คุณสมบัติ
แอมโมเนียม คลอไรด์ (Ammonium Chloride) เป็นสารประกอบอนินทรีย์มีลักษณะคล้ายผลึกเกลือสีขาว เมื่อละลายน้ำจะได้สารละลายที่มีฤทธิ์
เป็นกรดอ่อนๆ แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติจะพบในแถบพื้นที่ที่เป็นภูเขาไฟ มนุษย์ได้นำแอมโมเนียมคลอไรด์ไปใช้ประโยชน์ทั้งในด้านงานโลหะ
งานในห้องทดลองและในอุตสาหกรรมอาหาร สำหรับทางคลินิกแพทย์ได้ใช้ยาแอมโมเนียมคลอไรด์รักษาภาวะร่างกาย
มีปริมาณเกลือคลอไรด์ (Chloride) ต่ำ รวมถึงภาวะ Metabolic alkalosis (ภาวะร่างกายเป็นด่างผิดปกติ)
บางกรณีก็ใช้เป็นยาปรับสภาพ/ภาวะความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะเพื่อให้กลับมาสู่ภาวะปกติ
ลักษณะทางกายภาพ: เป็นเกลือ ผงผลึกสีขาว มีรสขม ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ดี
คุณสมบัติทางเคมี: เป็นผลึกของแข็งสีขาวใสไม่มีกลิ่น
จุดเดือด: 520 °C
จุดหลอมเหลว: 338 °C
ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยาเคมี:
– ความคงตัวทางเคมี : สารนี้มีความเสถียร
– สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดส์อย่างแรง, กรดเข้มข้น, เบสเข้มข้น, โลหะทุกชนิด, โบรมีนไตรฟลูออไรด์, เงิน และสารประกอบของเงิน
– สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความชื้น, ความร้อน
– อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : ไม่เกิดขึ้น
การใช้งานแอมโมเนียม คลอไรด์
- ทางอุสาหกรรมหนัก
– ใช้ทำความสะอาดหัวแร้งบัดกรี
– ใช้เป็นอาหารเสริมในปศุสัตว์
– ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ทำผงซักฟอก ทำน้ำยาฟอกขาว
– ใช้ผสมหมึกพิมพ์ใน อุตสาหกรรมผ้า ในกาวผลิตไม้อัด - ทางการเกษตร ปุ๋ย NH4Cl มี N ต่ำเมื่อเทียบกับ Urea และ NH4NO3
นอกจากนี้ยังทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น และไม่เหมาะกับพืชที่ไม่ชอบคลอไรด์ แต่เหมาะกับพืชที่ต้องการคลอไรด์สูง
เช่น มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด:
– ไอระเหยของสารสามารถเกิดการสะสมในบริเวณที่เป็นสถานที่รับอากาศได้
การจัดเก็บ:
– เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด และมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพ
– เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง
– เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ
– เก็บแยกจากสารที่เข้ากันไม่ได้ และเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และหลีกเลียงการสัมผัสกับแสงโดยตรง
– ภาชนะบรรจุของสารที่เป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ไอระเหย ของเหลว อาจเป็นอันตรายได้ เช่น ไอระเหย, ของเหลว