สีผสมอาหาร กินได้จริงหรือไม่!?
ในปัจจุบันจะพบว่าอาหารส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มต่างๆที่ขายอยูทั่วไป มักมีสีสันสดใสสวยงามดึงดูดใจชวนรับ ประทานเพราะ สีผสมอาหาร
สีผสมอาหาร หมายถึง วัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่ผสมในอาหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อแต่งสีผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อให้มีสีเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภค ได้แก่ลูกอมลูกกวาดไอศกรีมเยลลี่ นมปรุงแต่ง นํ้าเชื่อม
เครื่องดื่มวิสกี้
2. เพื่อแต่งสีผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอาจสูญเสียหรือเปลี่ยนไปมากในระหว่างกระบวนการแปรรูปอาหารห รือการเก็บรักษาอาหาร
ได้แก่ แยม น้ำผลไม้ อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง เบียร์
3. เพื่อแต่งสีผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสีธรรมชาติแปรเปลี่ยนตามฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้สีผสมอาหารแต่งสีไขมันนม
ซึ่งปกติมักมีสีแตกต่างกันมาก ขึ้นกับฤดูกาล เนื่องจากไขมันนมที่ได้จากน้ำนมในฤดูร้อนมักมีสีเหลืองเข้มกว่าน้ำนมในฤดูหนาว
เนื่องมาจากปริมาณบีตา-แคโรทีน (beta-carotene) ในหญ้าที่วัวบริโภคในฤดูร้อนมากกว่าในฤดูหนาว ดังนั้นเพื่อให้อาหารที่ผลิต
ออกมามีสีคงที่ตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ เพื่อมิให้ผู้ซื้อเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพของอาหารที่ผลิตขึ้นมา
สมบัติของสีผสมอาหาร
- ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและไม่ก่อให้เกิดอันตรายในอาหาร (food hazard)
- ไม่ทำให้สมบัติของอาหารเปลี่ยนไปในทางที่เลวลง
- ให้ความเข้มของสีสูง
- มีความคงตัวในอาหาร
- ไม่เกิดปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้
- ใช้เติมลงในผลิตภัณฑ์ได้ง่าย
- มีราคาเหมาะสม
ประเภทของสีผสมอาหาร
สีผสมอาหารโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
1. สีธรรมซาติ
ได้แก่ สีที่ได้จากการสกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ ซึ่งมีรงควัตถุเป็นส่วนประกอบของเซลล์พืช หรือสัตว์ เช่น
- แอนโทไซยานิน (anthocyanin) เป็นรงควัตถุที่พบมากในดอกอัญชัน องุ่น กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น เป็นสีที่สามารถละลาย
ได้ในน้ำ มีสีแดงที่มีความเป็นกรด-เบสต่ำ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อความเป็นกรด-เบสสูง - แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เป็นรงควัตถุที่มีสีเหลืองจนถึงแดง ละลายได้ในไขมัน พบมากในมะเขือเทศและแครอท เป็นต้น
สีในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้ในสีผสมอาหาร ได้แก่ บีตา-แคโรทีน , บีตา-อะโป-8-แคโรทีแนล และแคนทาแซนทิน สีในกลุ่มนี้
จะค่อนข้างคงตัว - คลอโรฟิลล์เป็นรงควัถตุที่มีสีเขียว พบในพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของใบ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ของสี ได้แก่ แสง อุณหภูมิ และระยะเวลาที่ได้รับความร้อน - คาราเมล (caramel) เป็นรงควัตถุทีมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ละลายในน้ำได้ดี
สารสกัดจากธรรมชาติที่ให้สีต่างๆ มีดังนี้
- สีเขียวจากใบเตยหอม คะน้า ใบย่านาง
- สีแดง กระเจี๊ยบแดง ข้าวแดง ฝาง รังครั่ง หัวบีท ดอกบานเย็น ลูกผักปลังสุก มันเลือดนก
- สีส้ม จากแครอท
- สีนํ้าตาลจาก กาแฟ โกโก้ คาราเมล (caramel)
- สีม่วง ข้าวเหนียวดำ ลูกผักปรัง ดอกอัญชัน
- สีเหลือง ขมิ้น ดอกคำฝอย ไข่แดง เมล็ดคำแฝด ลูกตาลสุก นํ้าส้มเขียวหวาน ฟักทอง มันเทศชนิดสีเหลือง ลูกพุด
หญ้าฝรั่น ดอกกรรณิกา - สีดำจากกาบมะพร้าวเผา ดอกดิน
2. สีสังเคราะห์
หมายถึง สีอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ซึ่งมีลักษณะถูกต้องตามข้อกำหนดและ ปลอดภัยต่อการบริโภค
สีสังเคราะห์มีราคาถูกกว่า ให้สีสดและสมํ่าเสมอกว่าและให้สีในช่วงที่กว้างกว่า นอกจากนี้ยังมีขายทั้งในรูปแม่สี และสีผสม
ในรูปผง สารละลาย และสารละลายแขวนลอย ซึ่งสะดวกต่อการเลือกใช้กับอาหารชนิดต่าง ๆ ดังนั้น ผู้ใช้จึงนิยมใช้สี
สังเคราะห์มากกว่าสีธรรมชาติ ถึงแม้ว่าสีธรรมชาติจะปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่าก็ตาม
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2515 กำหนดสีผสมอาหาร เป็นอาหารที่ควบคุม กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานการใช้ การผสม และฉลากสำหรับสีผสมอาหาร และกำหนดประเภทของสี ที่อนุญาตให้ใช้ผสมอาหาร ซึ่งปลอดภัยแก่ผู้บริโภคมาก ที่สุดด้วยเป็นสีที่มีความบริสุทธิ์สูง และมีวัตถุเจือปนในสีน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3 ประเภท ประกอบไปด้วย
- สีอินทรีย์ ที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งเกลืออลูมิเนียม หรือเกลือแคลเซียม ของสีดังกล่าวที่ละลายน้ำได้ ใช้เป็นแม่สี มี 4 สี ได้แก่ สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีน้ำเงิน ซึ่งจะสามารถประกอบหรือผสมกันเป็นสีชนิดอื่นตามต้องการได้ถึง 16 สี คือ
- สีอินทรีย์ ได้แก่ ผงถ่านที่ได้จากการเผาพืช (Charcoal) เช่นสีดำจากผงถ่านที่ได้จากการเผาเปลือกมะพร้าว ใช้ใส่ในขนมเปียกปูนให้มีสีดำ สีดำจากถ่าน (Carbon Black) และติเตเนียม ไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)
- สีที่ได้จากธรรมชาติ โดยการสกัดพืช ผัก ผลไม้ และสัตว์ที่ใช้บริโภคได้ โดยไม่เกิดอันตรายและสีดังกล่าวที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สีเขียวจากใบเตย สีดำจากใบยอ สีเหลืองของขมิ้น สีช็อคโกแลต ที่ได้จากการเผาน้ำตาลจนไหม้ หรือน้ำตาลเคี่ยวไหม้ (caramel) หรือสีแดงที่ได้จากครั่ง (Cochineal)
อันตรายจาก สีผสมอาหาร
อันตรายที่เกิดจากการใช้สีผสมอาหารนั้นเกิดมาจากตัวสีเอง เนื่องจากในสีผสมอาหารแต่ละชนิด หรือแต่ละสีนั้นจะมีส่วนผสมของโลหะหนักอยู่ ในปริมาณที่กฎหมายกำหนด เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี ซึ่งหากผู้ผลิตอาหารใช้สีผสมอาหารในปริมาณที่กฎหมายกำหนด ใช้สีผสมอาหารในปริมาณที่มากเกินไป และผู้บริโภครับประทานอาหารที่ผสมสีดังกล่าวเป็นประจำอาจทำให้ร่างกายได้รับปริมาณโลหะหนักเป็นจำนวนมาก และเกิดการสะสมในร่างกาย พิษภัยจากโลหะหนักที่มีผสมอยู่ในสีผสมอาหารนั้น มีดังนี้ สารหนูเมื่อเข้าไปในร่างกายจะสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ตับและไต การที่มีสารหนูสะสมในร่างกายมากจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โลหิตจาง ส่วนตะกั่วระยะแรก จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลี่ยเบื่ออาหารปวดศีรษะ โลหิตจาง ถ้าสะสมมากขึ้นจะมีอัมพาต ที่แขน ขา เพ้อ ชักกระตุก หมดสติ
เป็นยังไงบ้างคะทุกคน ตามปกติแล้วเราไม่ควรใช้สีผสมอาหาร แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ควรใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ หรือสีอนินทรีย์ หากจำต้องใช้สีสังเคราะห์ต้องใช้เฉพาะสีที่ทางการกำหนดว่าปลอดภัย พึงระลึกว่าการใช้สีที่ห้ามบริโภคหรือบริโภคไม่ได้มาผลิตหรือผสมอาหารจำหน่าย อาจได้รับโทษตามกฎหมาย คือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ได้นะคะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนนะคะ
สนใจติดต่อ เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป ผู้นําด้านการจําหน่ายและนำเข้า สารเคมีภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อม ประเภท เคมีอุตสาหกรรม เคมีทําความสะอาด เคมีสระว่ายน้ำ เคมีบำบัดน้ำ เคมีงานปั้น-งานหล่อ เคมีอาหาร กลิ่น สารสกัด สี น้ำหอม เคมีเครื่องสำอาง อาทิ กลีเซอรีน โซดาไฟเกล็ด โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ เอทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ สารพัดด้านเคมี เวิลด์เคมิคอล กรุ๊ป พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- Line ID : @ worldchemical
- Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
- เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
- โทร : 053 204 446-7