ทริคทำงานอีพ็อกซี่เรซิ่น ง่ายๆ ฉบับมือใหม่หัดทำ

อีพ็อกซี่เรซิ่น (Epoxy Resin) ทำงานประหยัดเวลา แข็งแรง สีใส ไม่แตกหักง่าย เมื่อเซตตัว

อีพ็อกซี่เรซิ่น (Epoxy Resin) คืออะไร?

อีพ็อกซี่เรซิ่น (Epoxy Resin) คือ สารเคมีที่มีคุณสมบัติให้ความแข็งและความงาม ไม่มีกลิ่นฉุน ผสมง่าย เกิดความร้อนน้อย หดตัวน้อย ใช้ระยะเวลา ในการทำชิ้นงาน 2-6 ชั่วโมง หรือ แข็งแรงสมบูรณ์ที่ 24 ชั่วโมง สำหรับความแข็งแรงสูงสุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสม part A : part B ไม่ต้องใช้ความร้อนในการทำให้อีพ็อกซี่เรซิ่นเซทตัว แข็งตัว ทำให้ใช้งานง่าย ลดขั้นตอนการทำงาน ประหยัดเวลาทำงานได้เยอะ เมื่อเซทตัวแล้ว มีความแข็งแรง มีสีค่อนข้างใส ไม่แตกหักง่าย ไม่ละลายน้ำ

อีพ็อกซี่เรซิ่น (Epoxy Resin) จัดอยู่ในกลุ่ม Thermosetting Polymer ความหมายคือ เมื่อผ่านกระบวนการผลิต ในครั้งแรกแล้วจะมีความแข็งแรงทนทานมาก ไม่คืนรูปและไม่สามารถนำมารีไซเคิลใหม่ได้

อีพ็อกซี่ เป็น Copolymer ที่หมายถึงโพลีเมอร์ที่ประกอบด้วยโมโนเมอร์ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยปกติ Epoxy Resin ได้จากการทำปฎิกิริยาของ Bisphenol A กับ Epichlorohydrin Monomer และ สารเพิ่มความแข็ง ( Hardender ) ประเภท Polyamine

ระยะเวลาการเซทตัว ขึ้นอยู่กับ ปริมาณการใช้งานในครั้งนั้นๆ เช่น การผสม part A + part B ปริมาณมาก จะทำให้เกิดปฎิกิริยาได้เร็ว และ มีความร้อนสะสมมากกว่า 

 

อีพ็อกซี่เรซิ่น (Epoxy Resin) ใช้ทำงานอะไรได้บ้าง?

อีพ็อกซี่เรซิ่นมีประโยชน์ในการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบและหลายอุตสาหกรรม ดังนี้

  1. การเคลือบผิว (coating)
    ด้วยคุณสมบัติใส เงา เรียบ ผิววาววับ กันน้ำได้ดี มีความทนทาน และสามารถเคลือบได้บนวัสดุหลายประเภท ใช้เคลือบผิวอาคาร พื้นอาคาร พื้นโรงงาน เคลือบกันสารเคมี ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารที่น้ำมันและอาหารหกใส่ อาจทำให้พื้นลื่นได้ การเคลือบผิวด้วยอีพ็อกซี่เรซิ่น จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสะอาดนี้ได้ง่าย ป้องกันเชื้อโรค เชื้อรา และ แบคทีเรีย ใช้เคลือบภายในถังบรรจุสารเคมี เคลือบเพื่อใช้เป็นแบบแม่พิมพ์หล่อชิ้นงาน ใช้ผสมในสีเพื่อเพิ่มการยึดเกาะ แข็งแรง ทนการขีดข่วนได้ดี เคลือบผิวแล้วชิ้นงานแข็งแรง รับแรงกระแทกได้ดี
  2. การหล่อขึ้นรูป (casting)
    ใช้หล่อเป็นฉนวนไฟฟ้าในการผลิตมอเตอร์ หม้อแปลง
  3. ใช้เป็นกาวที่ใช้ติดสิ่งของ
    ยึดไม้ เหล็ก ไฟเบอร์ แก้ว พลาสติก คอนกรีต ปูน เครื่องสุขภัณฑ์ ตัวเรือนเครื่องประดับ
  4. ผสมสีได้หลากหลาย
    ด้วยความที่สามารถผสมสีเป็นเฉดต่าง ๆ ได้ ทำให้เป็นที่นิยมในช่างฝีมือและศิลปิน ที่ใช้ทักษะการให้สี และ การเซ็ตตัวในระยะเวลา มาสร้างสรรค์ชิ้นงานที่สวยใส ด้วยความที่มีเนื้อเคมีทำให้ชิ้นงานที่สร้างสรรค์ มีมิติ แปลกตา และไม่ซ้ำใคร
  5. ผสมสีเพื่อตีเส้นพื้นโรงงาน
    แบ่งสัดส่วนพื้นที่ชัดเจน รับน้ำหนักรถโฟลค์ลิฟท์ ไม่แตก หรือกระเทาะง่าย
  6. เหมาะกับงานภายในอาคาร
    เพราะคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทก การขูดขีด เสียดสี ทนกรดและเบส ทนความร้อนได้ดี (ไม่ได้ทนUV ข้อจำกัดเรื่องนี้ทำให้เหมาะกับงานภายในอาคาร) เพราะมีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน อีพ็อกซี่เรซิ่นที่ได้จะมีความแข็งแกร่ง มีความแข็งเหมือนเหล็ก เมื่อเซ็ตตัวแล้วคงรูปไม่หดตัวสามารถเจาะหรือตัด กลึงเกลียวได้

น้ำยาเรซิ่นมี 2 ชนิดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในงาน DIY ได้แก่

  • Epoxy Resin
    เป็นน้ำยาเรซิ่นที่ได้ความนิยมมาก เนื่องจากกลิ่นไม่แรงและราคาถูกกว่า อีกทั้งยังมีผิวสัมผัสเรียบลื่นเมื่อเวลาแข็งตัว โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยเคลือบเพิ่มเลย โดยทั่วไป Epoxy Resin ประกอบด้วยสารเคมี 2 ส่วน นิยมเรียกกันว่า Part A และ Part B โดย Part A คือน้ำยาเรซิ่น และ Part B คือตัวเร่งแข็ง ให้เราผสมเมื่อต้องการใช้งาน มีอัตราส่วนในการผสมคือ Part A 2 ส่วน ต่อ Part B 1 ส่วน

 

  • UV Resin
    เป็นน้ำยาที่เหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดหรือมีขนาดเล็ก มีข้อดีตรงที่สะดวก สามารถใช้งานจากขวดได้ทันทีโดยไม่ต้องผสม แต่มีข้อเสียตรงที่กลิ่นค่อนข้างแรงและราคาสูง ส่วนผิวสัมผัสที่ได้ก็อาจจะไม่เรียบลื่นเท่า Epoxy Resin จึงต้องใช้น้ำยาเคลือบใสในการเคลือบปิดท้ายงานอีกครั้ง นอกจากนี้ UV Resin จะแข็งตัวก็ต่อเมื่อโดนแสงยูวี ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีเครื่องฉายแสงยูวีหรือเครื่องอบ เพื่อให้ UV Resin แข็งตัวอีกด้วย

วัสดุที่ใช้ในการทำอีพ็อกซี่เรซิ่น

  1. เรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรือ อีพ็อกซี่เรซิ่น)
  2. สารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป)
  3. ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่น
  4. อะซิโตน เผื่อคุณต้องการทำความสะอาดสิ่งที่หกหรือหยด
  5. ถุงมือไนโตรเจนกันสารเคมี
  6. สีผสมเรซิ่น กากเพชร หรือสารเติมแต่งอื่นๆ
  7. แม่พิมพ์หรือ แบบสำหรับเทเรซิ่นลงไป
  8. อุปกรณ์เสริมสำหรับงานอีพ็อกซี่เรซิ่น (เมื่อต้องการให้งานสมบูรณ์แบบที่สุด)

วิธีทำเรซิ่น

  1. ผสมน้ำยาเรซิ่น Part A และ Part B อัตราส่วน 2:1 ในถ้วยพลาสติกหรือภาชนะอื่น จากนั้นใช้ไม้ไอติมคนให้เข้ากัน อาจใส่สีผสมเรซิ่นเพียงเล็กน้อยเพื่อความสวยงามได้ค่ะ
  2. เทน้ำยาเรซิ่นที่ผสมแล้วลงในแม่พิมพ์ซิลิโคนที่เตรียมไว้ ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ
  3. ใส่ของตกแต่งลงไป เช่น ดอกไม้แห้ง ใบไม้แห้ง ตามด้วยกลิตเตอร์ กากเพชร ตามใจชอบ
  4. ทิ้งเอาไว้ 4 – 24 ชม. จนแห้งสนิท
  5. ค่อยๆ แกะเรซิ่นออกจากแม่พิมพ์
  6. ใช้กระดาษทรายขัดเก็บงานส่วนเกินให้เรียบร้อย
  7. เราจะได้ตัวเรซิ่นที่สามารถนำไปใส่อะไหล่เพื่อทำเป็นสร้อยคอ ต่างหู หรือพวงกุญแจ แล้วละค่ะ

สนใจติดต่อ เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่