World Chemical Group

กรดน้ำส้ม กรดอะซิติก (Acetic acid) คืออะไร มาทำความรู้จักกันเถอะ

เคมีภัณฑ์,สารเคมีภัณฑ์,เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม,เคมีภัณฑ์เชียงใหม่,ร้านเคมีใกล้ฉัน

กรดน้ำส้ม กรดอะซิติก (Acetic acid) คืออไร มาทำความรู้จักกันเถอะ

กรดอะซิติก (Acetic acid) หรือ กรดน้ำส้ม เป็นกรดอินทรีย์ (Organic acid) มีสูตรทางเคมี คือ CH3COOH จัดเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตน้ำส้มสายชู รวมถึงนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร และทางการแพทย์

คุณสมบัติทางกายภาพ และเคมี ของกรดน้ำส้ม (Acetic acid)

วิธีผลิตกรดน้ำส้ม (Acetic acid)

1. วิธีเมทานอลคาร์บอนิเลชั่น (Methanol carbonylation) (นิยมทำในระดับอุตสาหกรรม)
2. วิธีเอทิลีนออกซิเดชั่น (Ethylene oxidation)
3. วิธีอะซิทัลดีไฮด์ออกซิเดชั่น (Acetaldehyde oxidation) โดยใช้เอทานอลเป็นสารตั้งต้น
4. กระบวนการทางชีวภาพโดยการหมัก (Fermentation) โดยใช้แบคทีเรียกรดอะซิติก (Acetic acid Bacteria) โดยใช้เอทานอลเป็นสารตั้งต้น

การผลิตกรดน้ำส้ม (Acetic acid) ด้วยการหมัก

การผลิตกรดน้ำส้ม (Acetic acid) ด้วยการหมักในระดับอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุดิบที่สำคัญ คือ แป้งมัน ข้าว หรือ น้ำผลไม้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้

1. การหมักน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ (Alcohol fermentation)
การหมักน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ เป็นกระบวนการหมักแป้งหรือน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ โดยไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งใช้ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ที่อุณหภูมิ 30 ºC นาน 72-78 ชั่วโมง ดังสมการ

C 6 H 12 O 6 → 2C 2 H 5 OH + 2CO 2

2. การหมักแอลกอฮอล์ให้เป็นกรดอะซิติก (Acetic fermentation)
การหมักแอลกอฮอล์ให้เป็นกรดอะซิติก เป็นกระบวนหมักแบบใช้ออกซิเจน โดยใช้แบคทีเรีย Acetobactor sp. เปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้เป็นกรดอะซิติก ในช่วงอุณหภูมิการหมัก ประมาณ 15-34 ºC ดังสมการ

2C 2 H 5 OH + O 2 → CH 3 COOH + H 2 O

 

 

ความปลอดภัย ความคงตัว และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

1. ความเสถียร : มีความเสถียร
2. สารที่เข้ากันไม่ได้ 

3. สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง

4. สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว 

5. อันตรายจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : ไม่เกิดปฏิกิริยา

การเกิดอัคคีภัย และการระเบิด

การจัดเก็บกรดน้ำส้ม (Acetic acid)

ประโยชน์ของกรดน้ำส้ม (Acetic acid)

1. เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชู เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกรดอะซิติกมาเจือจางให้มีความเข้มข้นประมาณ 4-18% โดยปริมาตร แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

ทั้งนี้ น้ำส้มสายชูหมักที่ได้มาตรฐาน จะต้องมีลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอนหรืออาจมีตะกอนได้บ้าง แต่ต้องเป็นตะกอนที่เกิดขึ้นจากการหมักตามธรรมชาติ มีกลิ่นหอมตามกลิ่นวัตถุดิบที่ใช้หมัก มีความหวานของน้ำตาลเล็กน้อย โดยต้องมีความเข้มข้นของกรดอะซิติก (acetic acid) ไม่น้อยกว่า 4%

ทั้งนี้ น้ำส้มสายชูกลั่นที่ได้มาตรฐานจะต้องมีลักษณะใส ไม่มีความขุ่นหรือมีตะกอน โดยต้องมีความเข้มข้นของกรดอะซิติกไม่น้อยกว่า 4% และน้ำส้มสายชูที่ขายตามท้องตลาด ส่วนมากเป็นน้ำส้มสายชูกลั่น

2. ใช้เป็นสารเคมีสำคัญในการทำปฏิกิริยาเคมีในกระบวนการผลิตสารอนุพันธ์ของกรดอะซิติก ได้แก่

3. ด้านอาหาร
กรดอะซิติก ถูกใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อป้องกันการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารบูดเน่า ใช้เพื่อปรับความเป็นกรด-ด่างของอาหาร และช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร นอกจากนั้น ยังใช้เพื่อการเพิ่มรสเปรี้ยวในอาหารเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่ต้องการรสเปรี้ยวมากหรือน้อย หากใช้ความเข้มข้นมากจะทำให้เกิดรสเปรี้ยวมาก อาหารที่มีการใช้กรดอะซิติก ได้แก่ น้ำสลัด ผักดอง ผลไม้ดอง และซอสชนิดต่างๆ เป็นต้น [1]

การใช้กรดอะซิติกในอาหาร นิยมใช้ใน 2 รูปแบบ คือ

4. ด้านการเกษตร
กรดอะซิติก ถูกใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาควบคุมเชื้อรา น้ำหมักชีวภาพ หรือผสมน้ำฉีดพ่น เพื่อใช้ควบคุมเชื้อราในแปลงผัก และผลไม้

5. ด้านการแพทย์

สารประกอบหรือสารละลายเหล่านี้ ใช้เป็นส่วนผสมกับกรดอะซิติกเพื่อเป็นตำรับยาหยอดหู เพื่อยับยั้งการเติบโตของเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหูอักเสบ โดยเฉพาะหูชั้นกลาง 

 

 

 

 

โค้ดลับ! เฉพาะคุณ

เงื่อนไขโปรโมชั่น

 

 

สนใจติดต่อ เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Exit mobile version