พิมเสน (Borneo Camphor)

120 ฿995 ฿
  • ชื่อสินค้า : พิมเสน (Borneo Camphor)
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Borneo Camphor
  • สูตรเคมี : C10H18O
  • Packing : ถุง (Bag)
  • COA และ MSDS : ติดต่อขอรับได้ที่ sales_worldchemical@hotmail.com
Clear
รหัสสินค้า: ไม่ระบุ หมวดหมู่:

คุณสมบัติของพิมเสน (Borneol Camphor)

พิมเสน (Borneol Camphor) ลักษณะของพิมเสน โดยทั่วไปแล้วพิมเสนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ และพิมเสนสังเคราะห์ ซึ่งพิมเสนทั้งสองชนิดจะมีการระเหยและติดไฟได้ง่าย สามารถละลายได้ในแอลกอฮอล์ ปิโตรเลียมอีเธอร์ และคลอโรฟอร์ม แต่จะไม่ละลายหรือละลายได้ยากในน้ำ และมีจุดหลอมตัวของทางเคมีวิทยาอยู่ที่ 205-209 องศาเซลเซียส พิมเสนจะมีกลิ่นหอมเย็น รสหอม ฉุน เย็นปากคอ ในสมัยก่อนจะใช้ใส่ในหมากพลูเคี้ยว

ชนิดของพิมเสน (Borneol Camphor)

1. พิมเสนธรรมชาติ หรือ พิมเสนแท้ 

พิมเสนที่ได้มาจากการระเหิดของยางจากต้นไม้ชนิดหนึ่งตามภาพด้านล่าง (ได้จากการกลั่นเนื้อไม้) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dryobalanops aromatica Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์ DIPTEROCARPACEAE (ภาษาจีนกลางเรียกว่า “หลงเหน่าเซียงสู้”) ลักษณะของไม้ชนิดนี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ถึง 70 เมตร มีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยว ใบจะอยู่ที่ตอนบนของต้น ส่วนใบที่อยู่ตอนล่างจะออกตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนเป็นสีแดง ดอกออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ส่วนผลเป็นผลแห้งมีปัก ภายในมีเมล็ด 1 โดยยางที่ได้จากการระเหิดจะมีลักษณะเป็นเกล็ดใส มีขนาดเล็ก เป็นรูปหกเหลี่ยม และเปราะแตกได้ง่าย พิมเสนจะมีเนื้อแน่นกว่าการบูร ระเหิดได้ช้ากว่าการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก แต่ไม่มีขี้เถ้า

2. พิมเสนสังเคราะห์ หรือ พิมเสนเทียม 

พิมเสนที่ได้จากสารสกัดจากต้นการบูร (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) Presl. จัดอยู่ในวงศ์ LAURACEAE), ต้นหนาด (หนาดหลวง หนาดใหญ่ หรือพิมเสนหนาด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blumea balsamifera DC. จัดอยู่ในวงศ์ COMPOSITAE) หรือน้ำมันสนโดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา

สรรพคุณของพิมเสน

1. พิมเสนมีรสเผ็ดขม มีกลิ่นหอม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและปอด มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ
2. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย ทะลวงทวารทั้งเจ็ด
3. ช่วยกระตุ้นสมอง กระตุ้นการหายใจ
4. แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด หัวใจอ่อน ทำให้ชุ่มชื่น
5. ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึม
6. ตำรายาแก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ให้ใช้พิมเสน 2 กรัม และขี้ผึ้ง 3 กรัม นำมาทำเป็นยาหม่อง ใช้ทาบริเวณลำคอและจมูกจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
7. ช่วยแก้ปากเปื่อย ปากเป็นแผล เหงือกบวม หูคออักเสบ
8. ใช้เป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ
9. ช่วยขับลมทำให้เรอ ช่วยขับผายลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง
10. ช่วยรักษาแผลกามโรค
11. ใช้รักษาบาดแผลสด แผลเนื้อร้าย
12. ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคผิวหนังต่างๆ
13. การกลั่นใบและยอดอ่อนของหนาดด้วยไอน้ำ จะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำมาทำเป็นยากินแก้อาการท้องร่วง ปวดท้อง ใช้ขับลม หรือใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ ฟกช้ำ และกลากเกลื้อน
14. ใช้แก้ผดผื่นคัน ให้ใช้พิมเสนและเมนทอล อย่างละ 3 กรัม ผงลื่นอีก 30 กรัม นำมารวมกันบดเป็นผงใช้ทาแก้ผดผื่นคัน
15. ใช้เป็นยาแก้ปวดบวม แก้อักเสบ
16. พิมเสนใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอมต่างๆ เช่น ยาหอมนวโกฐ ยาหอมเทพจิตร ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณโดยรวมคือแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย
17. พิมเสนจัดอยู่ใน “ตำรับยาทรงนัตถุ์” ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่อง 17 สิ่ง อย่างละเท่ากัน (รวมถึงพิมเสนด้วย) นำมาผสมกันแล้วบดเป็นผงละเอียด ใช้นัตถุ์แก้ลมทั้งหลาย ตลอดจนโรคที่เกิดในศีรษะ ตา และจมูก และยังมีอีกขนาดหนึ่งใช้เข้าเครื่องยา 15 สิ่ง (รวมทั้งพิมเสนด้วย) นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ห่อด้วยผ้าบาง ทำเป็นยาดมแก้อาการวิงเวียน ปวดศีรษะ แก้สลบ ริดสีดวงจมูก คอ และตา
18. นอกจากนี้พิมเสนยังใช้เป็นส่วนผสมในตำรับ “สีผึ้งขาวแก้พิษแสบร้อนให้เย็น” และ “ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น” ซึ่งเป็นตำรับยาที่ใช้ถูนวดเส้นที่แข็งให้หย่อนได้
หมายเหตุ: วิธีใช้พิมเสนตาม [1] ให้ใช้ครั้งละ 0.15-0.3 กรัม นำมาบดเป็นผงเข้ากับตำรายาอื่น หรือใช้ทำเป็นยาเม็ด และไม่ควรปรุงยาด้วยวิธีการต้ม หากใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผงใช้โรยแผลตามที่ต้องการ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิมเสน
• สารที่พบ ได้แก่ d-Borneol, Humulene, Caryophyllene, Asiatic acid, Dryobalanon Erythrodiol, Dipterocarpol, Hydroxydammarenone2
• จากการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าพิมเสนมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับการบูร
• พิมเสนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เช่น เชื้อในลำไส้ใหญ่, เชื้อราบนผิวหนัง, Staphelo coccus, Steptro coccus และยังใช้ในการรักษาอาการปวดเส้นประสาทหรืออาการอักเสบ

ประโยชน์ของพิมเสน
• ในสมัยก่อนพิมเสนเป็นยาที่หายากและมีราคาแพง (จึงมีคำพูดที่ว่า “อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ”) นิยมนำพิมเสนมาใส่ในหมากพลู ใช้ผสมในลูกประคบเพื่อช่วยแต่งกลิ่น มีฤทธิ์เป็นยาแก้หวัด แก้พุพอง นอกจากนี้ยังใช้ผสมในยาหม่อง น้ำอบไทย ในยาหอมจะมีพิมเสนและใบพิมเสนผสมอยู่ด้วย

น้ำหนัก ไม่ระบุ
ขนาด

ขนาด 0.100 Kg, ขนาด 0.500 Kg, ขนาด 1.00 Kg