คุณสมบัติ
ซิลิกาเจลคือ สารสังเคราะห์ที่สกัดจากทรายขาวผสมกรดกำมะถันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิลิกอน ไดออกไซด์ (Silicon Dioxide) มีลักษณะเป็นเม็ดกลม โดยทั่วไป ซิลิก้าเจล จะมีลักษะณะเป็นโพรง มีรูพรุน ทำให้มีพื้นผิว ที่ใช้ในการดูดความชื้นเป็นจำนวนมาก ประมาณ 800 ตารางเมตรต่อน้ำหนัก 1 กรัม หรือประมาณ 35-40 % ของน้ำหนักตัวเอง
ซิลิก้าเจล (Silica Gel) มี 4 ชนิดคือ
1. ชนิดเม็ดสีขาว (White Silica Gel)
มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นประมาณ 35-40% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแต่ละเม็ดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
2. ชนิดเม็ดสีน้ำเงิน (Blue Silica Gel)
มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการ เพียงแต่มีการเพิ่มสาร พิเศษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการตรวจวัด ปริมาณความชื้นที่กักเก็บไว้ ทำให้ผู้ใช้รู้ว่ามีการเก็บความชื้นไว้ในปริมาณเท่าไร โดยจะแสดงเป็นสีน้ำเงินและสีชมพู หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เม็ดเป็นสีน้ำเงิน หมายความว่า สารดูดความชื้นนั้นยังไม่ได้ใช้งานหรือไม่ทำงานนั่นเอง ส่วนเม็ด ที่เป็นสีชมพูหรือสีม่วงอ่อน แสดงว่าหมดอายุในการใช้งาน ควรเปลี่ยน สารดูดความชื้นใหม่
3. ชนิดเม็ดสีส้ม (Orange Silica Gel)
มีคุณเหมือนกับชนิดสีน้ำเงินทุกประการ การทำงาน จะเลี่ยนจากสีส้ม เป็นสีเขียวอ่อน ซิลิก้าเจลชนิดนี้ยังไม่ได้รับความนิยมในเมืองไทย เนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง
4. ชนิดเม็ดทราย (Silica Sand)
มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการแตกต่างกันที่ ขนาดของเม็ดของสาร ซึ่งสารดูดความชื้น ชนิดเม็ดทราย จะมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร
ประโยชน์ของ ซิลิก้า เจล ( Silica Gel )
ซิลิก้า เจล สามารถดูดความชื้นได้ถึง 30 % ของน้ำหนักตัวเอง
ซิลิก้า เจล ไม่มีวันหมดอายุ หากเก็บในที่ที่ไม่มีอากาศ หรือความชื้น
ซิลิก้า เจล ไม่ใช่ วัตถุไวไฟ
ซิลิก้า เจล บรรจุได้หลากหลายขนาด สะดวกในการเลือกใช้
ซิลิก้า เจล สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยวิธีการอบที่ อุณหภูมิ 180 oC เป็นเวลา 2 ชม.
ความหมายของสีที่แสดงบนเม็ดสี ซิลิก้า เจล ( Silica Gel )
ปริมาณความชื้นต่อความสามารถในการดูดความชื้น สี
20% สีฟ้า
35% สีม่วง
50% สีชมพู
ข้อมูลความปลอดภัยของ ซิลิก้า เจล ( Silica Gel)
ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ:
– สัมผัสกับผิวหนัง ล้างด้วยน้ำเปล่า เพื่อป้องกันฝุ่นจากการสูดดม และเข้าในตา
– สัมผัสกับดวงตา ระคายเคืองเมื่อเข้าตา
– สูดเข้าทางจมูก อาจมีการระคายเคืองในโพรงจมูก กรณีสูดเข้าไป
– ไฟไหม้ อาจมีการระคายเคืองในโพรงจมูก กรณีสูดเข้าไป
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น:
– กรณีสัมผัส ซิลิก้า เจล กับผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาด และสบู่
– กรณีเข้าตา ล้างด้วยน้ำสะอาด และสบู่
– กรณีสูดดมเข้าร่างกาย ล้างด้วยน้ำสะอาด และสบู่
– กรณีรับประทานเ ข้าร่างกย ล้างด้วยน้ำสะอาด และสบู่