กลีเซอรีน (Glycerin) คืออะไรและใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?
กลีเซอรีน คืออะไร
กลีเซอรีน (Glycerin) หรือ กลีเซอรอล (Glycerol) เป็นของเหลวที่ไม่มีสี มีความหนืด และมีรสหวาน สูตรทางเคมี C3H8O3 สามารถละลายน้ำได้ดีในแอลกอฮอล์และน้ำ แต่ไม่ละลายในไขมันได้ เนื่องจากกลีเซอรีน มีคุณสมบัติเคมีที่หลากหลาย จึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่น ๆ ได้ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถละลายในแอลกอฮอล์และน้ำได้นี่จึงนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ซึ่งกลีเซอรีนบริสุทธิ์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมหรือ เป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร ยาสีฟัน ยาสระผม และนิยมใช้มากในอุตสาหกรรมสบู่ เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือน มอยซ์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง กลีเซอรีน สามารถสังเคราะห์ได้จาก โพรพิลีน (Propylene) และจากการหมักน้ำตาลด้วย โซเดียม ไบซัลเฟท (Sodium Bisulfate) และยีสต์ (Yeast) และมีการผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล (Bio-diesel)
คุณลักษณะเฉพาะของ กลีเซอรีนและกลีเซอรอล
กลีเซอรีน กลีเซอรอล
► มีสถานะปกติเป็นของเหลวข้น ไม่มีสี มีรสหวาน | ► สูตรทางเคมี C3H8O3 |
► มวลอะตอม 92.09382 กรัม/โมล | ► ความหนาแน่น 1.261 กรัม/ลบ.ซม. |
► จุดเดือด 290 องศาเซลเซียส | ► ความหนืด 1.2 pa-s |
► แรงตึงผิว (20 องศาเซลเซียส) 63.4 มิลลินิวตัน/เมตร | ► จุดวาบไฟ (ระบบเปิด) 177 องศาเซลเซียส |
► จุดติดไฟ 204 องศาเซลเซียส | ► ละลายได้ในน้ำ และแอลกอฮอล์ ไม่ละลายในเบนซีน อีเทอร์ และน้ำมัน |
กลีเซอรีน ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางเป็น สารละลาย (Solvent), สารเพิ่มความหวาน (Sweetener), เครื่องสำอาง (Cosmetics and Personal Care Products), สบู่เหลว (Liquid soaps), ลูกอม (Candy), สุรา (Liqueurs), หมึก (Inks) และสารหล่อลื่น (Lubricants) เพื่อให้ยืดหยุ่น (Pliable) สารป้องกันการแข็งตัว (Antifreeze Mixtures) เป็นส่วนผสมอาหาร (Food and Beverage Ingredients ) อาหารสัตว์ (Animal Feed ) สารปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยา (Pharmaceuticals) สารให้ความชุ่มชื้น (Moisturizers) น้ำมันไฮดรอลิกส์ (Hydraulic fluids) และสารตั้งต้นทางปีโตรเคมีต่าง ๆ (Polyether polyols, propylene glycol, epichlorohydrin) และอื่น ๆ
ข้อแตกต่างของ กลีเซอรีนกับกลีเซอรอล
กลีเซอรีน และกลีเซอรอล เป็นสารเดียวกัน แต่คนส่วนใหญ่มักเรียก กลีเซอรีน (Glycerin) และมีความบริสุทธิ์น้อยกว่า มักมีการปนเปื้อนสิ่งต่าง ๆ เช่น น้ำ สี เป็นต้น และกลีเซอรีนจะใช้เรียกสำหรับอ้างถึงสารละลายในทางการค้าของกลีเซอรอลที่มีน้ำเจือปน โดยมีกลีเซอรอลเป็นองค์ประกอบโดยส่วนใหญ่ นั่นเอง กลีเซอรอลดิบจะมีความบริสุทธิ์ประมาณ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ และความบริสุทธิ์มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มักเป็นผลิตภัณฑ์ค้าขายในเชิงพาณิชย์ สำหรับชื่ออื่นนอกเหนือจาก Glycerol และ Glycerin ได้แก่ Propane-1,2,3 -triol, 1,2,3 – Propanetriol, 1,2,3 Trihydroxy Propane, Glyceritol และ Glycyl Alcohol กลีเซอรีนและกลีเซอรอล ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันมักมีสถานะเป็นของแข็งหรือของเหลว ซึ่งมีองค์ประกอบ และกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน โดยสถานะของเหลวเป็นสถานะปกติของกลีเซอรีนและกลีเซอรอล ส่วนกลีเซอรีนก้อนที่เป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายตามท้องตลาดสำหรับทำสบู่ก้อนใสทั่วไปจะมีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ และกลีเซอรีนเหลว ได้เป็นกลีเซอรีนก้อนที่เรียกกันทั่วไป
ประโยชน์กลีเซอรีนและกลีเซอรอล
- ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื่องจากสามารถละลายในน้ำ และแอลกอออล์ได้ดี
- สำหรับอุตสาหกรรมเคมี มักใช้สำหรับเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารประกอบโพลิออล (Polyol) สำหรับผลิตโฟม
- กลีเซอรีนและกลีเซอรอล ที่มีความเข้มข้นมากกว่าร้อยละ 55 จะมีรสหวานสามารถใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลได้
- กลีเซอรีนและกลีเซอรอล ที่เป็นสารจำพวก Hydroscopic มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นในบรรยากาศได้ดี จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความนุ่ม ความยืดหยุ่น และเป็นครีม เช่น อุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อให้มีความอ่อนตัว และยืดหยุ่นได้ดี
- ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เพื่อทำหน้าที่เป็น Thickening agent หรือ Bodying agent เพราะสามารถให้ความหนืดได้ดี
- ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความชุ่มชื้น เช่น น้ำยาบ้วนปาก, ยาสีฟัน, สบู่ เป็นต้น
- ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ยา อาหาร และเครื่องดื่ม เช่น เป็นสารทดแทนน้ำตาล เป็นต้น
- โมโนกลีเซอไรด์ใช้เป็นสารอิมัลชัน และสารเพิ่มความคงตัว
- ใช้ฉีดพ่นหรือเคลือบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อรักษาความสด ป้องกันการระเหยของน้ำ เช่น ใช้พ่นใบยาสูบ
- ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นสารอิมัลชัน (Emulsion) ในผลิตภัณฑ์ครีม และเป็นสารที่ทำหน้ารักษาความชุ่มชื้นทั้งในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์แก่ผิว