มารู้จักปุ๋ย “แคลเซียมไนเตรท”(Calcium Nitrate) กันเถอะ !!

               ปุ๋ย แคลเซียมไนเตรท สูตร 15-0-0 แคลเซียม (Ca) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ หน้าที่หลักภายในพืชจึงเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของเนื้อเยื่อและเซลล์พืช นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์อีกด้วย การดูดใช้แคลเซียมของพืชจะขึ้นกับอิออนตัวอื่นในสารละลาย โดยเฉพาะเมื่อมีไน เตรทจะทำให้ดูดใช้แคลเซียมได้ดีขึ้น รูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ แคลเซียมอิออน (Ca2+) แหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดคือ แคลเซียมไนเตรท เนื่องจากละลายง่าย ราคาไม่แพง อีกทั้งยังให้ธาตุไนโตรเจนได้ด้วย ในปุ๋ยไนเตรท (Nitrate) จะต้องถูกใช้อย่างรวดเร็วโดยพืชเพราะมันจะสูญเสียง่ายจากการซึมชะละลาย (Leaching) หรือกระบวนการเปลี่ยนไนเตรทเป็นไนโตรเจน (Denitrification) โดยแบคทีเรีย
              ปุ๋ย แคลเซียมไนเตรท ที่ละลายน้ำได้ดี ให้ธาตุแคลเซียมและ ไนโตรเจนแก่พืชสำหรับการใช้ในทุกช่วงการเจริญเติบโตแคลเซียมเป็นธาตุอาหารที่ “มีผลต่อคุณภาพผลผลิต” เพิ่มน้ำหนัก รสชาติ สีสัน และช่วยให้ผลผลิตเก็บรักษาได้นานความเข้มข้นของแคลเซียมที่มากเกินไปจะมีผลต่อการนำโพแทสเซียมและแมกนีเซียมมาใช้ปุ๋ย “แคลเซียมไนเตรท”
             ที่ใช้สำหรับพืชมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้คือ
             1. แคลไนท์ (Calnite) คือ แคลเซียมไนเตรทที่เป็นเม็ด
เหมือนน้ำตาลทรายแต่เม็ดค่อนข้างใหญ่เก็บไว้นานๆจะละลายเป็นน้ำเหนียวๆ ไหลออกจากกระสอบผู้ขายจึงไม่ค่อยอยากนำมาขาย เพราะจะจะเกิดความเสียหาย แคลไนท์เป็นแคลเซียมไนเตรทที่ไม่มีแอมโมเนียมผสมอยู่เหมาะกับการใช้ปลูกพืชในหน้าร้อนเพราะไม่มีแอมโมเนียมมาปล่อยกรดทำให้รากเสีย
             2. ออมเนีย (Omnia) คือ แคลเซียมไนเตรทที่เป็นเม็ดเหมือนเม็ดสาคู ที่หลายคนใช้อยู่จะมี แอมโมเนียมเป็นส่วนประกอบประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ในหน้าร้อนจะเสี่ยงกับการเกิดปัญหารากเน่า เนื่องจากรากจะสร้างกรดเมื่อพืชดูดแอมโมเนียม อาจเกิดอาการ Tip-burn (ขอบใบไหม้) เนื่องจากแอมโมเนียมไปรบกวนการดูดแคลเซียมทำให้ปลายใบไหม้ได้ แคลเซียมไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้เกิดอาการ Tip-burn ได้ ทั้งนี้ อาการที่เกิดต้องขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วย
            ปุ๋ย ” แคลเซียมไนเตรท ” ที่มีคุณภาพสูง เหมาะสำหรับระบบการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน (Hydroponics) และระบบการให้น้ำแบบท่อ (Fertigation) หรือการให้อาหารทางใบ (Spray Application) มีธาตุแคลเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลล์ สร้างความชุ่มชื้นให้เซลล์พืช ช่วยป้องกันผลแตก ช่วยแก้ปัญหารูปร่างของผลไม้บิดเบี้ยวหรือไม่เป็นรูปทรง และผลไม่สม่ำเสมอ เร่งการแทงยอดและการเจริญของรากฝอย เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับพืช ป้องกันโรคก้นผลเน่าในมะเขือเทศ (Blossom End Rot) พริกและพืชตระกูลแตง ป้องกันโรคใบไหม้ (Tip Burn) ในพืชผักและไม้ดอกหลายชนิด และแก้ปัญหาการขาดธาตุแคลเซียมในพืช

           ธาตุแคลเซียมมีหน้าที่ 2 ประการ คือ

            1. เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ (Cell Wall) อยู่ในรูปของแคลเซียมเพคเตท (Calcium Pectate) ทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง (เช่นเดียวกับกระดูกในคน) ส่งผลให้พืชมีความกรอบ และรักษาความสดได้นาน
            2. ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณของฮอร์โมนพืช โดยอยู่ในรูปของ Calmodulin (Ca + Protein) ทำให้เกิดการตอบสนองทางสรีระวิทยาต่างๆในพืช อาทิเช่น การออกดอก การร่วงของใบ เป็นต้น
           สำหรับไนเตรท (NO3) หรือไนโตรเจนในพืชมีหน้าที่หลายด้าน อาทิเช่น เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์, โปรตีน, กรด
อะมิโน และ DNA เป็นต้น
           การใช้ปุ๋ย “แคลเซียมไนเตรท” (Ca(NO3)2) ฉีดพ่นทางใบ ควรเข้าใจว่าแคลเซียม (Ca) เป็นธาตุที่เคลื่อนที่ยาก แต่สำหรับไนโตรเจนแล้วค่อนข้างเร็ว ดังนั้นอาจพบว่าแคลเซียมอาจติดอยู่ที่ผิวใบ เวลาเอามือลูบอาจเห็นเป็นฝุ่นขาวๆหรือไม่มีสีติดอยู่ การใช้ปุ๋ยชนิดนี้แนะนำให้ใส่ทางดินจะให้ผลดีกว่าและประหยัดกว่า

            รูปของธาตุแคลเซียมในดิน

ก) Mineral forms ได้แก่ แคลเซียมที่เป็นองค์ประกอบในหินแร่ต่างๆ เช่น แคลไซท์ โดโลไมท์
ข) แคลเซียมในรูปของเกลือ เช่น CaCO3, CaSO4 , Ca(PO4)2 เป็นต้น
ค) Adsorbed Calcium ได้แก่ แคลเซียมที่ถูกดูดยึดไว้ที่ผิวของสารคอลลอยด์ ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ หรือถูกไล่ที่ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้
ง) Ca++ ใน Soil Solution
รูปของแคลเซียม (Ca) ที่พืชใช้ได้ คือ Calcium ion (Ca++) ใน Soil Solution แคลเซียมไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ในพืช จึงจำเป็นต้องใช้บ่อยครั้งตลอดช่วงการปลูก เพื่อรักษาให้มีปริมาณในเซลล์ให้เพียงพอต่อความต้องการของพืชในการเจริญเติบโต

           ธาตุแคลเซียม (Ca) มีหน้าที่ต่างๆในพืชดังนี้คือ

           1. เป็นองค์ประกอบในสาร Calcium pectate ซึ่งจำเป็นในการแบ่งเซลล์ (Cell Division) ของพืช สร้างเซลล์ใหม่ สร้างเซลล์รากใหม่ ทำให้รากแข็งแรง และจำเป็นในการพัฒนาผนังเซลล์พืชให้หนา
           2. เป็นตัวต่อต้านฤทธิ์ของสารออกซิน (Auxin) ซึ่งเป็นสารเร่งการขยายตัวของเซลล์ให้ยาวออก ถ้าไม่มีแคลเซียมแล้ว จะทำให้เซลล์ยาวผิดปกติ
           3. เป็นตัวแก้ฤทธิ์ของสารพิษต่างๆ อาทิเช่น กรดอินทรีย์
           4. ช่วยในการสร้างโปรตีน เนื่องจากแคลเซียมทำให้พืชดูดไนโตรเจนได้มากขึ้น
           5. ทำหน้าที่นำพาสารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงจากใบไปสู่ผล,ส่วนอื่นๆ และช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้ง และโปรตีนในขณะที่พืชกำลังสร้างเมล็ด
           6. ช่วยให้พืชมีการดูดกินธาตุอาหารหลัก N- P- K อย่างมีประสิทธิภาพ
           7. ควบคุมการดูดน้ำเข้าไปในเซลล์พืช และป้องกันผลแตก
           8. Ca ที่มีในพืชต้องอยู่ในภาวะสมดุลกับธาตุอาหาร Mg K และ B ในพืช
           9. ส่งเสริมการเกิดปมของรากถั่ว
          10. ช่วยเพิ่มการติดผล ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
          11. ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลที่แข็งกระด้างและเนื้อแฉะ ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก

การจัดเก็บ 

-เก็บในภาชนะที่ปิดแน่น
-เก็บภายในที่เย็นและแห้ง และมีการระบายอากาศในพื้นที่
-ป้องกันการเสียหายทางกายภาพ และความชื้น
-แยกออกจากแหล่งความร้อน หรือแหล่งจุดติดไฟใดๆ
-หลีกเลี่ยงการเก็บไว้บนพื้นไม้
-เก็บแยกออกจากสารที่เข้ากันไม่ได้ สารที่สามารถติดไฟได้สารอินทรีย์ หรือวัสดุออกซิไดซ์ได้ง่าย
-ภาชนะบรรจุของสารนี้เป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้าง เช่น ฝุ่น ของแข็ง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
-สังเกตคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ระบุไว้สำหรับสารนี้

 

 

สนใจติดต่อ เวิลด์เคมีคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line ID : @worldchemical
Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
โทร : 053 204 446-7