พิมเสน คืออะไร

พิมเสน เป็นชื่อของพืชหรือต้นไม้ชนิดหนึ่ง  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pogostemon  calslin Benth. จัดอยู่ในวงศ์ Labiatae นอกจากนี้ยังเรียกชื่อแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น  เช่น  ผักชีช้าง  ทางภาคใต้เรียกกันว่า  ใบหลม   ใบอีหรม เป็นพืชที่มีลำต้นขนาดเล็ก   ลำต้นค่อนข้างตรง  มีใบเป็นใบเดี่ยว  ลักษณะใบรูปไข่  ขอบใบเป็นจักหรือเป็นซี่  ที่ผิวของใบมีขนเส้นเล็กๆหนาแน่น ดอกของต้นพิมเสนมีลักษณะเป็นช่อๆ  ที่เจริญออกมาจากซอกใบ  และตามส่วนยอด ผล มีลักษณะรีๆ  มีขนาดเล็ก  ค่อนข้างแข็ง

แทบจะเรียกได้ว่า  ต้นพิมเสนทั้งต้น  ทั้งกิ่ง ก้าน  ใบ  ลำต้น  ราก  มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ทั่วทุกๆส่วน   เมื่อนำส่วนต่างๆเหล่านี้มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ   นำไปต้มกลั่น  ก็จะได้น้ำมันหอมระเหยออกมา  เรียกว่า น้ำมันพิมเสน (Patchouli)   มีการใช้น้ำมันพิมเสนปรุงเป็นน้ำหอม    ใช้แต่งกลิ่นของสบู่   ครีมอาบน้ำ   ในสมัยโบราณใช้ผสมขึ้ผึ้งทาปาก   ใช้เป็นยาทาแก้ปวด  ทำเป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม   นอกจากนี้ยังมีการนำใบแห้ง  กิ่งแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็ก   ใส่ในตู้เสื้อผ้า  กลิ่นจะช่วยกำจัดแมลง  ที่จะมากัดเสื้อผ้าได้

ยังมีพิมเสนในธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง   ที่พบแทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นพิมเสนเป็นต้นสูง  มีกิ่งก้านสาขามาก  ใบเป็นใบเดี่ยว  ใบมีรูปไข่  ขอบใบเรียบ  ใบอ่อนสีแดง  ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง  และตามซอกใบ    ผลเป็นผลแห้ง   มีปีก  มีเมล็ด  1  เมล็ด    จะพบพิมเสนมีลักษณะเป็น  เกล็ดสีขาวๆ  ขาวขุ่น   มีกลิ่นฉุน   พิมเสนที่บริสุทธิ์จะเป็นผลึกรูปหกเหลี่ยม   เกล็ดพิมเสนเหล่านี้  สามารถละลายได้  ในน้ำมันปิโตรเลียม   เบนซิน  และ  อีเธอร์

พิมพ์เสนที่ได้จากพืชหรือจากธรรมชาติ  มีกลิ่นหอม  แพทย์แผนโบราณใช้เป็นยาขับเหงื่อ  ขับเสมหะ  กระตุ้นการหายใจ   นอกจากนี้ยังใช้ผสมอยู่ในยาหม่อง   น้ำอบไทย   ในยาหอมที่บดเป็นผงจะมีใบพิมพ์เสนและพิมพ์เสนผสมอยู่ด้วย  พิมพ์เสนจากธรรมชาติไม่กัดลิ้น  ทำให้เย็นชุ่มคอ

ในปัจจุบันนี้มีการทำพิมเสนน้ำ   ใส่ขวดเล็กๆ ขนาด   1  –  2   ลูกบาศก์เซ็นติเมตร   โดยมี  สารประกอบอย่างอื่นใส่ผสมลงไปด้วย    เช่น    เมนทอล   การบูร  น้ำมันระกำ   น้ำมันเปปเปอร์มินท์  หรือหน้ำหอม    มีการตกแต่งขวดให้สวยงาม  เพื่อจัดทำเป็นของที่ระลึกในช่วงเทศกาลต่างๆ  ซึ่งมีขายทั่วๆไป.

ประโยชน์และสรรพคุณพิมเสน

ถึงแม้ว่าพิมเสนจะสกัดได้มาจากต้นไม้แต่ ตามตำรายาแผนโบราณ จัดพิมเสน เป็นประเภทธาตุวัตถุ ไม่ใข่พืชวัตถุ แพทย์แผนโบราณใช้พิมเสนเป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ กระตุ้นสมองบำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึมแก้เคล็ดขัดยอกคลายเส้นการอบสมุนไพรมีพิมเสนเป็นส่วนประกอบในตัวยา พิมเสนซึ่งระเหิดเมื่อถูกความร้อน มีกลิ่นหอม ใช้แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ผสมในลูกประคบ เพื่อช่วยแต่งกลิ่น มีฤทธิ์แก้พุพอง แก้หวัดนอกจากนี้ยังผสมอยู่ในยาหม่อง น้ำอบไทย

ในตำราพระโอสถพระนารายณ์: ระบุ “ตำรับยาทรงนัตถุ์”  เข้าเครื่องยา 17 สิ่ง ใช้ปริมาณเท่าๆ กัน รวมทั้ง พิมเสนด้วย ผสมกัน บดเป็นผงละเอียด ใช้นัตถุ์แก้ลมทั้งหลาย ตลอดจนโรคที่เกิดในศีรษะ ตา และจมูก อีกขนานหนึ่งเข้าเครื่องยา 15 สิ่ง รวมทั้งพิมเสนด้วย บดเป็นผงละเอียด ห่อผ้าบาง ทำเป็นยาดม แก้ปวดหัว วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา นอกจากนี้พิมเสนยังใช้เป็นส่วนผสมใน “ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น” ใช้ถูนวดเส้นที่แข็งให้หย่อนได้ และในตำรับ “สีผึ้งขาวแก้พิษแสบร้อนให้เย็น”

สูตรทางเคมีและสูตรโครงสร้าง

พิมเสนแท้(Borneo Camphor) เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดไบไซคิก  และเป็นสารกลุ่มเทอร์พีน มีสูตรเคมีคือ C10H18O มีชื่อทางเคมีว่า(+)-borneol หรือ endo-2-camphanol หรือ endo-2-hydroxycamphane  มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว 6 เหลี่ยม มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก ไม่มีเถ้า มีมวลโมเลกุล 154.25 gmd -1 และมีความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.011 มีจุดหลอมตัว 208 องศาเซลเซียส เกือบไม่ละลายน้ำ ละลายได้ในตัวทำละลายชนิดขั้วต่ำ เช่น ปิโตรเลียมอีเธอ(1:6) ในเบนซีน (1:5)

แหล่งที่มาพิมเสน

พิมเสนธรรมชาติ หรือ พิมเสนแท้ คือ พิมเสนที่ได้มาจากการระเหิด (การกลั่นของเนื้อไม้โดยธรรมชาติ) ของยางจากต้นไม้ชนิด (เข้าใจว่าตัวต้นไม้ที่ให้พิมเสนนี้ไม่ได้ถูกบัญญัติชื่อไทยไว้ ซึ่งในตำรายาแผนโบราณส่วนใหญ่ก็จะเอ่ยถึงแต่สิ่งที่สกัดได้จากเจ้าพืชต้นใหญ่นี้ว่า พิมเสน เพราะหากเรียกว่าต้นพิมเสนอาจเกิดความสับสน เพราะต้นพิมเสน นั้นยังหมายถึงพืชอีกชนิด เป็นไม้เนื้ออ่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pogostemon cablin (Blanco) Benth. ตระกูล Labiatae ซึ่งเจ้าต้นนี้ สกัดได้น้ำมันหอมระเหย ที่ฝรั่งเรียกว่า Patchouli) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dryobalanops aromatica Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE) (ภาษาจีนกลางเรียกว่า “หลงเหน่าเซียงสู้”) ซึ่งพบมากในรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ซึ่งพืชชนิดนี้(Dryobalanops aromatic Gaertn.) มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Borneo Camphor Tree, Pokok Kapur Barus (มลายู), Pokok Kapurum (อินโดนีเซีย-สุมาตรา), Mahoborn Teak(อินโดนีเซีย-บอร์เนียว) เป็นไม้ขนาดใหญ่ อาจสูงได้ถึง 70 เมตร มีพูพอนใหญ่มาก วัดโดยรอบลำต้นได้ 2-10 เมตร เปลาตรง เรือนยอดเป็นรูปฉัตร มีกิ่งก้านสาขาใหญ่ ปลายกิ่งตก ยอดทรงแหลม ใบเป็นใบเดี่ยว ใบที่อยู่ตอนบนของต้นเรียงสลับกัน ส่วนใบที่อยู่ตอนล่างของต้นออกตรงกันข้าม รูปไข่ ค่อยๆ เรียวแหลมสู่ปลายใบ ขนาดกว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 7.5-17.8 ซม. ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ ก้านใบสั้น ใบอ่อนสีแดงและห้อย ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม กลีบชั้นนอกมี 5 กลีบ ขนาดเท่าๆ กัน แข็ง กลีบชั้นในห่อตามยาว เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรติดกันเป็น 2 แถว รวมกันเป็นหลอดยาวกว่าเกสรตัวเมีย เกสรตัวเมียมีรังไข่อยู่เหนือกลีบดอก มี 3 ห้อง ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก กลีบนอกจะแผ่ออกเป็นปีก มี 1 เมล็ด

พิมเสนสังเคราะห์ หรือ พิมเสนเทียม คือ พิมเสนที่ได้จากสารสกัดจากต้นการบูร (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) Presl. จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์อบเชย (LAURACEAE), และต้นหนาด (หนาดหลวง หนาดใหญ่ หรือพิมเสนหนาด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blumea balsamifera (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) โดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา  ซึ่งพิมเสนที่ได้จากการกลั่นพืชชนิดนี้ จีน(แต้จิ๋ว) เรียก “ไหง่เผี่ยง” จึงเรียกกันว่า “Ngai Camphor” หรือ “Blumea Camphor” นิยมใช้กันมากในเกาะไหหลำ

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

แม้คนไทยเราจะรู้จักพิมเสนกันมานาน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับพิมเสนกลับไม่มีให้ค้นคว้ามากนัก เพราะต้นไม้ที่ให้พิมเสนนี้ เป็นพืชที่มีเฉพาะถิ่นที่ขึ้นอยู่เฉพาะในเขตป่าของ เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และคาบสมุทรมลายู จึงทำให้การศึกษาวิจัยในต้นไม้ชนิดนี้เป็นไปแบบแคบๆ ไม่กว้างขวางแต่ก็ยังมีตัวอย่างข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิมเสนบางฉบับที่มีการเผยแพร่กัน เช่น

  1. สารที่พบในพิเสนแท้ ได้แก่ d-Borneol, Humulene, Caryophyllene, Asiatic acid, Dryobalanon Erythrodiol, Dipterocarpol, Hydroxydammarenone2
  2. จากการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาฉบับหนึ่งระบุว่า พิมเสนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เช่น เชื้อในลำไส้ใหญ่, เชื้อราบนผิวหนัง, Staphelo coccus, Steptro coccus และยังใช้ในการรักษาอาการปวดเส้นประสาทหรืออาการอักเสบได้เป็นอย่างดี
  3. กลไกในการออกฤทธิ์ของพิมเสนในการลดการอักเสบคือ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณใต้ผิวหนังบริเวณที่ทา ยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบจากกลไกของร่างกาย เช่น prostaglandin E2,interleukin เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดนี้ จะช่วยให้ลดอาการปวดได้เร็วขึ้น

การศึกษาทางพิษวิทยา

เช่นเดียวกับการศึกษาทางเภสัชวิทยาพิมเสนกับการศึกษาทางพิษวิทยานี้ก็ไม่มีการศึกษากันอย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากการที่ต้นไม้ที่ให้พิมเสนนี้เป็นต้นไม้เฉพาะถิ่น แต่ก็มีการระบุข้อจำกัดในการใช้พิมเสนไว้ว่า หากสูดดมติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากสารนี้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ นอกจากนี้สารนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นและสงบระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งรวมไปถึงการใช้เกิดขนาดด้วย

ขนาดและปริมาณที่ควรใช้

ในตำรายาไทยระบุไว้ว่า วิธีใช้พิมเสนสำหรับรับประทาน ให้ใช้ครั้งละ 0.15-0.3 กรัมนำมาบดเป็นผงเข้ากับตำรายาอื่น หรือใช้ทำเป็นยาเม็ด และไม่ควรปรุงยาด้วยวิธีการต้ม หากใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผงใช้โรยแผลตามที่ต้องการ ส่วนขนาด/ปริมาณของพิมเสนที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยอนุญาตให้ใช้เป็นส่วนประกอบกับตัวยาอื่นๆนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขจะระบุให้ใช้เป็นตำรับๆไป

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. ห้ามสูดดมพิมเสนตอดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ
  2. พิมเสนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางจึงไม่ควรใช้เกินขนาดที่กำหนด
  3. สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานพิมเสน
  4. การเก็บพิมเสนต้องเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดอย่างมิดชิด ควรเก็บไว้ในที่แห้งและมีอุณหภูมิต่ำ

อนึ่งในปัจจุบันพิมเสนแท้แทบไม่มีแล้ว เพราะมีราคาแพง ส่วนใหญ่จึงใช้พิมเสนสังเคราะห์ ซึ่งได้มาจากปฏิกิริยารีดักชันของการบูร (dl-camphor) ได้เป็น (dl-borneol) ก็คือ พิมเสนเกล็ดขาวๆที่เห็นกันโดยทั่วไป จึงเรียก พิมเสนเทียมนี้ ว่า “พิมเสนเกล็ด” Borneolum Syntheticum (Borneol) ซึ่งพิมเสนสังเคราะห์ (หรือพิมเสนเทียม)นี้มักจะมีรสเผ็ดกัดลิ้น ถ้าเป็นของแม้จากธรรมชาติจะไม่กัดลิ้นแต่จะทำให้เย็นปากเย็นคอ จึงควรต้องระมัดระวังในการใช้พิมเสนสังเคราะห์นี้ด้วย

การทำพิมเสนน้ำ

พิมเสนน้ำ ใช้ดมแก้หวัดคัดจมูก หน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ แก้เคล็ด ขัดยอก แมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดท้อง จุกเสียด ท้องอืด ฯลฯ ใช้ทาถูนวดบรรเทาอาการปวด อาการอักเสบได้ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาสูดดมแก้หวัด แก้วิงเวียน เป็นลม แก้แมลงกัดต่อยได้ดี อีกด้วย แต่ไม่ควรดมมาก เพราะอาจทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบหรือประสาทการรับรู้กลิ่นเสียได้

 

เคมีภัณฑ์,สารเคมีภัณฑ์,เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม,เคมีภัณฑ์เชียงใหม่,ร้านเคมีใกล้ฉัน

ส่วนประกอบ

  • พิมเสน     20 กรัม
  • เมนทอล   30 กรัม
  • การบูร      10 กรัม
  • น้ำมัน ยูคาลิปตัส

อุปกรณ์

  • โกร่งบดยา
  • สำสำลีก้อน ใช้สำหรับ ดูดซับ
  • ขวดพลาสติก

วิธีการทำ

1.ใส่พิมเสนตามด้วยเมนทอล กวนในโกร่งบดยาให้เข้ากัน พอเข้ากันดีแล้วเติมการบูรลงไป

2.คนจนละลายให้เป็นเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

3.เติมน้ำมันยูคาลิปตัสลงไป คนให้ เข้ากัน (ใส่เพื่อช่วยในการแต่งกลิ่น)

4.นำสำลีใส่ในขวดพลาสติก

5.เมื่อละลายได้ตามที่ต้องการแล้ว ให้ตักใส่ขวดพลาสติกที่เตรียมไว้

เพียงเท่านี้เราก็จะได้ยาดมพิมเสนน้ำ หอม ชื่นใจ ไว้ใช้กันแล้วค่ะ

ราคานี้เฉพาะสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น

 

 

 

เคมีภัณฑ์,สารเคมีภัณฑ์,เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม,เคมีภัณฑ์เชียงใหม่,ร้านเคมีใกล้ฉัน

 

โค้ดลับ! เฉพาะคุณ

  • ใส่โค้ด SALEWFC10 รับส่วนลด 10% ช้อปครบ 100.- ขึ้นไป
  • ใส่โค้ด SALEWFC15 รับส่วนลด 15% ช้อปครบ 1,000.- ขึ้นไป
  • ใส่โค้ด SALEWFC20 รับส่วนลด 20% ช้อปครบ 2,000.- ขึ้นไป

เงื่อนไขโปรโมชั่น

  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
  • รับส่วนลดเพียง​​​กรอกโค้ดส่วนลดในช่องรหัสส่วนลด เพื่อรับส่วนลดพิเศษ
  • โค้ดส่วนลด 1 user สามารถใช้ได้ 1 สิทธิ์เท่านั้น ​​​
  • ส่วนลดที่ได้รับจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละรายการ​​​
  • โปรโมชั่นนี้ สามารถใช้ได้ที่เว็บไซต์ www.worldchemical.co.th ภายในวันนี้ – 31 ส.ค. 2567 เท่านั้น
  • โค้ดส่วนลดสามารถใช้ร่วมกับสินค้าที่ร่วมรายการเท่านั้น
  • รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย

 

 

 

 

 

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่