คุณสมบัติ
น้ำมันระกำ เมทิลซาลิไซเลต (Methyl salicylate หรือ Wintergreen oil หรือ Oil of wintergreen)
เป็นสารอินทรีย์ในธรรมชาติพบได้จากพืชหลายชนิดโดยเฉพาะพืชในกลุ่มวินเทอร์กรีน (Wintergreen)
รวมถึงพืชอีกหลายชนิดที่ผลิต เมทิลซาลิไซเลต ในปริมาณเล็กน้อย เช่น
– สปีชี่ส่วนใหญ่ของวงศ์ Pyrolaceae โดยเฉพาะในสกุล Pyrola
– บางสปีชี่ของสกุล Gaultheria ในวงศ์ Ericaceae
– บางสปีชี่ของสกุล Betula ในวงศ์ Betulaceae โดยเฉพาะในสกุลย่อย Betulenta
แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ สามารถสังเคราะห์สารเมทิลซาลิไซเลตแบบที่พบในน้ำมันระกำได้เช่นกัน
และถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำหอม อาหาร เครื่องดื่ม และยาในบ้านเรา น้ำมันระกำมักถูกนำมาเป็นส่วนผสมของ ครีม ขี้ผึ้ง น้ำมันทาถูนวด
สำหรับลดอาการปวดของกล้ามเนื้อและปวดข้อ ซึ่งสารเมทิลซาลิไซเลตในน้ำมันระกำมักใช้ได้ผลดีกับอาการปวดชนิดเฉียบพลันไม่รุนแรง
แต่อาการปวดชนิดเรื้อรังจะเห็นผลน้อย
ประโยชน์และสรรพคุณน้ำมันระกำ
เป็นยาระงับปวดชนิดใช้เฉพาะที่สำหรับบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อจากภาวะตึงหรือเคล็ด
ข้อต่ออักเสบ ช้ำ หรือปวดหลัง เป็นต้น โดยยานี้จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกเย็นบริเวณผิวหนังในตอนแรก
จากนั้นจะค่อย ๆ อุ่นขึ้น ซึ่งช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากการรู้สึกถึงอาการปวด
นอกจากนี้ ยังอาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ด้วย น้ำมันระกำมีกลไกการออกฤทธิ์
โดยตัวยาจะกระตุ้นปลายประสาทที่รับความรู้สึกถึงความร้อน – อบอุ่น ทำให้ร่างกายเกิดการตอบสนองถึงการบรรเทาอาการปวดลดลง
จึงทำให้รู้สึกถึงฤทธิ์การรักษาตามสรรพคุณในการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชยังพบอีกว่าน้ำมันระกำสามารถแก้ไข ต่อต้านการปวดบวมและอักเสบ
แถมมีฤทธิ์เป็นยาชาแบบอ่อนๆ และมี pH เป็นกรด ค่อนข้างแรง และมีโมเลกุลแบบ BHA ด้วย มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะแบบอ่อนๆ
ทำให้ทำลายแบคทีเรียที่ผิวหน้าได้มักใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยา แอสไพริน ซาลิโซเลต และยาฆ่าเชื้อ
นอกจากนี้ยังใช้เมทิลซาลีไซเลตในอุตสาหกรรมอื่นๆอีกเช่น เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เช่น ยาสีฟัน แป้งฝุ่น ยาหม่อง อุตสาหกรรมย้อมสี น้ำหอม เป็นต้น
สูตรเคมีและสูตรโครงสร้าง
น้ำมันระกำ (Methyl Salicylate) เป็นสารอินทรีย์ในสูตรโครงสร้างมีหมู่ เอสเทอร์ (Esters)
วงแหวนเบนซินที่สามารถดูดกลืนรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้ เป็นองค์ประกอบหลักและมีชื่อทางเคมีตาม IUPAC
คือ metyl 2-hydroxybenzoate มีสูตรเคมี C6H4(HD)COOCH3 มีน้ำหนักโมเลกุล 152.1494g/mal
มีจุดหลอมเหลวที่ -9 องศาเซลเซียส (ºC) จุดเดือดอยู่ที่ 220-224 องศาเซลเซียส (ºC)
สามารถติดไฟได้ และสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอลล์ กรดอะซิติก อีเทอร์ ส่วนในน้ำละลายได้เล็กน้อย
แหล่งที่มาและแหล่งที่พบ
น้ำมันระกำ หรือ เมทิลซาลิไซเลต ในอดีตนั้นสามารถสกัดได้จากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว
แต่ในปัจจุบัน เมื่อวงการวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้
ซึ่งสามารถแยกที่มาของน้ำมันระกำได้คือ
ได้มากจากธรรมชาติ จะได้มาจากการกลั่นใบของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มี
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gaultheria procumbens Linn. ชื่ออังกฤษwintergreen, Checkerberry, Teaberry Tree,
อยู่ในวงศ์ ERICAEAE ลักษณะ เป็นไม้พุ่มเล็กๆ แผ่ไปตามดิน ยอดจะชูขึ้นสูงประมาณ10-15 เซนติเมตร
มีอายุเกิน 1 ปีใบเดี่ยวออกสลับกัน ใบสีเขียวแก่ รูปไข่ ยาว 1-2 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอมหวานรสฝาด
ดอกสีขาวเป็นรูประฆัง ยาว 5 มิลลิเมตร ออกที่ข้อข้างๆ ใบ ผล เป็น capsule สีม่วง มีส่วนของกลีบรองกสีบดอก
สีแดงสดติดอยู่ ซึ่งในใบจะมีสาร methyl Salicylate อยู่ถึง 99% เลยทีเดียว
โดยพืชชนิดนี้เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือและ ได้มาจากการสังเคราะห์สารเคมี
โดยการผลิต น้ำมันระกำทางวิทยาศาสตร์ได้จากการสังเคราะห์สารมีชื่อทางเคมีว่า Salicylyl acetate เป็นอนุพันธ์เอสเธอร์
ของ Salicylic acid และ methyl salicylate โดยใช้ปฏิกิริยาคอนเดนเซซั่น ของกรดซาลิไซลิก กับ เมทานอล
โดยทำให้กรดซัลฟิวริกผ่าน esterification กรด Salicylic จะละลายในเมทานอลเพิ่มกรดกำมะถันและความร้อน
เวลาในการทำปฏิกิริยาคือ 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 90-100 ℃ เมื่อปล่อยให้เย็นถึง 30 ℃
แล้วใช้น้ำมันล้างด้วยสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตที่มีค่า pH 8 ด้านบนแล้วล้างด้วยน้ำ 1 ครั้ง น้ำ.
ส่วนการกลั่นด้วยเครื่องสุญญากาศ 95-110 ℃ (1.33-2.0kPa) กลั่นให้ได้เมทิลซาลิไซเลต 80%
หรือปริมาณเมทิลเซลิเซียลในอุตสาหกรรมทั่วไปเท่ากับ 99.5%
วิธีการใช้
– ผสมในน้ำมันนวด บรรเทาอาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ
– เป็นน้ำมันหอมที่ช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ อาการหวัด แต่เนื่องจากมีกลิ่นที่ค่อนข้างหนัก
ถ้าใช้กับเตาเผาน้ำมันหอมระเหย แนะนำให้ผสมกับกลิ่นอื่น ๆ เช่น Eucalyptus
หรือ Rosemary อัตราส่วนครึ่ง ๆ เช่น Wintergreen 5 หยด Eucalyptus 5 หยดต่อน้ำ 30 -40 มล.
– ถ้าใช้กับเตาเผาน้ำมันหอมระเหย แนะนำให้ผสมกับกลิ่นอื่น ๆ 1-2 หยดต่อน้ำ 30 มล.