจากนี้ยังใช้ผสมในยาหม่อง น้ำอบไทย ในยาหอมจะมีพิม-เสนและใบพิม-เสนผสมอยู่ด้วย