ฮิวมิค เป็นสารอินทรีย์วัตถุที่เป็นที่นิยมใช้ในการทำเกษตรไม่ว่าจะเป็นทั้งพืชไร่ พืชสวน ซึ่งมีทั้งเป็นแบบผง แบบเม็ด แบบน้ำ ตามแต่ที่เกษตรจะเลือกใช้กัน ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักกันว่า ฮิวมิคเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีประโยชน์ในการทำเกษตรอย่างไรบ้าง
กรดฮิวมิคจากธรรมชาติ อุดมด้วยสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์และใช้ เป็นสารกระตุ้นทางชีวภาพในด้านการเกษตร ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของซากพืชสัตว์
และสิ่งมีชีวิตในดิน โดยขบวนการ ฮิวมิฟิเคชั่น (Humification Process) กรดฮิวมิค (Humic acid) คือส่วนหนึ่งของสารฮิวมิค (Humic substances) ซึ่งมีคุณสมบัติในการละลายได้ในความเป็นด่างสูงกล่าวคือไม่อาจละลายในกรดอยู่รวมกับกรดอินทรีย์ตัวอื่นที่มีอยู่ในสารฮิวมิค
กรดฮิวมิคในรูปของของเหลวจะรวมตัวกับธาตุโปแตสเซี่ยมเกิดเป็นเกลือโปแตสเซี่ยมฮิวเมท (Potassium Humate) ซึ่งถูกนำไปใช้และได้ รับผลสำเร็จเป็นอย่างดีในหลายพื้นที่ทางด้านผลิตผลทางการเกษตรโดยใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืชและเป็นตัวปรับสภาพดินแหล่งกำเนิด
ฮิวมิค เกิดจากกระบวนการสกัดโปแตสเซี่ยมฮิวเมท (Potassium Humate) จากหินลีโอนาไดต์(Leonardite) หรือหินลิกไนต์(Lignite) หรือถ่านหินสีน้ำตาล(Brown Coal) ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายทำให้เกิดเป็นสารแขวนตะกอน(suspension)ที่มีกรดฮิวมิคในปริมาณมากรวม ทั้งธาตุโปแตสเซี่ยม เหล็ก และจุลธาตุในลักษณะพร้อมใช้ในปริมาณมากเช่นกัน
กรดฮิวมิค ไม่ใช่ ปุ๋ย ไม่ให้สารอาหารแก่พืช ยกเว้นในกรณีที่ถูกสกัดออกมา ในรูปสารประกอบโปแตสเซียม เรียกว่าโปแตสเซียมฮิวเมท และโปแตสเซียมฟูลเวท ซึ่งมีโปแตสเซียมเป็นส่วนประกอบ 5 – 10 % สามารถนําไปใช้ทางดิน เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ จากธาตุอาหารหลัก ธาตุรองและจุลธาตุและส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์มีเป็นประโยชน์
สารฮิวมิคหรือกรดฮิวมิคทำอะไรได้บ้าง
1.ช่วยให้เนื้อเยื่อของพืชต้องการอ๊อกซิเจนอิสระเพื่อการหายใจโดยใช้อ๊อกซิเจน จึงเป็นการให้พลังงานจากการเมตาโบลิสซึมต่อพืชชั้นสูงทุกชนิด
2.ร่วมกับแสงอาทิตย์และกระบวนการสังเคราะห์แสงสร้างพลังงานจากการเมตาโบลิสซึ่ม
3.เมื่อใช้เป็นสารละลายเจือจางพ่นทางใบ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็วขึ้นและเป็นเหตุให้พืชคุ้นเคยกับการรับอ๊อกซิเจน
4.ไม่เพียงแต่จะช่วยให้พืชหายใจได้เท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์อีกด้วย
5.ช่วยเป็นตัวรับไฮโดรเจนสำหรับเนื้อเยื่อสะสมอาหารที่รากพืชหลากหลายชนิด
6.ให้พลังงานที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงและช่วยเสริมกระบวนการนี้ซึ่งได้แก่การ ผลิตทางชีวะเคมีของสารอินทรีย์เชิงซ้อน
โดยเฉพาะแป้งจากคาร์บอนไดอ๊อกไซด์,น้ำ จุลธาตุ, และเกลืออนินทรีย์พร้อมกับพลังงานจากแสงอาทิตย์
สำหรับการสร้างคลอโรฟิล(Chlorophyll Production)
7.เพิ่มปริมาณคลอโรฟิล(Chlorophyll Content)ในใบพืชขณะที่พืชได้รับอาหารทางรากหรือพ่นทางใบ
8.มีอิทธิพลโดยตรง ต่อการสร้างเอนไซม์และระบบสังเคราะห์เอนไซม์สุทธิ(net Enzyme Synthesis)
9.มีอ๊อกซิน(Auxin)ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า(chelation)กับ ธาตุเหล็กเพื่อป้องกันความเป็นพิษนี้ต่อพืช
ช่วยให้พืชเจริญเติบโตตามปกติ มีความสมบูรณ์ ช่วยรักษาความเข้มข้นของอาหารพืช โดยเฉพาะการเจริญของระบบราก(Root System)
การให้ปุ๋ยทางใบและสารป้องกันโรคพืช ชนิดดูดซึมรวมกับ ฮิวมิกแอซิดมีผลดีมากกว่าการพ่นด้วยปุ๋ยหรือยาเพียงอย่างเดียว ดังนี้
1. ทําให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารเข้าสู่ใบ และยังสามารถเคลื่อนย้ายธาตุอาหารและยาผ่านเซลล์พืชไปยังส่วนต่างๆของพืชที่ต้องการ
ธาตุอาหารนั้นๆได้รวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ลดความเป็นพิษ เนื่องจากความเข้มข้นสะสมของปุ๋ยและยาเมื่อนํ้าระเหยแห้งไป
3. พืชจะตอบสนองต่อปุ๋ยและยาได้เร็วขึ้น
4. เพิ่มการหายใจ และการสังเคราะห์แสง โดยการสร้างคลอโรฟิลทําให้พืชสามารถผลิตแป้งและนํ้าตาลได้มากขึ้น
5. เพิ่มการสังเคราะห์ เอนไซม์ และกรดนิวคลีอิค เร่งปฏิกิริยาระหว่างเอนไซม์ กรดอะมิโน ธาตุอาหารและฮอร์โมนต่างๆ จึงเป็นการกระตุ้น
การเจริญเติบโตของพืชในด้านต่างๆ เช่น การงอกของเมล็ด การเกิดราก การแตกตา ดอก ยอด กิ่งข้าง และขนาดของลำต้น กิ่งใบ และผล
6. ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคพืช และลดความเครียดจากภาวะแห้งแล้ง
ประโยชน์และวิธีการใช้
ใช้ทางดิน:
พืชไร่, พืชสวน, แปลงผัก, นาข้าว ใช้อัตรา 200 กรัม ต่อ ไร่ เพียงฤดูละ 1 ครั้ง
ไม้ผลทุกชนิด ใช้ 15-30 กรัมต่อต้น
ฉีดพ่นทางใบ:
ไม้ผลทุกชนิด ใช้ 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชไร่, แปลงผัก,
นาข้าว, ไม้ดอกไม้ประดับ ใช้ 3-5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน