ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ การใช้สารเคมีประเภทกรด

กรดมีกี่ประเภท?

สารละลายกรด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กรดอินทรีย์ และกรดอนินทรีย์

-กรดอินทรีย์  เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต  พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือได้จากการสังเคราะห์ ที่ให้สารที่มีสมบัติเช่นเดียวกับกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลตจะไม่เกิดการเปลี่ยนสี เช่น

1.กรดแอซีติก (Acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม เป็นกรดที่ใช้ทำน้ำส้มสายชู

2.กรดซิตริก (Citric acid) หรือกรดมะนาว เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น

3.กรดฟอร์มิก (Formic acid) หรือกรดมด

4.กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) หรือวิตามินซี

-กรดอนินทรีย์ เป็นกรดแก่ที่ได้จากแร่ธาตุ เรียกว่ากรดแร่ เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลต เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสีม่วงเป็นสีเขียว  กรดอนินทรีย์มีความสามารถกัดกร่อนสูงถ้าถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ แสบ หรือมีผื่นคัน เช่น

1.กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) หรือกรดเกลือ

2.กรดไนตริก (Nitric acid) หรือดินประสิว

3.กรดคาร์บอนิก (Carbonic acid) หรือกรดหินปูน

4.กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน

เราจะเห็นได้ว่า กรดแต่ละแบบมีทั้ง กรดอ่อน และ กรดแก่ ดังนั้นกระบวนการใช้งาน ผู้ใช้ควรมีข้อระวังที่ควรปฏิบัติตาม เพื่อไม่ให้เกิด อันตรายต่อผู้ใช้งาน

ความปลอดภัยการใช้สารเคมี จะเกิดขึ้นได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้งาน ช่วยกันป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น ฉะนั้นผู้ใช้งานต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมี เป็นพื้นฐาน เช่น รู้ระเบียบข้อบังคับ รู้ถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในสารเคมี ไม่ทำงานด้วยความประมาท สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมากที่ต้องศึกษาให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะใช้งานสารเคมีประเภทนั้นๆ

ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารเคมี

  1. ต้องระลึกอยู่เสมอว่า การใช้สารเคมีในการทดลอง หรือการใช้งาน ต้องทำด้วยความตั้งใจ
  2. ต้องอ่านคู่มือ การใช้งานของสารเคมีนั้นๆ ก้อนทำการทดลอง หรือการใช้งาน และพยายามทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการทดลองและการใช้งาน หากไม่เข้าใจให้ศึกษาผู้รู้ ผู้ควบคุมก่อนการทดลอง หรือก่อนการใช้งาน
  3. อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทดลองหรือการใช้งาน ต้องสะอาด ความสกปรกเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ผลการทดลองผิดพลาด
  4. เมื่อต้องการใช้สารละลายที่เตรียมไว้ ต้องรินลงในบีกเกอร์ โดยรินออกมาประมาณเท่ากับจำนวนที่ต้องใช้ ถ้าสารละลายเหลือให้เทลงในอ่าง อย่าเทกลับลงในขวดเดิม
  5. ถ้ากรดหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้าต้องรีบล้างด้วยน้ำทันทีเพราะสารเคมีหลายชนิดซึมเข้าไปผิวหนังอย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นพิษขึ้นมาได้
  6. อย่าเทน้ำลงบนกรดเข้มข้นใดๆ แต่ค่อย ๆ เทกรดเข้มข้นลงในน้ำช้า ๆ พร้อมกวนตลอดเวลา
  7. เมื่อต้องการ ดมสารเคมี อย่าดมโดยตรง ควรใช้มือพัดกลิ่นสารเคมีเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย (อย่าสูดแรง)
  8. ออกไซด์ ของธาตุบางชนิดเป็นพิษหรือสารที่ไวต่อปฏิกิริยาหือสารที่มีกลิ่นเหม็น การทดลองได ๆ ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซนี้ควรทำในตู้ควัน
  9. อย่ากินอาหารในห้องปฏิบัติการหรือขณะทำการใช้งานสารเคมี เพราะอาจมีสารเคมีปะปน ซึ่งสารเคมีบางชนิดอาจมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  10. ต้องทำการทดลองด้วยความระมัดระวังที่สุด ความประมาทเลินเล่ออาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได

การปฏิบัติงาน หรือการใช้สารเคมี ควรมีข้อระวังดังเบื้องต้น เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ทดลอง หรือผู้ใช้งานเกี่ยวสารเคมีนั้นๆ ดังนั้นควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด

 

 

 

สนใจติดต่อ เวิลด์เคมีคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line ID : @worldchemical
Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
โทร : 053 204 446-7