รวมชุดทดสอบอาหาร จากองค์การเภสัชกรรม ใช้งานง่ายแม่นยำสูง!

การใช้ชุดทดสอบอาหาร จากองค์การเภสัชกรรม ถือเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ในการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารปนเปื้อน

สำหรับใครที่ต้องการดูแลใส่ใจสุขภาพของตัวเองหรือคนใกล้ชิดเป็นพิเศษ การเลือกซื้อชุดทดสอบอาหาร จากองค์การเภสัชกรรม นับเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยเช็กอาหารที่ทานอยู่เป็นประจำ ว่ามีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายอยู่ภายในอาหารหรือไม่ ยิ่งสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหรือการเจ็บป่วยได้ในระยะยาว ทาง เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ จะขอแนะนำ 4 ชุดทดสอบอาหาร จากองค์การเภสัชกรรม ที่ใช้งานง่าย ปลอดภัย และแม่นนยำสูง เพื่อความปลอดภัยของร่างกายทุกคนกันค่ะ

  1. ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร

สารบอแรกซ์ นับว่าเป็นสารที่พบในอาหารได้บ่อย เพราะจะเป็นสารที่ทำให้อาหารกรอบ  มักจะพบได้ในเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ผลไม้ดอง ผลไม้อบแห้ง ผลไม้แช่อิ่ม รวมไปถึงของหวานที่ทำจากแป้ง เพื่อเน้นความกรอบ สารบอแรกซ์ถือว่าส่งผลต่อร่างกายทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร เป็นพิษต่อไต มีอาการอ่อนเพลีย รวมไปถึงทำให้เบื่ออาหารได้ แน่นอนว่าถ้าพบอาหารที่กรอบเกินปกติ ก็สามารถตรวจสอบเพื่อหาคำตอบได้

 

 

ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร จะสามารถทดสอบได้ง่าย ๆ โดยการนำอาหารมาบดหรือหั่นให้มีขนาดเล็กมาก ๆ เท่าหัวไม้ขีด จากนั้นให้ตักอาหาร 1 ช้อนลงมาในถ้วย และตามด้วยน้ำยาทดสอบบอแรกซ์ จากนั้นให้นำกระดาษขมิ้นมาจุ่มในแก้วครึ่งแผ่น และหาที่รองบนจานแล้วนำไปตากแดด หากกระดาษเปลี่ยนเป็นสีแดงแสดงว่ามีสารบอแรกซ์อยู่ในอาหาร

  1. ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค (สารกันรา)

กรดซาลิซิลิค หรือสารกันรา มักนิยมใส่ในเครื่องสำอางเพื่อป้องกันการเกิดรา แต่ทั้งนี้หากนำมาใช้ในอาหารต้องถือว่าห้ามทำเป็นอันขาด โดยอาหารส่วนใหญ่ที่มักมีการตรวจพบคือ น้ำดองผักและผลไม้ ของดองชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงแหนมและหมูยอ ส่งผลต่อร่างกายทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร เป็นพิษต่อไต รับประทานในปริมาณที่น้อยจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ แต่ถ้ารับประทานในปริมาณมากอาจทำให้เป็นไข้ หูอื้อ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

 

 

ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค ในการทดสอบเริ่มจากเทน้ำดองผักและผลไม้ลงในทั้ง 2 ถ้วย ปริมาณ 5 มิลลิตร จากนั้นกำหนดนับเป็นเบอร์ 1 และเบอร์ 2 นำสารกรดซาลิซิลิคเบอร์ 1 เทถ้วยเบอร์ที่ 2 ในปริมาณ 1 CC จากนั้นให้นำสารชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค 2 เทลงถ้วยทั้งเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ในปริมาณ 1 CC  ถ้าถ้วยที่ 1 กับ 2 มีสีเดียวกันแสดงว่ามีกรดซาลิซิลิค

  1. ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว)

โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ก็นับเป็นอีกสารที่ไม่ควรมีในอาหารเช่นกัน เพราะเป็นสารฟอกขาว ที่จะทำให้อาหารดูขาวน่าทาน โดยส่วนใหญ่มักเจอในผัก เช่น ถั่วงอก ขิงดอง ผักและผลไม้ดอง ผ้าขี้ริ้ว ขาไก่เลาะกระดูก โดยจะส่งผลในด้านร่างกายคือหายใจติดขัด ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง

 

 

ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ถ้าอาหารเป็นน้ำเทลงแก้วในปริมาณ 5 มิลลิลิตร แต่ถ้าเป็นอาหารแข็ง ตักมาครึ่งช้อนชาตามด้วยน้ำสะอาด 10 มิลลิลิตร หยดน้ำยาทดสอบ จำนวน 1-3 หยด ทำให้เข้ากัน ถ้าของเหลวมีสีเทาหรือสีดำระบุได้ว่ามีสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์

  1. ชุดทดสอบ ฟอร์มาลินในอาหาร

ฟอร์มาลินในอาหาร ถือว่าเป็นน้ำยาดองศพ ถ้ามาอยู่ในอาหารก็เหมือนกับว่าการยืดอายุของอาหาร โดยมักจะพบในน้ำแช่ผักผลไม้ น้ำแช่อาหารสดและเนื้อสัตว์ เพื่อคงสภาพให้เหมือนเดิม ถ้าหากทานเข้าไปในปริมาณที่เยอะ ส่งผลให้ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน หมดสติ และเสียชีวิต ถ้าเป็นการสะสมจะทำให้เกิดเป็นมะเร็ง

 

 

ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร ขวดเบอร์ 1 ให้ทำการเทน้ำแช่อาหารที่สงสัย หรือถ้าอาหารไม่มีน้ำให้รินน้ำผ่านอาหารลงในขวดเบอร์ 1 ด้วยปริมาณ 1 ใน 3 จากนั้นให้ทำการปิดฝาและเขย่าขวด ถ่ายน้ำจากขวดเบอร์ 1 ไป เบอร์ 2 แล้วเขย่า จากนั้น ถ่ายน้ำจากขวดเบอร์ 2 ไปเบอร์ 3 แล้วเขย่า ถ้ามีสีชมพู สีแดงถือว่ามีฟอร์มาลินอยู่

 

 

นอกจาก ชุดทดสอบอาหาร จากองค์การเภสัชกรรมแล้ว ทางเวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ ยังมีชุดทดสอบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ชุดทดสอบยาฆ่าแมลง, ชุดทดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง, ชุดทดสอบความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (Swab test) เป็นต้น

 

 

สนใจติดต่อ เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่