แอลกอฮอล์ เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ (antimicrobial agent) โดยสามารถฆ่า (microbicide) หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโต (microbiostasis) ของเชื้อได้ แอลกอฮอล์มีสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย (disinfectant) และไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิต เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ
แอลกอฮอล์ กับการเป็น disinfectant
กลไก: ขับน้ำออกจากเซลล์ รบกวนเยื่อหุ้มเซลล์โดยละลายไขมันที่อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ และทำให้โปรตีนตกตะกอน
ข้อดี: ใช้ง่าย ราคาถูก
ข้อเสีย: ระคายเคืองผิวหนัง ระเหยเร็ว จุดเดือดต่ำ ติดไฟง่าย ทาให้โลหะเป็นสนิม เลนส์มัว พลาสติกแข็งหรือพองตัว
แอลกอฮอล์สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและลบ รวมทั้งเชื้อวัณโรค เชื้อรา และไวรัสบางชนิด โดยเฉพาะเชื้อที่มีโครงสร้างไขมันหุ้มอยู่ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์ละลายไขมัน ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เปลี่ยนสภาพ (protein denaturant) แต่ไม่มีผลต่อสปอร์
สารกลุ่มนี้สามารถใช้ได้ทั้งเป็น disinfectant และ antiseptic ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน แต่สามารถติดไฟ ได้ดี ระเหยได้ง่ายทำให้ติดบนพื้นผิวและออกฤทธิ์เป็นระยะเวลานานไม่ได้ เมื่อละลายกับน้ำจะสามารถแพร่ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ดีขึ้น จึงทำให้โปรตีนเสียสภาพและยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์แตกและเข้าไปรบกวนระบบ metabolism ได้ด้วย แต่ถ้าเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์จะทำให้โปรตีนด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์เสียสภาพได้ อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อเข้มข้นของแอลกอฮอล์น้อยลงการออกฤทธิ์ก็จะลดลง ความเข้มข้นปกติที่นิยมใช้กัน จะอยู่ในช่วง 60−90% (ถ้าความเข้มข้นมากกว่านี้จะไม่สามารถเข้าเซลล์ได้) เช่น แอลกอฮอล์ผสมความเข้มข้นสูงของ 80% ethanol ร่วมกับ 5% isopropanol จะสามารถยับยั้งไวรัสที่มีเยื่อหุ้มเป็นลิปิดได้ด้วย (HIV ไวรัสตับอักเสบ B และ C) ส่วนการ disinfect บนพื้นผิวเปียกจะต้องใช้ความเข้มข้นมากขึ้น
นอกจากนั้นประสิทธิภาพของแอลกอฮอล์จะเพิ่มขึ้นได้อีกเมื่อผสม wetting agent เช่น dodecanoate (coconut soap) เช่น ของผสม 29.4% ethanol กับ dodecanoate จะออกฤทธิ์ได้ดี กับทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส
แอลกอฮอล์ขนาดเล็กอย่าง ethanol และ isopropanol ใช้เป็น disinfectant อย่างแพร่หลาย แต่ methanol ไม่ใช้เป็น disinfectant เพราะมีพิษอย่างยิ่งต่อคน ถ้าได้รับเกิน 10 mL ไป เมื่อย่อยเป็น formic แล้วจะมีผลทำลายประสาทตาจนตาบอดถาวรได้ และถ้าได้รับเกิน 30 mL อาจถึงตายได้
โดยทั่วไป ethanol ออกฤทธิ์ต่อไวรัสได้ดีกว่า isopropanol และนิยมใช้กันอย่าง กว้างขวางมากกว่า สามารถฆ่าเชื้อวัณโรคและไวรัสพวก herpes, influenza, rabies ได้ แต่พวกไวรัสตับอักเสบและ AIDS ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด โดยปกติจะไม่ใช้แช่เครื่องมือ เพราะจะทำให้เป็นสนิม แต่หากเติม NaNO2 (sodium nitrite) 0.2% จะช่วยป้องกัน การเกิดสนิมได้
สมบัติทางกายภาพและการออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์
โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเจลล้างมือ คือ เอทานอล (ethanol หรือ ethyl alcohol) เป็นของเหลวใสไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหย ได้ดี แต่มีแอลกอฮอล์อีกชนิด นั่นคือ เมทานอล (methanol หรือ methyl alcohol ) ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่มีพิษ ห้ามใช้กับร่างกาย ใช้ในสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ เมทานอลสามารถดูดซึมได้ทางผิวหนัง ลมหายใจ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากจะท้าให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ หลอดคออักเสบ กรณีที่มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาอาจส่งผลท้าให้เยื่อบุตาอักเสบ หากสูดดมเข้าไปมากๆจะท้าให้เกิด การปวดท้อง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจล้าบาก การมองเห็นจะผิดปกติจนอาจท้าให้ตาบอดได้
การออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะไปยับยั้งการเจริญของเซลล์แบคทีเรียหลากหลายชนิด รวมถึง ไวรัส และเชื้อรา จึงนิยมใช้ในการฆ่าเชื้อผิวหนังและพื้นผิวทั่วไป แอลกอฮอล์เป็นสารที่ท้าให้เกิดการคายน้ำ (strong dehydrating agent) ออกจากเซลล์ แล้วดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าไปท้าให้เซลล์เมมเบรนถูกท้าลายและโปรตีนเปลี่ยนสภาพอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องไปรบกวนเมตาบอลิซึมและท้าให้เซลล์ถูกท้าลายในที่สุด
โดยนิยมใช้สารละลายแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 70% เนื่องจากระเหยไม่เร็วเกินไปและมีปริมาณน้ำเพียงพอที่จุลินทรีย์จะดูดซึม และออกฤทธิ์ท้าลายเซลล์ ขณะที่แอลกอฮอล์ 95% – 100% จะมีการระเหยรวดเร็วมากและมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอที่จะดูดซึมเข้าไปในเซลล์เมมเบรน แต่จะท้าให้เกิดการคายน้ำ ออกจากเซลล์อย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ฆ่า และเมื่ออยู่ในสภาวะเหมาะสม จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับน้ำเข้าเซลล์ จะสามารถคงสภาพเดิมได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า 50% จะมีประสิทธิภาพในการท้าลายจุลินทรีย์ลดน้อยลงมาก
ประโยชน์ของเอทิลแอลกอฮอล์ 75%
1. ใช้ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวทั่วไป
2. ใช้เช็ดอุปกรณ์ที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค
วิธีการใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 75%
นำเอทิลแอลกอฮอล์ 75% เทบนผ้าหรือกระดาษ แล้วทำการเช็ดบริเวณผิวที่ต้องการให้สะอาด,
อุปกรณ์ที่ต้องการฆ่าเชื้อสามารถ นำอุปกรณ์นั้นมาแช่เอทิลแอลกอฮอล์ 75% ได้เลย
เมื่อแช่เสร็จสามารถนำมาทิ้งไว้ให้แห้ง หรือใช้ผ้าสะอาดเช็ดแล้วสามารถนำอุปกรณ์มาใช้ได้เลย
ข้อควรระวังในการใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 75%
1. ไม่สามารถนำมาเจือจาง เพื่อทำเป็นเหล้าได้เนื่องจากมีรสขม
2. เอทิลแอลกอฮอล์ 75% มีความไวไฟสูง ดังนั้นไม่ควรวางไว้ใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อน หรือวางไว้ที่แดดส่องถึง
3. เอทิลแอลกอฮอล์ 75% มีความไวไฟสูง ไม่ให้วางไว้ใกล้กับสารเคมีที่ทำปฏิกิริยาได้เร็ว เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์